วิบัติ!ฉีดไปส่งเดชค่ะ ‘เจี๊ยบก้าวไกล’อาการหนักด้อยค่า‘ซิโนแวค’หลังรับเข็ม2


เพิ่มเพื่อน    

ฉีดวัคซีนพุ่ง 7.4 ล้านรายแล้ว ขณะที่  "ซิโนฟาร์ม" ถึงไทย 1 ล้านโดส "หมอยง" ยันวัคซีนทุกชนิดสามารถลดความรุนแรง ลดการเสียชีวิต ฉะนั้นต้องเร่งฉีดให้เร็วที่สุดและมากที่สุด ในอนาคตเมื่อวัคซีนมีมากเพียงพอ ใครอยากกระตุ้นเพิ่มด้วยวัคซีนอะไรก็สามารถทำได้  "เจี๊ยบ ก้าวไกล" ฉีดเข็ม 2 แล้ว รู้สึกชีวิตตัวเองไม่ได้มีค่าอะไรมากมาย เลยส่งเดชไป
    เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) รายงานจำนวนผู้รับวัคซีนสะสมตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์–18 มิถุนายน รวม 7,483,083 โดส ใน 77 จังหวัด จำนวนผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 สะสม 5,434,199 ราย และเข็มที่ 2 สะสม 2,048,964 ราย
    สำหรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย แบ่งเป็น ซิโนแวค เข็มที่ 1 เพิ่มขึ้น 60,787 ราย แอสตร้าเซเนก้า เพิ่มขึ้น 120,801 ราย รวมทั้งสิ้น 181,588 ราย ซิโนแวค เข็มที่ 2 เพิ่มขึ้น 79,382 ราย แอสตร้าเซเนก้า 2,445 ราย รวมทั้งสิ้น 81,827 ราย โดยแบ่งจำนวนการได้รับวัคซีนโควิด-19 แยกตามกลุ่มเป้าหมายได้ดังนี้ บุคลากรทางการแพทย์ 712,000 ราย เจ้าหน้าที่ด่านหน้า 1,900,000 ราย อาสาสมัครสาธารณสุข 1,000,000 ราย ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค 5,350,000 ราย ประชาชนทั่วไป 28,538,000 ราย และ 12,500,000 ราย รวมทั้งสิ้น 50,000,000 ราย
    ขณะที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แจ้งกำหนดการวัคซีนตัวเลือก ซิโนฟาร์ม จำนวน 1 ล้านโดส ขนส่งถึงประเทศไทยวันที่ 21-22 มิถุนายน เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบคุณภาพจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์วันที่ 23-24 มิถุนายน 2564 จัดส่งวัคซีนกระจายสู่สถานพยาบาลที่ให้บริการฉีดวัคซีนตัวเลือกซิโนฟาร์มทั่วประเทศวันที่ 25 มิถุนายน 2564 เริ่มฉีดวัคซีนตัวเลือกซิโนฟาร์มวันแรกพร้อมกันทั่วประเทศ
    น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากเดิมที่รัฐบาลตั้งเป้าและดำเนินการจองวัคซีนไว้แล้ว 100 ล้านโดส ซึ่งนายกฯ ได้ประกาศไว้แล้วว่าจะขยายเพิ่มหรือหาเพิ่มอีก 50 ล้านโดส รวมเป็น 150 ล้านโดส ที่จะฉีดให้คนไทยทั้งปีนี้และขยายต่อไปในปีหน้า เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยนายกฯ ได้เน้นย้ำในที่ประชุม ศบค.ว่า ในเดือน มิ.ย.นี้ นอกจากมีวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าล็อตที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว ยังจะมีของซิโนแวคอีก 2 ล้านโดส และซิโนฟาร์มอีก 1 ล้านโดส
       รองโฆษกรัฐบาลกล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันปัญหาขาดวัคซีนเป็นช่วงๆ ก็จะคลี่คลาย เพราะได้มีการจัดคิวให้สอดคล้องกับจำนวนวัคซีนที่ส่งมาจากโรงงาน รวมทั้งสอดคล้องกับจำนวนคนที่ลงทะเบียน ซึ่งในส่วนของ กทม. ก็ได้แจ้งข่าวไปแล้วว่า ได้รับการจัดสรรวัคซีนเพิ่มแล้วจำนวน 3.5 แสนโดส โดยได้จัดสรรไปยังโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ รวมทั้งจุดบริการฉีดวัคซีนนอกสถานที่ 25 จุด ดังนั้น ผู้ที่ลงทะเบียนผ่านหมอพร้อมและไทยร่วมใจ ก็จะได้รับการทยอยฉีดตามกำหนด โดย กทม.และโรงพยาบาลจะประสานแจ้งคิวกับผู้ลงทะเบียนต่อไป จึงขอให้ติดตามข้อมูลจากโรงพยาบาลและ กทม.
    นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายให้การฉีดวัคซีนโควิดเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อลดการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 เร่งสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ เตรียมพร้อมฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศ และกระตุ้นการท่องเที่ยว ให้ประชาชนได้กลับมาดำเนินชีวิตตามปกติโดยเร็วที่สุด ตั้งเป้าหมายจัดหาวัคซีนสำหรับฉีดให้คนในประเทศกว่า 100 ล้านโดสภายในปี 2564
    จากการสำรวจความต้องการฉีดวัคซีนโควิด-19 ล่าสุด 16–31 พฤษภาคม 2564 พบว่าทั้งกลุ่มอายุ 15-59 ปี และกลุ่ม 60 ปีขึ้นไป มีความต้องการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณร้อยละ 65-75 จึงขอให้มาฉีดวัคซีนช่วยชาติ เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันระดับประเทศ เปิดประเทศเมื่อทุกคนปลอดภัย ย้ำว่าแม้จะฉีดวัคซีนแล้วยังมีโอกาสติดเชื้อได้ ทุกคนยังต้องเข้มมาตรการป้องกันตนเอง สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ ที่สำคัญคือ พฤติกรรมส่วนบุคคลที่ดี เช่น การใช้ช้อนกลางส่วนตัว ระวังการสัมผัสบริเวณพื้นผิวต่างๆ
คนไทยใส่หน้ากากมากขึ้น
    ด้าน นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้เปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมสุขภาพประชาชน และความต้องการวัคซีนในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ว่า กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับองค์การอนามัยโลก สํานักงานภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้สำรวจพฤติกรรมการป้องกันตนเองของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 25,265 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 16-31 พฤษภาคม 2564
    พบว่าการระบาดของโรคโควิด-19 ในระลอก 1 เมษายน ที่มาจากคลัสเตอร์สถานบันเทิง ทำให้คนไทยส่วนใหญ่กลับมามีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้นเท่ากับช่วงการแพร่ระบาดในระลอกแรก คือ ร้อยละ 85.4 ให้ความสำคัญกับการสวมหน้ากากอนามัยสูงถึงร้อยละ 94.8 รองลงมาคือ การล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ร้อยละ 88.8 กินอาหารร้อน ใช้ช้อนกลางส่วนตัว ร้อยละ 87.9 และระวังตนเองไม่อยู่ใกล้ชิดคนอื่นร้อยละ 83 รวมถึงมีการรวมกลุ่มทางสังคมและเดินทางออกต่างจังหวัดลดลง
    ในส่วนผลสำรวจเกี่ยวกับความต้องการฉีดวัคซีนโควิด-19 พบว่าโดยเฉลี่ยคนไทยในกลุ่มอายุ 15-59 ปี และกลุ่ม 60 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มความต้องการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณร้อยละ 65-75 มีผู้ที่ตั้งใจอยากฉีดวัคซีน ร้อยละ 56 และเปลี่ยนใจจากเดิมที่ไม่ต้องการฉีดเป็นต้องการฉีดร้อยละ 21.7 ตั้งใจไม่ฉีดร้อยละ 13.6 และเปลี่ยนใจจากเดิมต้องการฉีดเป็นไม่ต้องการฉีดร้อยละ 8.7
    ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย ขณะนี้เป็นที่กล่าวถึงและวิพากษ์วิจารณ์กันมากถึงวัคซีนที่ใช้ในประเทศไทย ทุกคนอยากได้วัคซีนที่ไม่มีใช้ในประเทศไทย เราเองก็อยากได้วัคซีนทุกชนิดเพื่อมาให้กับประชาชนไทยให้มากที่สุดในการควบคุมการระบาดของโรค เมื่อมีวัคซีนหลากหลาย ใครอยากได้วัคซีนอะไรก็จะได้เลือกแบบการใช้วัคซีนในเด็ก
    ในปัจจุบัน วัคซีนไม่พอตามความต้องการของโลก เราอยากได้วัคซีนอเมริกา ก็หาไม่ได้ ไม่ใช่เพราะเราไม่อยากได้ แต่ไม่มีวัคซีนส่งให้ เขาจะส่งให้เราก็ปลายปี ทางวัคซีนของ Moderna Pfizer ก็คงจะเป็นหลังเดือนตุลาคมไปแล้ว (Q4) เดือนอะไรก็ยังไม่รู้
    ขณะนี้ในประเทศไทยโรคระบาดมาก มีการสูญเสียชีวิตวันละ 30-40 คน เราคงรอไม่ได้ วัคซีนทุกชนิดสามารถลดความรุนแรง ลดการเสียชีวิต เราคงต้องให้ไปก่อนให้เร็วที่สุดและมากที่สุด ในอนาคตเมื่อวัคซีนมีมากเพียงพอ ใครอยากกระตุ้นเพิ่มด้วยวัคซีนอะไร ก็สามารถทำได้
"เจี๊ยบ ก้าวไกล" ฉีดส่งเดช
    สายพันธุ์ไวรัสเดลตา (อินเดีย) มีการกล่าวว่าจะทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง แต่ก็เพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) การระบาดของประเทศไทยขณะนี้ยังเป็นสายพันธุ์อังกฤษ พบได้ถึงร้อยละ 96 วัคซีน AstraZeneca และ Sinovac สามารถลดความรุนแรงและลดอัตราป่วยตายได้ดังเช่นการศึกษาที่ภูเก็ต
    ในอนาคตถ้ามีการระบาดสายพันธุ์เดลตา หรืออินเดีย และจำเป็นต้องใช้ภูมิต้านทานที่ระดับสูงขึ้น เราจะฉีดเพิ่มด้วยวัคซีนอะไรที่มี เช่น Sinopharm Pfizer Moderna ก็เป็นไปได้ เพียงกระตุ้นเข็มเดียวไม่ว่าจะเป็นวัคซีนอะไรก็จะได้ผลภูมิต้านทานสูงมาก จะสูงขึ้นอีกเป็น 10 เท่า ตามหลักการของวัคซีนในเข็มกระตุ้น
    การศึกษาการให้วัคซีนต่างชนิดกันได้ผลชัดแล้วว่า การให้ AstraZeneca เข็มแรกแล้วกระตุ้นด้วย Pfizer ได้ผลภูมิต้านทานที่สูงเท่าเทียมกับการให้ Pfizer 2 เข็ม แต่ที่เห็นชัดได้อีกอย่างหนึ่งคือ การให้ 2 ชนิดที่ต่างกัน จะมีระดับภูมิต้านทานในหน่วยความจำ CD8 T cells ดีกว่า
    ในทำนองเดียวกัน ข้อมูลเบื้องต้นของศูนย์ที่ทำวิจัยอยู่พบว่าการให้วัคซีน Sinovac เข็มแรก แล้วกระตุ้นด้วย AstraZeneca ได้ภูมิต้านทานที่สูงมาก มากกว่าการให้ Sinovac 2 เข็ม และระดับสูงเป็นน้องๆ Pfizer เลย
    ดังนั้นในภาวะปัจจุบันเราควรรีบให้วัคซีนไปก่อนให้ครบ และครอบคลุมประชากรให้มากที่สุด เพื่อป้องกันการป่วยและการเสียชีวิตให้เร็วที่สุด และเมื่อเชื้อกลายพันธุ์ที่ทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง ก็สามารถกระตุ้นด้วยวัคซีนอื่นๆ หรือวัคซีนชนิดเดียวกัน ให้ภูมิสูงเพียงพอในการป้องกันไวรัสกลายพันธุ์นั้น จนกว่าจะมีวัคซีนใหม่ที่จำเพาะกับไวรัสกลายพันธุ์
    เราไม่มีทางเลือกในขณะนี้ มีวัคซีน 2 ตัว ก็ให้ให้เร็วที่สุด ในอนาคตถ้ามีวัคซีนมากเพียงพอและหลากหลายชนิด ใครจะกระตุ้นด้วยวัคซีนอะไรก็สามารถทำได้ อย่าไปพะวงกับปัญหาที่ยังไม่เกิด อย่างที่มีเสียงกล่าวขานกันมากขนาดนี้
    นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์รูปภาพฉีดวัคซีนโควิด พร้อมทวีตข้อความบนทวิตเตอร์ @AmaratJeab ระบุว่า ซิโนแวคเข็มที่ 2 วันนี้การบริหารจัดการการฉีดวัคซีนที่อาคารรัฐสภาทำได้ดีมาก จนท.มีความเป็นมืออาชีพ ใช้เวลารวมทั้งสิ้นถึงกลับบ้านได้ประมาณ 1 ชม. #ไม่มีโรคประจำตัว
    จากนั้น นางอมรัตน์โพสต์ข้อความสั้นๆ ว่า "ฉีดให้มันจบๆ ไป" โดยเป็นการตอบผู้ที่เข้ามาถามว่า "ไม่เข้าใจว่าทำไมคุณถึงยอมฉีดยี่ห้อนี้" ซึ่งนางอมรัตน์ตอบกลับว่า "ฉีดไปส่งเดชค่ะ ตามที่เค้าจัดให้ ขี้เกียจเรื่องเยอะ"
    นอกจากนี้ ยังมีผู้แสดงความเห็นว่า "เสี่ยงเกินไปครับ โชคดีที่ไม่เป็นไรครับ" นางอมรัตน์ตอบกลับว่า คงเพราะไม่กลัวเลยไม่รู้สึกว่าเสี่ยงอะไร และรู้สึกชีวิตตัวเองไม่ได้มีค่าอะไรมากมาย เลยส่งเดชไป ไม่เป็นไรค่ะ"
    ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) เผยแพร่หนังสือด่วนที่สุด ลงนามโดย นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 17 มิ.ย. ส่งถึงผู้ว่าราชการทุกจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ระบุว่า 
    ด้วยบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้ขอความอนุเคราะห์สนับสนุนวัคซีนโควิด เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคให้กับพนักงาน จำนวน 43,201 คน และครอบครัวของพนักงานของบริษัท จำนวน 28,244 คน ใน 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือบริษัท ไทยเบอเวอเรจ  จำกัด (มหาชน) ที่ สกอ.600/2564 ลงวันที่ 8 มิ.ย.2564 ที่ส่งมาพร้อมนี้
    ศบค.มท.พิจารณาแล้วเห็นว่า บริษัทเป็นภาคเอกชนที่มีภารกิจและโครงสร้างการดำเนินงานในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสโควิดให้กับพนักงานและครอบครัวของพนักงานของบริษัท จึงให้จังหวัดพิจารณาให้การสนับสนุนวัคซีนป้องกันโควิด ตามหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติของจังหวัดต่อไป ทั้งนี้ ศบค.มท.ได้แจ้งให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาสนับสนุนวัคซีนให้บริษัทด้วยแล้ว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"