22 มิ.ย.64- ศ.นพ.ยง ภูาวรรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในการแถลงข่าว Update สายพันธุ์Deltaและจะมีผลกระทบต่อการได้รับวัคซีนหรือไม่ ว่า ในความกังวลแพร่ระบาดโควิด สายพันธุ์ เดลต้า พบว่าหากฉีดวัคซีน ทั้งไฟเซอร์ หรือแอสตร้าเซนเนก้า ฉีดเข็มเดียว ภูมิคุ้มกันจะสูงไม่พอ ได้แค่ 20-30% สายพันธุ์เดลต้า จะต้องใช้ภูมิคุ้มกันที่สูงถึงจะป้องกันโรคได้ ดังนั้น ขณะนี้เราต้องชะลอการระบาดสายพันธุ์เดลต้าให้มากที่สุด ซึ่งถ้าลดการระบาดลงได้ อาทิตย์ละ 1% ต้องใช้เวลานานกว่าจะ ให้โควิดลงไประดับหนึ่ง พอถึงตอนนี้นถ้าเดลตค้าอาจจะมากขึ้น ดังนั้น จึงต้องทำให้คนมีภูมิคุ้มกันสูงมากพอ และจากการศึกษาพบว่า การฉีดวัคซีนเข็ม 2 ของ แอสตร้า ฯและซิโนฟาร์ม ที่ ภูมิคุ้มกันยังต่ำ จำเป็นต้องฉีดเข็มที่ 3 ซึ่งภูมิคุ้มกันที่ได้จะสูงน้องๆไฟเซอร์ และการฉีดเข็มที่ 3 ถ้าฉีดในเวลาที่เหมาะสม จะกระตุ้นภูมิเพิ่มขึ้น 10 เท่า
สำหรับการฉีดเข็มที่ 3 อาจข้ามวัคซีน หรือใช้วัคซีนตัวเดิมก็ได้ เช่นฉีดซิโนแวค 2เข็ม เข็มที่ 3 อาจเป็นแอสตร้าฯ โดยขณะนี้กำลังศึกษาการให้เข็มที่ 3 ที่เหมาะสมว่า หลังจากให้ 2เข็มแล้ว ควรให้ 3เดือน หรือ 6เดือน ถัดไป และคาดว่าข้อมูลจะออกมาเร็วๆนี้ นี้ และคิดว่าน่าจะทันเดลต้าที่กำลังเพิ่มขึ้น
เมื่อถามว่า จะสามารถฃะลอสายพันธุ์เดลต้า ทันก่อนเปิดดประเทศ.120 วันได้หรือไม่ ศ.นพ.ยง กล่าวว่า ตอนนี้ คงตอบไม่ได้ ขึ้นกับเราทุกคนต้องช่วยกัน ต้องลดการระบาด คุมให้ได้วันละหลักสิบ หรือหลักหน่วย และเสียชีวิตแค่วันละ คน สองคน ถึงเวลานั้นอาจเปิดประเทศได้ แต่ถ้าเปิดประเทศในช่วงที่ยังมีคนติดเชื้อหลักพันคน ถึงเปิดไปก็คงไม่มีใครมา ดังนั้นเราต้องช่วยกัน ลดตัวเลข ประชาชนต้องช่วย และฉีดวัคซีน สองอย่างต้องช่วยกัน
"ตอนนี้ ที่ระบาดยังเป็นสายพันธุ์อังกฤษ 90% การฉีดวัคซีน เราศึกษาเยอะ เช่น ถ้าฉีดซิโนแวค 4อาทิตย์ แล้วตามด้วยแอสคร้าเซนเนก้า เรากำลังศึกษาให้เร็วที่สุด เพื่อปรับกลยุทธิ์ให้ดีที่สุด สำหรับประเทศของเรา ทั่วโลก ทำกันเยอะเรื่องสลับวัคซีน ในยุโรป สลับวัคซีนเชื้อตาย กับ mRNA ที่ผ่านมาเราให้ซิโนแวค ตามด้วยแอสตร้าฯเพื่อดูผลข้างเคียง และพบว่าภูมสูงชึ้นพอสมควร แต่เราต้องเฝ้าระวังเดลต้า และการศึกษาข้อมูลเรื่องเข็ม 3 น่าจะออกมาทันกับการแพร่ระบาดสายพันธุ์เดลต้า"
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เในอีก 120 วัน หรือ 4เดือน คาดว่าจะมีการว่าฉีดวัคซีนในกลุ่มเป้าหมายไปได้จำนวนมาก กว่าครึ่งของคนที่ต้องฉีด ถ้าลดการระบาดได้อย่าง ที่ อ.ยงพูด ปัจจัยทั้งหมดต้องประมวลออกมา ถ้าคนไทยช่วยกัน เพื่อคุมตัวเลขลดการระบาด และฉีดวัคซีนมากขึ้น การระบาดก็น่าจะลดลง อีกทั้งเราต้องเคร่งครัดในมาตรการ ถ้าไม่ทำ ก็จะเปิดไม่ได้ เช่น บางประเทศที่แพลนปลดล็อกดาวน์ ก็เลื่อนไป สำหรับสายพันธุ์เดลต้าทื่แพร่ทางภาคใต้ ถ้าคุมโรคได้เร็วก็จะควบคุมแพร่ระบาดได้ และ ล่าสุดเดลต้าที่เจอ มาจากยะลา ส่วนจะมาจากนราธิวาสอีกทีหรือเปล่า ต้องขอเฃวลาสอบสวนโรค เพื่อดูพันธุกรรม
ประเด็น หลังฉีดวัคซีนแล้วควรต้องตรวจดูภูมิคุ้มกันว่าขึ้นสูงหรือไม่ ศ.นพ.ยง กล่าวว่า เราไม่จำเป็นต้องตรวจภูมิหลังรับวัคซีน เพราะแต่ละโรงพบาลจะมีวิธีตรวจที่แตกต่างกัน ตัวเลขวัดก็ไม่เหมือนกันและผลไม่มีค่าอ้างอิง และไมรู้ว่าตัวเลขนั้นแปลความอย่างไร เรื่องการตรจภูมิคุ้มกันว่าขึ้นหรือไม่ ขณะนี้ เรากำลังวิจัย ที่เปรียบเทียบแต่ละวิธี ของการวัดภูมิ โดยนำโควิดละสายพันธุ์ มาตรวจซีรัมในเลือด เพื่อหาภูมิคุ้มกัน ถ้าตรวจจะเสียเงินเปล่าๆ อย่าเชื่อโฆษณาชวนเชื่อ เช่น ค่าตรวจ 350 บาท จะเสียเงินเปล่า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |