16 มิ.ย.2564 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด19 ทั่วโลกในวันที่ 16 มิถุนายน 2564 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 329,975 คน รวมแล้วตอนนี้ 177,357,087 คน ตายเพิ่มอีก 7,942 คน ยอดตายรวม 3,836,743 คน 5 อันดับแรกที่มีจำนวนติดเชื้อต่อวันสูงสุดคือ บราซิล อินเดีย อาร์เจนตินา รัสเซีย และอิหร่าน
อเมริกา เมื่อวานติดเชื้อเพิ่ม 10,188 คน รวม 34,349,499 คน ตายเพิ่ม 315 คน ยอดเสียชีวิตรวม 615,677 คน อัตราตาย 1.8% อินเดีย ติดเพิ่ม 62,226 คน รวม 29,632,261 คน ตายเพิ่ม 1,470 คน ยอดเสียชีวิตรวม 379,601 คน อัตราตาย 1.3% บราซิล ติดเพิ่ม 88,992 คน รวม 17,543,853 คน ตายเพิ่มถึง 2,760 คน ยอดเสียชีวิตรวม 491,164 คน อัตราตาย 2.8% ฝรั่งเศส ติดเพิ่ม 3,235 คน ยอดรวม 5,744,589 คน ตายเพิ่ม 76 คน ยอดเสียชีวิตรวม 110,530 คน อัตราตาย 1.9% ตุรกี ติดเพิ่ม 5,955 คน รวม 5,342,028 คน ตายเพิ่ม 84 คน ยอดเสียชีวิตรวม 48,879 คน อัตราตาย 0.9%
อันดับ 6-10 เป็น รัสเซีย สหราชอาณาจักร อิตาลี อาร์เจนติน่า และโคลอมเบีย ติดกันหลักพันถึงหลักหมื่น รัสเซียติดเพิ่มกว่า 14,000 คน เป็นการขึ้นระลอกสามที่ถือว่ามีอัตราการติดเชื้อรายวันเร็วกว่าระลอกที่สอง จากเดิมไต่จากเก้าพันไปหมื่นสี่ใช้เวลาราว 13 วัน แต่ระลอกนี้ใช้เวลา 9 วัน คงต้องเอาใจช่วยให้คุมได้โดยเร็ว แถบอเมริกาใต้ แอฟริกา เอเชีย อย่างชิลี โบลิเวีย อุรุกวัย แอฟริกาใต้ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ศรีลังกา เนปาล และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพัน
แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็มีการติดเชื้อเพิ่ม ส่วนใหญ่อยู่หลักร้อย ยกเว้นยูเครน จอร์เจีย และมองโกเลียที่ยังหลักพัน ตอนนี้การระบาดของมองโกเลีย เป็นขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อวานติดเพิ่มอีกถึง 2,386 คน แถบตะวันออกกลาง ประเทศส่วนใหญ่ยังติดเพิ่มหลักร้อยถึงหลักพัน ยกเว้นอิหร่านที่เกินหมื่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน เวียดนาม และกัมพูชา ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนจีน ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และลาว ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่ฮ่องกงติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ
ภาพรวมตอนนี้ ทั่วโลกมีติดเชื่อต่อวันในหลักหมื่นอยู่ 6 ประเทศ หลักพัน 33 ประเทศ หลักร้อย 48 ประเทศ หลักสิบ 33 ประเทศ และต่ำกว่าสิบอีก 10 ประเทศ ยอดติดเชื้อรายวันของไทยเมื่อวานนี้ 3,000 คน เป็นอันดับที่ 18 ของโลก ใน 20 อันดับแรกที่มีจำนวนการติดเชื้อต่อวันสูงสุดตอนนี้ ประกอบด้วย 6 ประเทศจากเอเชีย 5 ประเทศจากยุโรป 4 ประเทศจากอเมริกาใต้ 2 ประเทศจากแอฟริกา 2 ประเทศจากตะวันออกกลาง 1 ประเทศจากอเมริกาเหนือ
หลายประเทศที่เคยมีประสบการณ์สู้การระบาดแบบยืดเยื้อ จะส่งผลกระทบต่อทั้งเรื่องสุขภาพของประชาชน และเศรษฐกิจสังคมอย่างมาก และมักหนีไม่พ้นต้องกลับมาตัดสินใจล็อกดาวน์นานกว่าที่ควรจะเป็น
สำหรับเรา การระบาดต่อเนื่องยาวนาน ดังที่เห็นจากระลอกสองตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่เคยย้ำมาหลายครั้งคือ ผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และเศรษฐกิจของคนจำนวนมาก ยากต่อการแก้ไขเยียวยา โดยแท้จริงแล้ว มาตรการคุมการระบาดที่เหมาะสมคือ การเข้มข้นล็อกดาวน์ในระยะสั้น 2-4 สัปดาห์ตั้งแต่แรก เพื่อตัดวงจรการระบาดให้ได้ แล้วผ่อนคลายให้สามารถทำมาหากิน ประกอบอาชีพได้ ดังที่เห็นในประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอื่นๆ
มาถึงสถานการณ์จุดนี้ หากไม่ได้ตัดวงจรการระบาด และมีการให้เปิดกิจกรรมต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความรู้ทางวิชาการ เราคงมีโอกาสสูงที่จะเห็นการติดเชื้อเพิ่มขึ้นในชุมชน ครัวเรือน ที่ทำงาน สถานประกอบกิจการระดับต่างๆ รวมถึงร้านอาหาร โรงอาหาร ศูนย์อาหาร และจากกิจกรรมท่องเที่ยวเดินทางตามที่ต่างๆ หากไม่ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด
ไม่ว่าจะตัดสินใจอย่างไร คงจะเป็นการดี หากเราทุกคนเตรียมตัวรับมือไว้ด้วยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ใส่หน้ากากนะครับ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า พกเจลหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ติดตัว ล้างมือบ่อยๆ ตะลอนน้อยๆ เจอคนน้อยๆ ใช้เวลาสั้นๆ อยู่ห่างมากๆ เลี่ยงการกินดื่มในร้านอาหาร โรงอาหาร ศูนย์อาหาร ซื้อกลับจะปลอดภัยกว่า คอยสังเกตอาการตนเองและครอบครัว หากไม่สบาย ให้แยกจากคนในบ้าน แล้วรีบไปตรวจรักษา ด้วยรักและห่วงใย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |