21 มิ.ย. 2564 นางสาวภัคณัฏฐ์ มากช่วย รองผู้ว่าการฝ่ายบริหาร และรักษาการแทน ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) เปิดเผยว่า สบพ.เป็นหนึ่งหน่วยงานที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้ สบพ.จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินและอวกาศอู่ตะเภา ซึ่งกองทัพเรือ(ทร.)ได้มีการจัดสรรพื้นที่ให้จำนวน 100 ไร่ ขณะนี้ อยู่ระหว่างการทบทวนผลการศึกษา ตามข้อสังเกตของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่ได้มีข้อเสนอแนะว่า โครงการดังกล่าวมีขนาดใหญ่เกินไป และขอให้มีการปรับลดการลงทุน จากเดิมจะใช้วงเงินลงทุน 2,715 ล้านบาท ให้เหลืออยู่ที่ไม่เกิน 1,200 ล้านบาท (การลงทุนในระยะแรก)
ทั้งนี้ จากข้อเสนอแนะของ สศช.ดังกล่าวนั้น สพบ.จึงได้นำผลการศึกษากลับมาทบทวน ประกอบกับจากสถานการณ์การแพร่ระบาดให้เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เกิดขึ้นในระลอกแรกนั้น ทำให้คณะกรรมการฯ (บอร์ด) มีมติให้ชะลอโครงการดังกล่าวออกไปก่อน ซึ่งขณะอยู่ระหว่างทำการศึกษาความเป็นไปได้ใหม่อีกครั้ง ขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เห็นว่า สบพ.ควรทบทวนแผนการศึกษาโครงการเดิม เพื่อให้มีขนาดการลงทุนที่เหมาะสม ตามความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ สบพ.จะดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโครงการ เพื่อทบทวนและศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมด้านการบินและอวกาศอู่ตะเภาฯ (ฉบับใหม่)ในวงเงิน 12 ล้านบาทโดยใช้งบประมาณของ สบพ. ซึ่งเมื่อศึกษาแล้วเสร็จ จะเสนอไปยัง สศช.อีกครั้ง ก่อนที่จะนำเสนอโครงการเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป ทั้งนี้ ตามแผนที่กำหนดไว้ หากได้รับความเห็นชอบจาก ครม.แล้ว คาดว่า จะเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 และเริ่มการก่อสร้างระยะเวลา 18 เดือน หรือแล้วเสร็จภายในปี 2570
นางสาวภัคณัฏฐ์ กล่าวต่อว่า สำหรับศูนย์ฝึกอบรมบุคลกรฯ แผนเดิมใช้งบประมาณ 2,715 ล้านบาท แบ่งออกเป็ร 3 ส่วน ได้แก่ 1.ค่าสิ่งปลูกสร้าง วงเงิน 1,815 ล้านบาท 2.ค่าครุภัณฑ์การเรียนการสอน วงเงิน 448 ล้านบาท และ 3.ค่าดำเนินการ วงเงิน 450 ล้านบาท โดยวัตถุประสงค์ของการดำเนินการนั้น เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาล ในการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมการบิน และเพื่อสนับสนุนบุคลากรให้แก่หน่วยงานการขนส่งทางอากาศทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลที่องค์การการบินพลเรือนระหว่าง ประเทศ (ICAO) ได้กำหนดไว้ อีกทั้ง สกพอ.ยังได้ให้ความเห็นว่า สบพ. ควรมีการพัฒนาบุคลากรร่วมกับภาคเอกชน เพื่อบูรณาการด้านองค์ความรู้ ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) มีมติรับทราบ และขอให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องรับความเห็น กพอ. ไปดำเนินการต่อไป
นอกจากนี้ ในส่วนประโยชน์ของโครงการศูนย์ฝึกอบรมฯ นั้น ยังประกอบด้วย 6 ข้อ ได้แก่ 1.ผลิตบุคลากรช่างซ่อมบำรุงอากาศยานรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการบิน 2.พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการซ่อมบำรุงและผลิตชิ้นส่วนจากผู้นำระดับโลก 3.เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และวิจัยเทคโนโลยีด้านซ่อมบำรุงและผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน 4.ยกระดับมาตรฐานการซ่อมบำรุงอากาศยานของไทยและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน 5.ดึงดูดการลงทุนศูนย์ซ่อมบำรุงและผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน และ 6.สนับสนุนเป้าหมายของประเทศด้านอุตสาหกรรมการบิน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |