ปัจจุบันปัญหาคอร์รัปชันถือได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่ด้อยพัฒนา และการคอร์รัปชันได้กลายมาเป็นปัญหาที่มีความสําคัญที่สุดปัญหาหนึ่งของหลายประเทศ โดยปัญหานี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะหมดไป อีกทั้งยังทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อกล่าวถึงสังคมไทยแล้วนั้น ในสายตาของหลายๆ คนอาจจะมองได้หลายมุมมอง ไม่ว่าจะเป็นในแง่สังคมที่มีวัฒนธรรมอันดีงาม สังคมของการเอื้ออาทร สังคมของการอุปถัมภ์กัน เป็นต้น แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งแล้วสังคมไทยก็มีอีกหลายปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาโสเภณี เป็นต้น แต่มีปัญหาหนึ่งที่คนไทยอาจจะลืมนึกถึง หรือไม่ให้ความสำคัญต่อปัญหานี้มากเท่าที่ควร นั้นก็คือ “ปัญหาการคอร์รัปชัน”
สำหรับปัญหาการคอร์รัปชันหลายคนอาจจะมองว่าไม่สำคัญ เพราะอาจคิดว่าไม่ใช่ปัญหาของตัวเองบ้าง ไม่ใช่เรื่องใกล้ตัวบ้าง แต่หากย้อนกลับมาพิจารณาดูให้ดีแล้ว ปัญหาการคอร์รัปชันนี้นับว่าเป็นสิ่งที่เกี่ยวพันกับชีวิตของประชาชนอย่างเราๆ อย่างมากทีเดียว ซึ่งคำว่า ”คอร์รัปชัน” นั้น นิยามอาจตีความได้อย่างกว้างขวางมาก เช่น การทุจริต การฉ้อโกง การฉ้อราษฎรบังหลวง เป็นต้น โดยแต่ละความหมายล้วนให้ความหมายในเชิงแง่ลบทั้งสิ้น
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดการคอร์รัปชันนี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุ หลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ความยากจนของข้าราชการชั้นผู้น้อย การขัดกันของผลประโยชน์การทุจริตโดยนโยบาย ซึ่งในประเทศไทยปัญหาคอร์รัปชันมีมากมายแทรกเป็นยาดำไปเกือบทุกๆ องค์กร
แม้กระทั่งในองค์กรภาคเอกชน อย่างเช่นในภาคธุรกิจประกันภัยเองก็ยังคงมีการทุจริตคอร์รัปชันให้เห็นกัน ดังนั้น ไม่ว่าภาครัฐและเอกชน จึงควรสร้างสรรค์สังคมและร่วมขจัดปัญหาการคอร์รัปชันไปจากสังคมไทย โดยไม่ว่าจะเป็นจาก ”การปลูกฝั่งเยาวชน” ให้มีแนวความคิดที่รังเกียจ และต่อต้านการคอร์รัปชัน “สร้างค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต” ให้แก่สังคม เหล่านี้เองที่จะเป็นเส้นทางที่จะนำไปสู่การลดลงของปัญหาดังกล่าว และอาจทำให้ปัญหาดังกล่าวหมดไปจากสังคม
ล่าสุด หน่วยงานที่ควบคุมธุรกิจประกันภัย อย่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดย นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการสำนักงาน คปภ. ได้เปิดเผยถึงนโยบายของ คปภ. ว่า คปภ.ให้ความสำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับการกำกับคุณภาพของตัวแทน/นายหน้าประกันภัย ตั้งแต่กระบวนการก่อนการขาย การเสนอขายตลอดจนการให้บริการหลังการขาย อีกทั้งยังมีระบบการจัดอบรม การสอบ และการขอต่ออายุเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทน/นายหน้าประกันภัยที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ
โดยที่ผ่านมา คปภ.ได้ทำการเพิกถอนใบอนุญาตของคนกลางประกันภัยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2560 มีการเพิกถอนใบอนุญาตตัวแทน/นายหน้าประกันภัยประเภทบุคคลธรรมดาไปแล้วทั้งสิ้น 50 ราย โดยมีสาเหตุจากการรับชำระเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัย แต่ไม่นำส่งบริษัทประกันภัย การกระทำ การทุจริต การสอบ การชักชวน/ชี้ช่องให้ทำสัญญาประกันภัย โดยไม่อธิบายเงื่อนไข การยินยอมให้ผู้อื่นเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยโดยไม่มีใบอนุญาต
นอกจากนี้ ยังมีการปลอมรายมือในใบรับมอบกรมธรรม์ประกันภัย และมีการเพิกถอนใบอนุญาตนายหน้าประกันภัยประเภทนิติบุคคลจำนวน 1 บริษัท เนื่องจากมีนายหน้ากระทำการแทนน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ไม่ยื่นรายงานงบการเงิน/งบรายไตรมาส
และในปี 2561 นี้ สำนักงาน คปภ.มีนโยบายจะเพิ่มความเข้มข้นในการกำกับดูแลคนกลางประกันภัยซึ่งเป็นช่องทางที่สำคัญในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันภัย โดยจะมีการปรับปรุงกติกาในการขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย ตลอดจนระบบตรวจสอบการปฏิบัติงานของคนกลางประกันภัยเพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในกระบวนการขาย และการดูแลกรณีเกิดปัญหาเรื่องประกันภัย ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบและออกสุ่มตรวจสำนักงานตัวแทนและสำนักงานนายหน้าประกันภัย
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ทุกๆ คนในสังคมไม่ควรนิ่งดูดาย ปล่อยให้การทุจริตคอร์รัปชันมากัดกินและบ่อนทำลายสังคมไทยของเรา เพื่อที่เราชาวไทยจะได้พูดได้เต็มปากสักทีว่า "คนไทย โปร่งใส ไร้คอร์รัปชัน".
ศรยุทธ เทียนสี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |