เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครมีมติเห็นชอบมาตรการผ่อนคลายการดำเนินการกิจการและกิจกรรมของ 5 สถานที่ 1.พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์สถาน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 2.สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ต่างๆ ห้ามใช้เพื่อสันทนาการอื่น ยกเว้นเดินและวิ่ง 3.คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม มีมาตรการป้องกันโรค ซึ่งถูกกำกับใกล้ชิดโดยแพทย์ 4.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (เฉพาะกิจการสปาเพื่อสุขภาพ, กิจการนวดเพื่อสุขภาพ) อนุญาตเฉพาะการนวดฝ่าเท้า 5.ร้านทำเล็บและร้านสัก ต้องสวมหน้ากากอนามัยได้ตลอดเวลา ห้ามกระทำบนใบหน้า
นับเป็นการผ่อนคลายให้กลับมาทำธุรกิจในรอบเกือบ 3 เดือน นับตั้งแต่มีการระบาดหนักตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งต้องยอมรับว่า ปัญหาของกิจการในขณะนี้คือ ปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง เพราะไม่สามารถทำมาค้าขายได้ตามปกติ นับเป็นความเดือดร้อนแบบเร่งด่วน ซึ่งตอนนี้มีการประเมินว่า จะมีธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยเฉพาะภาคบริการที่จะต้องล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก
ล่าสุด นายกสมาคมภัตตาคารก็ออกมายอมรับว่า ผู้ประกอบการอาหารก็กำลังประสบปัญหา ไม่มีทุนหมุนเวียนซื้อสินค้าหรือประคองแรงงาน ซึ่งหากไม่ได้รับความช่วยเหลืออาจจะมีร้านอาหารระดับแสนรายที่อาจจะต้องปิดตัว โดยประเด็นที่ทำให้ธุรกิจมีปัญหา เนื่องมาจากข้อจำกัดการเปิดร้าน หรือกำลังซื้อประชาชนไม่ได้มากขึ้น ก็ไม่ได้ส่งผลต่อผู้ประกอบการ ซึ่งไม่ได้เกิดเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร แต่เกิดขึ้นกับทุกธุรกิจ
นี่แค่เพียงธุรกิจร้านอาหารอย่างเดียว ยังไม่นับธุรกิจบริการอื่นๆ ที่จะต้องพึ่งลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งต้องยอมรับการแก้ปัญหาของรัฐบาลยังไม่ตรงจุด
อย่างกรณีการปล่อยกู้ซอฟต์โลน ที่ถูกเรียกกันว่า 'ซอฟต์โลนทิพย์' เพราะออกมา 2 รอบ รอบแรก 5 แสนล้านบาท แต่อนุมัติจริงแค่ 1.38 แสนล้านบาท หลายฝ่ายมองว่าประสบความล้มเหลว ส่วนรอบสอง ในชื่อ “สินเชื่อฟื้นฟู-พักทรัพย์พักหนี้” วงเงินสินเชื่อ 3.5 แสนล้านบาท ก็เพิ่งอนุมัติได้แค่หลักหมื่นล้าน
เรียกว่าได้รับการประคองธุรกิจด้วยการปล่อยกู้ซอฟต์โลนนั้น แทบจะไม่ได้ผลเลย สาเหตุหลักๆ มีหลายปัจจัยที่ไม่สำเร็จ ทั้งตัวธนาคารเอง ที่ก็ระมัดระวังการปล่อยกู้ หรืออย่างผู้กู้เองก็ระมัดระวังการกู้เช่นกัน เพราะก็ไม่มั่นใจเกี่ยวกับการทำธุรกิจในอนาคต
โดยทางสภาอุตสาหกรรมฯ หรือ ส.อ.ท. ยังระบุเลยว่า รัฐบาลจะต้องวางเป้าหมายในการช่วยเหลือใหม่ เพราะหากจะปล่อยเงินผ่านระบบธนาคารก็ควรจะตั้งเป้าหมายเป็นรายเอสเอ็มอี อย่าตั้งเป้าหมายเป็นจำนวนเงิน เพราะจะไปกระจุกกับผู้ประกอบการไม่กี่ราย ซึ่งนี่คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
ธุรกิจที่เดือดร้อนนั้นส่วนใหญ่เป็นรายเล็กและขาดสภาพคล่อง ซึ่งไม่ได้ต้องการวงเงินกู้ที่สูง แต่ต้องการผ่อนชำระที่ยืดหยุ่น ซึ่งหลักๆ ก็คงแค่ต้องการเงินมารักษาสภาพทางธุรกิจ การซื้อของ และการจ้างงานเท่านั้น
ส่วนการจะไปคาดหวังจากโครงการกระตุ้นกำลังซื้อ อย่างเราชนะ คนละครึ่ง บางทีมันก็ไม่ทันการณ์ และวงเงินที่รัฐสนับสนุนก็ไม่ได้สูงมาก ดังนั้นการช่วยทางด้านกำลังซื้อนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ทางเอกชน หรือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีคาดหวัง
สิ่งที่เขาคาดหวังจริงๆ ก็คือ การเยียวยาสภาพคล่องแบบให้เปล่า เหมือนที่หลายประเทศเขาทำกัน ซึ่งก็คืออุดหนุน หรือช่วยจ้างค่าจ้างให้พนักงาน เพื่อให้เจ้าของธุรกิจได้หายใจหายคอได้สะดวก ซึ่งเห็นรัฐบาลมีไอเดียจะช่วยธุรกิจกลุ่มนี้ ความจริงควรจะช่วยนานแล้ว เพราะกลุ่ม เอสเอ็มอี รายเล็ก รายกลาง นับเป็นกลุ่มที่ถูกทอดทิ้งมาตลอด ไม่ได้รับการเยียวยาใดๆ จากรัฐบาลเลย
ฉะนั้นหากไม่อยากเห็นการล้มหายตายจาก หรือการทำให้เกิดการว่างงานระดับสูง แนะนำว่า รัฐบาลควรเข้ามาเยียวยาโดยเร่งด่วน.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |