พ้นจนอย่างยั่งยืน!


เพิ่มเพื่อน    

      “มาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อต้นเดือน ม.ค.2561 ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งภายใต้โครงการสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 2 เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560 โดยรัฐบาลและกระทรวงการคลังหมายมั่นปั้นมือว่าโครงการนี้จะเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศไทย เรียกว่า “หายจนอย่างยั่งยืน”

        ดังนั้น การดำเนินมาตรการทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นการบูรณาการความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน หลายกระทรวง ที่จะเน้นหนักไปที่การพัฒนาและเพิ่มศักยภาพให้ผู้มีรายได้น้อย สามารถมีรายได้เพิ่มขึ้น และนำมาซึ่งชีวิตความเป็นอยู่ที่มั่นคงและถาวรนั่นเอง โดยกระทรวงหลัก ๆ ที่ให้การสนับสนุน อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ไปจนถึงสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นั่นเอง

        สำหรับโครงการแยกย่อยออกเป็น 4 มิติสำคัญ คือ 1. การมีงานทำ 2.การฝึกอบรมอาชีพและการศึกษา 3.การเข้าถึงแหล่งเงินในชุมชน และ 4.การเข้าถึงสิ่งจำเป็นฐานราก

        หลังจากนั้นก็ได้มีการเปิดให้ผู้มีรายได้น้อยที่ผ่านคุณสมบัติโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ พ.ศ.2560 และถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 11.4 ล้านคน ที่สนใจจะพัฒนาตัวเองมาลงทะเบียนร่วมโครงการตั้งแต่เดือน ก.พ.ที่ผ่านมา โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อ 22 พ.ค.2561 พบว่ามีผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมาลงทะเบียนและได้รับการสัมภาษณ์แล้ว 7.2 ล้านราย หรือคิดเป็น 84.2% โดยในจำนวนนี้แบ่งเป็น 4.1 ล้านราย หรือ 56.4% ที่สนใจจะพัฒนาตัวเองตามมาตรการดังกล่าว และอีก 3.1 ล้านราย หรือ 43.6% ไม่สนใจจะพัฒนาตัวเอง โดยยังมีอีก 1.3 ล้านราย หรือ 15.8% อยู่ระหว่างการรอสัมภาษณ์

        ย้อนมาในรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการจูงใจให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการมาลงทะเบียนเพื่อฝึกอบรมเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับตัวเองนั้น รัฐบาลได้มอบวงเงินซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษาและวัตถุดิบเพื่อเกษตรกรรมจากร้านธงฟ้าประชารัฐและร้านค้าอื่นๆ ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด แบ่งตามรายได้สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีรายได้ไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อปี จะได้รับวงเงินเพิ่มเติม 200 บาทต่อคนต่อเดือน เพิ่มจากเดิมที่ได้รับอยู่แล้ว 300 บาทต่อคนต่อเดือน รวมเป็น 500 บาทต่อคนต่อเดือน และผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีรายได้สูงกว่า 3 หมื่นบาทต่อปี จะได้รับวงเงินเพิ่มเติม 100 บาทต่อคนต่อเดือน เพิ่มจากเดิมที่ได้รับอยู่แล้ว 200 บาทต่อคนต่อเดือน รวมเป็น 300 บาทต่อคนต่อเดือน

        ซึ่งในส่วนของผู้ที่ไม่สนใจจะพัฒนาตัวเอง กระทรวงการคลังก็จะหยุดจ่ายเงินในส่วนที่เพิ่มเติมเดือนละ 100-200 บาทต่อคนต่อเดือนให้ ตั้งแต่เดือน มิ.ย.2561 เป็นต้นไป โดยเมื่อเทียบจากข้อมูลที่มี พบว่ามีผู้ที่ไม่สนใจจะพัฒนาตัวเองสูงกว่าที่กระทรวงการคลังคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 1.5 ล้านคน

        ทั้งนี้ กระทรวงการคลังชี้แจงว่ารัฐบาลจะมีภาระในการใส่เงินเข้าไปในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มเติมเดือนละ 100-200 บาทต่อเดือน เฉลี่ยอยู่ที่ 1.2-1.4 พันล้านบาทต่อเดือน หรือคิดเป็น 2.4 หมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งเมื่อรวมกับการใส่เงินในบัตรสวัสดิการก่อนหน้านี้ที่ 200-300 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็น 3.6 หมื่นล้านบาทต่อปี นั่นหมายถึงรัฐบาลจะต้องใส่งบดำเนินการในส่วนนี้ทั้งสิ้น 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งรัฐบาลยืนยันชัดเจนว่ามีความพร้อมในการดำเนินการ

        สำหรับรูปแบบในการพัฒนาตัวเอง จะแยกเป็นกลุ่มเกษตร กลุ่มทำงานมีนายจ้าง กลุ่มทำงานอิสระ อาทิ การอบรมเกษตรกร 120 หลักสูตร การจัดหาแรงงานในประเทศ การฝึกทักษะคอมพิวเตอร์ การฝึกอาชีพ การพัฒนาฝีมือแรงงานให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและผู้มีรายได้น้อย ไปจนถึงกลุ่มที่ต้องการเข้าถึงสิ่งจำเป็นพื้นฐาน ทั้งการส่งเสริมการออม การจัดหาที่อยู่อาศัย การจัดหาที่ดินทำกิน เป็นต้น

      ถือเป็นอีกมิติของการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และความยากจนของประเทศไทย มองว่ามาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อย ถือเป็นแนวคิดที่ดีในการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน ส่วนความสำเร็จของโครงการคงต้องรอวัดผลจากมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลพยายามผลักดันลงมา.

ครองขวัญ รอดหมวน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"