นายกรัฐมนตรีออกมาประกาศด้วยความมุ่งมั่นที่จะเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวในเวลา 120 วัน ต่อจากนี้ไป แม้ว่าจะมีความเสี่ยงอยู่บ้าง ท่านก็ขอร้องให้พวกเรายอมรับความเสี่ยงไปด้วยกัน และหากเสี่ยงแล้ว มีปัญหาเกิดขึ้น ก็จะพยายามแก้ไขเป็นเรื่องๆ ไป ฟังแล้วก็มั่นใจว่าประเทศไทยน่าจะไม่มีการ Lock down อีกแล้วเป็นแน่แท้ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้ ทำให้เราเห็นชัดเจนว่านายกรัฐมนตรีพยายามสร้างความสมดุลระหว่างเรื่องของสุขภาพและความปลอดภัยของประชาชนจาก COVID-19 กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ท่านพูดอย่างชัดเจนว่า เราจะรอฟื้นฟูประเทศหลังจากที่ COVID-19 สงบเงียบไปทั้งหมดไม่ได้ เพราะหากเป็นเช่นนั้นเศรษฐกิจอาจจะตกต่ำจนยากที่จะฟื้นฟูได้หลังจากที่วิกฤติ COVID-19 สงบลง ดังนั้นในเวลานี้จะต้องเริ่มฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการใช้การท่องเที่ยวเป็นตัวนำ
นายกรัฐมนตรีท่านเอาข้อมูลอะไรในการมีความคิดที่จะใช้การท่องเที่ยวเป็นตัวนำในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ หากเราติดตามสถานการณ์เรื่องของการจัดการ COVID- 19 ของประเทศอย่างใกล้ชิด เราก็จะเห็นได้ชัดเจนว่ามีปัจจัยบวกที่ชี้ให้เห็นว่าได้ทำให้ประเทศไทยสามารถที่จะใช้การท่องเที่ยวเป็นตัวนำในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ
ด้านศักยภาพ : ประเทศไทยเป็นประเทศที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวเป็นอันดับต้นๆ ของโลก กรุงเทพฯ เป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับ 1 ของชาวโลก 3 ปีซ้อน นอกเหนือจากกรุงเทพฯ แล้ว ประเทศไทยยังมีเมืองท่องเที่ยวอีกหลายเมืองที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก และประเทศไทยมีปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของการท่องเที่ยวครบถ้วนแทบทุกด้าน ไม่ว่าการเดินทาง ที่พัก อาหาร แหล่งท่องเที่ยว การบริการที่อำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว และยังมีกิจกรรมมากมายสำหรับนันทนาการที่จะให้ประสบการณ์ที่ประทับใจแก่นักท่องเที่ยว ประเทศไทยสามารถนำเสนอการท่องเที่ยวได้หลากหลายประเภท ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้หลากหลาย ไม่ว่าการท่องเทียวเชิงวัฒนธรรม เชิงอาหาร เชิงชื่นชมธรรมชาติ เชิงศาสนา เชิงกีฬา และเชิงสุขภาพ ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเปิดรับนักท่องเที่ยว เชื่อว่านักท่องเที่ยวที่มีรายได้สูงและรายได้ระดับปานกลางที่รายได้ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ COVID-19 ที่ไม่ได้เที่ยวมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี คงจะต้องมองหาประเทศที่พวกเขาต้องการที่จะไปเยือน
ด้านการจัดการ COVID-19 : ประเทศไทยเป็นประเทศที่จัดการกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นอันดับต้นๆ ของโลก แม้ว่าเราจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากในระลอกที่ 3 แต่แนวโน้มของสถานการณ์กำลังดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สัปดาห์ที่ผ่านมา ตัวเลขคนติดลดลง เห็นได้ชัดว่าถ้าไม่มี Clusters เรือนจำเข้ามาด้วยตัวเลขที่สูง จำนวนคนติดจะลดลงอย่างมาก หวังว่าเจ้าหน้าที่เรือนจำจะช่วยลดตัวเลขตรงนี้นะ นอกจากนั้นแล้ว โรงงาน Site ก่อสร้าง Camp ก่อสร้าง ตลาดสด และชุมชนแออัดก็ต้องมีมาตรการให้เข้มขึ้นด้วย ถ้าหากไม่มี Clusters พวกนี้เข้ามา ตัวเลขเราจะต่ำกว่า 1,000 ทั้งหมดนี้น่าจะทำให้นักท่องเที่ยวมองว่าประเทศไทยมีความปลอดภัยที่พวกเขาจะเข้ามาเที่ยว นอกจากจำนวนคนติดจะน้อยลงแล้ว ในสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวนคนหายก็สูงกว่าจำนวนคนติดมากกว่า 2 เท่า ถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดี ทำให้เรามั่นใจว่าเรามีเตียง อุปกรณ์ และยา เพียงพอที่จะรองรับคนป่วยได้
เรื่องของการฉีดวัคซีน : แม้ว่าประเทศไทยจะได้วัคซีนมาช้ากว่าประเทศอื่น มีวัคซีนเข้ามาช้ากว่าประเทศอื่น แต่เวลานี้เรามีวัคซีนเข้ามาเป็นจำนวนมาก หลากหลายยี่ห้อ และจำนวนก็จะมากพอที่จะทำให้คนไทยได้รับการฉีดวัคซีน 2 Doses ภายในเวลาที่กำหนด แม้ว่าจะมีการเลื่อนบ้างในบางแห่ง แต่เชื่อว่าโดยรวมแล้ว เราน่าจะสามารถฉีดได้เกินกว่า 70% ของประชากรภายในสิ้นปีนี้ ขอเพียงแต่ให้มีการกระจายวัคซีนและการจัดการฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น ขอให้พวกเราได้ฉีดวัคซีนกันให้เป็นจำนวนมาก เราจะต้องพ้นวิกฤตินี้ได้ด้วยการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ หาก ยังไม่ได้ฉีด พวกเราก็ดูแลตัวเอง ปฏิบัติตามมาตรการที่หมอแนะนำ ใส่หน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ รักษาระยะห่าง
การที่เราตัดสินใจฉีดให้แก่บุคลากรที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวนั้น น่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยว ทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศที่จะเข้ามา เราฉีดให้แก่คนในภูเก็ตให้ได้มากกว่าที่อื่น เพื่อจะได้เปิดภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวแบบ Sandbox ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ได้รับการฉีดวัคซีน 2 Doses แล้ว โดยไม่ต้องมีการกักตัว แต่ให้อยู่ในภูเก็ตก่อนเป็นเวลา 14 วัน แล้วจะไปเที่ยวที่ไหนต่อก็ได้ ถ้าหากเราประสบความสำเร็จในการใช้ Phuket Model เป็น Sand Box เราก็คงจะเปิดเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ ได้อีกหลาย Sand Box ตอนนี้สิ่งที่เราจะต้องทำให้ได้ก็คือ กระจายวัคซีนอย่างเป็นธรรม ให้เป็นไปตามสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในแต่ละพื้นที่
การบริหารจัดการฉีดวัคซีนจะต้องทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ การทำงานให้มีประสิทธิภาพจะต้องเป็นการทำงานแบบ "บูรณาการ" ในการจัด "ระบบ กระบวนการ และขั้นตอน" ให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่ติดขัด บูรณาการ (Integration) จะต้องเป็นการทำงานของหลายฝ่าย (Variety) ที่รวมพลัง (Synergy) กันอย่างสอดประสาน (Harmony) กลมกลืน (Coherence) ปราศจากความขัดแย้ง (Frictionless) อย่างคงเส้นคงวา (Consistent) ตอนนี้เห็นได้ชัดว่า การจัดสรรวัคซีน การจัดการฉีดวัคซีน ไม่มีการบูรณาการตามความหมายที่กล่าวข้างต้น เพราะที่สื่อสารออกมานั้นแสดงให้เห็นความขัดแย้งชัดเจน ในสถานการณ์เช่นนี้ จะมาทะเลาะกันทำไม ในภาวะวิกฤติเช่นนี้เราต้องทำงานเป็น Teamwork ที่ร่วมมือกันให้ระบบและกระบวนการดำเนินไปอย่างราบรื่น ปรับปรุงกันหน่อยดีไหม เพื่อให้เราสามารถเปิดประเทศได้ภายใน 120 วันตามที่นายกรัฐมนตรีประกาศ
เราจะได้ฉีดวัคซีนกันถ้วนหน้า เราจะจัดการกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ภายในปีนี้
เราจะฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศได้ด้วยการท่องเที่ยว
เราจะได้เห็นธุรกิจต่างๆ สามารถดำเนินกิจการได้ 100% ในปี 2565
เราจะกลับไปมีชีวิตเป็นปกติอย่างที่เป็นมาก่อนเกิด COVID
ทั้งหมดนี้อยู่ที่พวกเราร่วมมือกันด้วยความมุ่งมั่น และไม่มีการนำเอาเรื่องของ COVID-19 มาใช้ในการเล่นการเมืองเพื่อด้อยค่ารัฐบาล เพราะเวลานี้เป็นเวลาที่เราจะต้องเอาชนะวิกฤติ COVID-19 โดยปราศจากความขัดแย้ง เราจะต้องชนะไปด้วยกัน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |