'เมธี'ถือไพ่เหนือกว่า!ไทย-เยอรมันไร้สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน แถมยังเป็นรัฐบาลรัฐประหาร


เพิ่มเพื่อน    

การตามตัวอดีตพระพรหมเมธี ผู้ต้องหาคิดเงินทอนวัด ซึ่งหนีไปประเทศเยอรมัน กลับมาลงโทษ ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนนั้น อาจไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะมีการทำเรื่องขอลี้ภัยทางการเมืองแล้ว  และเรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของทางการเยอรมัน

การส่งผู้ร้ายข้ามแดน มีขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่?  

การส่งผู้ร้ายข้ามแดนเริ่มมีขึ้นในสมัยศควรรษที่ 19 เพื่อป้องกันและปราบปรามผู้ร้ายที่อาศัยวิวัฒนการทางคมนาคมระหว่างประเทศที่เจริญก้าวหน้าและทันสมัยขึ้น  เพื่อหลบหนีไปยังอีกประเทศหนึ่ง 

ด้วยเหตุที่มีการหลบหนีของผู้ร้ายเกิดขึ้นเสมอ  นับวันยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆจึงเป็นแรงผลักดันและกระตุ้นให้ประเทศต่างๆต้องร่วมมือกันในการที่จะปราบปรามผู้กระทำผิดดังกล่าวให้ได้ผลอย่างจริงจัง มีการประชุมระหว่างประเทศหลายครั้งเช่นการประชุม นครโมนาโคปีคศ. 1914 ที่กรุงเวียนนาในปีคศ.1923 ที่กรุงลอนดอนและนครนิวยอร์กในปีคศ.1925  เพื่อวางหลักเกณฑ์ต่างๆให้รัฐบาลแต่ละประเทศดำเนินการกับผู้ร้ายด้วยวิธีที่สอดคล้องกันและมุ่งกำหนดและวางหลังเกณฑ์ในเรื่องอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลในประเทศต่างๆ

การส่งผู้ร้ายข้ามแดนเป็นความร่วมมือทางกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม โดยจัดส่งผู้ที่กระทำความผิดหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดและหลบหนีไปยังประเทศอื่นคืนไปยังประเทศที่ความผิดเกิดขึ้น ซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา ตามปกติการกระทำความผิดนั้นจะต้องกระทำขึ้นในเขตอำนาจศาลของประเทศที่ร้องขอและบุคคลผู้กระทำผิดได้หลบหนีมาอยู่ในเขตอำนาจศาลของประเทศที่รับคำร้องขอ และการส่งผู้ร้ายข้ามแดนจะต้องเป็นการร้องขอโดยผ่านพิธีการทางการทูต
       

ปัจจุบันประเทศไทยมีสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนกับ 16 ประเทศ คือ 1.สหรัฐอเมริกา 2.สหราชอาณาจักรและไอแลนด์เหนือ 3.แคนาดา 4.เบลเยี่ยม 5.จีน 6.เกาหลีใต้ 7.อินโดนีเซีย 8.ออสเตรเลีย 9.ฟิลิปปินส์ 10.กัมพูชา 11.ฮ่องกง 12.ลาว 13.บังคลาเทศ 14.ฟิจิ 15.มาเลเซีย และ 16.อินเดีย 


การส่งผู้ร้ายข้ามแดนเริ่มด้วยมีคำร้องขอจากรัฐบาลต่างประเทศโดยพิธีการทางการทูต กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศจะส่งคำร้องขอไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อให้พนักงานอัยการนำคดีขึ้นสู่ศาลที่มีอำนาจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม กระทรวงมหาดไทยจะสั่งให้จับจำเลยหรือจะขอให้ศาลออกหมายจับก็ได้ เมื่อจับจำเลยได้แล้ว ต้องนำตัวขึ้นสู่ศาลโดยเร็วและดำเนินการไต่สวนตามวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งไม่จำต้องพิจารณาโดยละเอียดว่าผู้ต้องหาจะมีความผิดตามข้อกล่าวหาที่ขอให้ส่งตัวข้ามแดนหรือไม่ หากแต่จะต้องเป็นที่พอใจว่า จำเลยเป็นผู้ถูกร้องขอให้ส่งตัวข้ามแดนแน่ไม่ใช่จับมาผิดแล้วสับตัวกัน 


ประเด็นที่น่าสนใจ ยกตัวอย่างการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างไทยกับอังกฤษ  มีข้อยกเว้นเด็ดขาดว่า ถ้าเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง “ การเมือง ” ก็ไม่ต้องส่งผู้ร้ายคนนั้นให้แก่กัน 

โดยสัญญาในข้อ 5 ระบุว่า “ ถ้าผู้ร้ายที่หนีมายังประเทศใด ประเทศนั้นเห็นว่าโทษที่ขอให้ส่งตัวไปชำระนั้น เป็นโทษมีลักษณะผิดต่ออำนาจของบ้านเมืองก็ดี หรือว่าผู้ร้ายนั้นนำพยานพิสูจน์ให้เห็นว่าการที่ขอให้ส่งตัวกลับไป เป็นการเพื่อจะชำระและลงโทษ อันมีลักษณะผิดต่ออำนาจของบ้านเมืองแล้ว ก็ไม่ต้องส่งผู้ร้ายคนนั้นให้แก่กัน 

และทุกประเทศที่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกันล้วนมีบทบัญญัติดังกล่าว ฉะนั้นการที่ อดีตพระพรหมเมธีทำเรื่องขอลี้ภัยการเมือง แม้จะเป็นการหนีคดีเงินทอนวัดก็ตาม  แต่หากการเขียนคำร้องระบุถึงรัฐบาลไทยว่าเป็นรัฐบาลรัฐประหาร มีความเป็นเผด็จการ ใช้อำนาจทางการเมืองกลั่นแกล้งพระสงฆ์ ก็มีความเป็นไปได้ว่าเยอรมันอาจให้สถานะผู้ลี้ภัยกับอดีตพระพรหมเมธี 

นอกจากนี้การที่ไทยกับเยอรมันไม่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกัน ยิ่งทำให้ความเป็นไปได้ในการขอลี้ภัยมีมากขึ้น.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"