5 มิ.ย.61- นายคำนูณ สิทธิสมาน ในฐานะโฆษกคณะกรรมการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. นี้ คณะกรรมการได้ลงรายละเอียดรายมาตราในประเด็นที่เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการปฏิรูปตำรวจ คือการทำหน้าที่ของเจ้าพนักงานสอบสวน อันเป็น 1 ใน 4 สายงานของการจัดส่วนราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) โดยร่างกฎหมายใหม่จะระบุถึงความหมายของสายงานสอบสวนไว้
หมายความว่า สายงานสอบสวน ได้แก่ งานเกี่ยวกับการสอบสวน และงานสืบสวนที่เกี่ยวเนื่องกับการสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้วยการสอบสวน และกฎหมายอื่น หรือหมายความว่าในสายงานสอบสวน จะมีเจ้าพนักงานสืบสวนเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐานทำสำนวนคดีภายใต้บังคับบัญชาของสายงานตัวเอง แยกออกมาจากงานสืบสวนทั่วไปที่มีไว้เพื่อป้องกันอาชญากรรม ซึ่งอยู่ในสายงานป้องกันและปราบปราม ซึ่งจะทำให้มีหลักประกันในการทำงานภายในกรอบอำนาจหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดจากการแทรกแซง
นายคำนูณ กล่าวว่า ตำแหน่งของข้าราชการตำรวจทั้งหมดตามร่างกฎหมายดังกล่าวจะปรับแก้จากเดิม ดังนี้ 1.ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 2.จเรตำรวจ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 3.ผู้ช่วยผบ.ตร. 4.ผู้บัญชาการ และผู้บัญชาการสอบสวน 5.รองผู้บัญชาการ และรองผู้บัญชาการสอบสวน 6.ผู้บังคับการ และผู้บังคับการสอบสวน 7.รองผู้บังคับการ และรองผู้บังคับการสอบสวน 8.ผู้กำกับการ และรองผู้กำกับการสอบสวน 9.รองผู้กำกับการ และรองผู้กำกับการสอบสวน 10.สารวัตร และสารวัตรสอบสวน 11.รองสารวัตร รองสารวัตรสอบสวน และพนักงานสืบสวนในการสอบสวน 12.ผู้บังคับหมู่ และผู้ช่วยพนักงานสอบสวน 13.รองผู้บังคับหมู่
ประเด็นที่ปรับแก้ คือ ระบุชื่อตำแหน่งในสายงานสอบสวนไว้ในทุกระดับตั้งแต่เริ่มต้นที่ข้อ 12 ขึ้นไปจนถึงสูงสุดที่ข้อ 4 และเพิ่มตำแหน่งพนักงานสืบสวนในสายงานสอบสวนไว้ในชื่อพนักงานสืบสวนในการสอบสวน ไว้ที่ตำแหน่งระดับเทียบเท่ารองสารวัตรตามปรากฏในข้อ 11จะเห็นได้ว่าเมื่อเริ่มบรรจุเข้ารับราชการชั้นสัญญาบัตรในสายงานสอบสวนที่ตำแหน่งรองสารวัตรสอบสวนตามข้อ 11 จะมีโอกาสเติบโตในสายงานขึ้นไปตามลำดับจนถึงระดับผู้บัญชาการตามข้อ 4 ส่วนตำแหน่งผู้ช่วยผบ.ตร. และรองผบ.ตร. จะบัญญัติไว้ในมาตราต่อ ๆ ไปให้แต่งตั้งจากสายงานสอบสวน 2 คนและ 1 คนตามลำดับ
เขาบอกว่าา เจ้าหน้าที่ตำรวจจากสายงานสอบสวน จะเป็นหนึ่งในแคนดิเดทที่จะได้รับการพิจารณาให้เป็นผบ.ตร. เพราะในมาตราต่อๆไปข้างหน้าจะกำหนดให้ผบ.ตร.มาจากผู้ดำรงตำแหน่งรองผบ.ตร. และจเรตำรวจเป็นหลัก
นายคำนูณ กล่าวต่อว่า เพื่อความเป็นอิสระในการสอบสวนและการทำความเห็นทางคดี ร่างกฎหมายใหม่จึงกำหนดตำแหน่งของตำรวจไว้ให้มีผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ตำรวจในสายงานสอบสวนโดยเฉพาะ ตั้งแต่ระดับหัวหน้าสถานีตำรวจหรือระดับกองกำกับการขึ้นไปจนถึงระดับกองบัญชาการควบคู่กันไปกับตำแหน่งผู้บังคับบัญชาทั่วไป ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาทั่วไปในแต่ละระดับยังคงมีหน้าที่และอำนาจสูงสุดในการบริหารหน่วยงานเหมือนเดิม ยกเว้นแต่อำนาจและหน้าที่ในการสอบสวนและการทำความเห็นทางคดี ให้เป็นหน้าที่และอำนาจของผู้บังคับบัญชาสายงานสอบสวน
ส่วนการแต่งตั้งโยกย้าย และการเลื่อนเงินเดือนประจำปี แม้จะเป็นหน้าที่และอำนาจของผู้บังคับบัญชาทั่วไปในระดับกองบัญชาการและกองบังคับการ แต่จะต้องดำเนินการตามข้อเสนอของผู้บังคับบัญชาสายงานสอบสวน เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าข้อเสนอของผู้บังคับบัญชาสายงานสอบสวนมิได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายหรือกฎก.ตร.กำหนด ให้ผู้บังคับบัญชาทั่วไปมีอำนาจสั่งให้ผู้บังคับบัญชาสายงานสอบสวนทบทวนให้ถูกต้องตามที่กฎหมายหรือกฎก.ตร.กำหนดได้
“หากผู้บังคับบัญชาสายงานสอบสวนทบทวนแล้วยังยืนยันตามข้อเสนอเดิม แต่ผู้บังคับบัญชาทั่วไปเห็นว่าการดำเนินการนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือกฎก.ตร. ให้ผู้บังคับบัญชาทั่วไปมีอำนาจออกคำสั่งให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือกฎก.ตร. แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับผลกระทบจากคำสั่งดังกล่าวที่จะร้องทุกข์ต่อก.พ.ค.ตร.หรือฟ้องศาลปกครองแล้วแต่กรณี” โฆษกคณะกรรมการฯ กล่าว
นายคำนูณ กล่าวเพิ่มเติมว่า ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจในสายงานสอบสวนที่ดำรงตำแหน่งตามข้อ8, 9, 10, 11 และ 12 เฉพาะที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจ ได้รับเงินเพิ่มเป็นกรณีพิเศษตามอัตราที่ก.ตร.กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง โดยให้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานและการดำรงตนอยู่ในความยุติธรรมได้อย่างมีเกียรติโดยเทียบกับค่าตอบแทนที่รัฐจ่ายให้แก่ข้าราชการฝ่ายอื่นที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมประกอบด้วย ทั้งนี้ บทบัญญัตินี้มีอยู่แล้วในพ.ร.บ.ตำรวจฯฉบับปัจจุบัน แต่คณะกรรมการฯปรับแก้ให้เน้นเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจ
นายคำนูณ กล่าวด้วยว่า คณะกรรมการฯยังได้ย้อนกลับไปเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของ ก.ตร. ให้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำที่เกี่ยวกับกำลังพล อุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของสถานีตำรวจและกองบังคับการ ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดอัตรากำลังพลสายงานสอบสวนรวมทั้งสายงานป้องกันและปราบปรามให้เพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ และให้ผบ.ตร.ดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าวของก.ตร. โดยเฉพาะกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดและสถานีตำรวจภูธร ทั้งนี้ เพื่อทำให้สถานีตำรวจมีความพร้อมในการรับใช้ประชาชนสูงสุดโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ต้องดิ้นรนหาเงินมาจ่ายเอง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |