18 มิ.ย. 2564 นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยว่า ได้เปิดเผยรายละเอียดการเข้าพบและการนำเสนอต่อประธานกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพื่อเสนอผ่านไปยังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) แก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว โดยกำหนดเป็นมาตรการเร่งด่วนเข้าถึงแหล่งทุนและลดการว่างงาน ซึ่งเรื่องแรกที่ต้องการให้จัดการคือ มาตรการซอฟต์ โลน(Soft loan) โดยต้องการให้ปรับปรุง 4 เรื่อง คือ
1.นิยามของเอสเอ็มอี เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นคือแต่ละธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อซอฟต์โลนนั้นใช้คำจัดความไม่ตรงกับ สสว. เพราะมีการกำหนดจากแหล่งที่มาไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ต้องการให้กำหนดนิยามของเอ็สเอ็มอีใหม่ เพื่อสร้างมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อที่มีการประเมินและตรวจสอบได้เป็นรูปแบบเดียวกัน 2.แบ่งวงเงินให้แต่ละกลุ่มผู้ประกอบการอย่างชัดเจน เนื่องจากการปล่อยซอฟต์โลนครั้งแรกนั้น เมื่อไปดูรายละเอียด จะเห็นได้ว่าวงเงินถูกปล่อยให้กับเอสเอ็มอีที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 20 ล้านบาท เพียง 25% นอกจากนั้นถูกปล่อยให้กับกลุ่มผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีวงเงินสินเชื่อมากกว่า 20-500 ล้านบาท
3.จำนวนผู้ประกอบการที่จะเข้าถึงแต่ละวงเงิน และกำหนดวงเงินที่จะเข้าถึง เพราะส่วนใหญ่ธนาคารจะอยากปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มลูกค้าเดิมที่มีความแข็งแรงอยู่แล้ว และไม่มีผลกระทบ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินมาก กลุ่มผู้ประกอบการขนาดย่อยจึงไม่ค่อยได้รับการพิจารณา และ4. เกณฑ์การพิจารณา ควรผ่อนปรน เพราะธนาคารแห่งประเทศไทยมีมาตรการลดการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) และให้วงเงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต้นทุนที่ต่ำอยู่แล้วให้กับแต่ละธนาคาร อีกทั้งยังมี บสย.เข้ามารับประกันความเสี่ยงอีกทางหนึ่ง
นายแสงชัย กล่าวถึงมาตรการที่จะเป็นวัคซีน 3 เข็มแรกที่สำคัญที่จะเป็นจะต้องเร่งดำเนินการอย่างด่วนที่สุด คือมาตรการเพื่อหยุดการล้มละลายและหยุดเลือด แบ่งออกเป็น 1. พักต้น-พักดอก-เติมทุน ไปต่อ โดยไม่คิดดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาการพักต้น และยืดระยะเวลาการชำระออกไป รวมทั้งไม่ติดเครดิตบูโร เพื่อลดผลกระทบในระยะยาว เอ็นพีแอล บรรเทาภาระหนี้ และสร้างสภาพคล่องชั่วคราวให้กับเอสเอ็มอีที่ไม่ได้รับซอฟต์โลนทั้ง 2 ครั้ง
2. PO และสินเชื่อแฟคตอริ่ง ใบสั่งซื้อ-ใบกำกับภาษี คือต้องการใช้ใบสั่งซื้อมาขอสินเชื่อ 30-50% ของวงเงินใบสั่งซื้อที่มีจากลูกค้าของเอสเอ็มอีเพื่อนำเงินไปใช้ซื้อวัตถุดิบ จ้างผลิตหรือจ้างงานก่อน ช่วยเพิ่มสภาพคล่องตั้งแต่ใบสั่งซื้อได้ และ3.กองทุนประกันสังคม 30,000 ล้านบาท ที่มีออกมาแต่ผู้ประกอบการเข้าถึงยากมาก เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมมีหน้าที่ออกใบรับรองผู้ประกอบการว่าอยู่ในระบบเท่านั้น ซึ่งต้องการให้เพิ่มเติมในการเข้าไปช่วยเหลือแรงงานที่มีประวัติการส่งเงินสมทบตรงด้วย เพื่อชดเชยการว่างงาน แต่เป็นการแสวงหาอาชีพใหม่ให้กับผู้ตกงาน เป็นต้น
อย่างไรก็ตามซึ่งหากประเมินสถานการณ์กลุ่มเอสเอ็มอีที่มีความเปราะบาง(ขาดส่งชำระสินเชื่อ) จะพบว่ามีถึง 432,563 ล้านบาท หรือ 13% ของวงเงินสินเชื่อเอสเอ็มอีทั้งระบบ โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนเกิดโควิด -19 ถึง 258,519 ล้านบาท ซึ่งหากยังไม่สามารถเข้าช่วยเหลือได้ ก็จะยิ่งทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลงไป โดยจะต้องมีเป้าหมายให้เอสเอ็มอีเหล่านี้กลับสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพ และอยู่ในระบบฐานภาษีของรัฐ
“หลาย ๆ มาตรการที่ภาครัฐออกมาเป็นมาตรการที่ดีมาก และสมาพันธ์เอสเอ็มอีก็มีโอกาสเข้าไปช่วยขับเคลื่อนอยู่ด้วย แต่ก็ยังมีความเห็นที่ต้องการจะให้มีการผลักดันหรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้น เชื่อว่าสิ่งสำคัญคือวัคซีนทางสุขภาพอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ แต่ต้องการวัคซีนทางเศรษฐกิจเพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการบริหารไปพร้อม ๆ กัน และจากการระดมสมองของสมาพันธ์ บางมาตรการก็ได้เคยเรียกร้องไปเมื่อ 1 ปีที่แล้ว และยังไม่มีความคืบหน้าพอสมควร ถ้ามีการผลักดันไปได้ตั้งแต่ 1 ปีที่แล้ว เชื่อว่าผลกระทบจะไม่รุนแรง”นายแสงชัย กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |