ป.ป.ช.ตรัง พร้อมชมรมตรังต้านโกง ลงพื้นที่ตรวจสอบเสาไฟปติมากรรมหงส์ทองคำ หลังจากมีการร้องเรียนทางเฟสบุ๊ก เสาไฟหงส์ทองหายไปไหน โดยแจ้งว่าหายไปช่วงจัดงานประกวดเรือพระ ปี 2563 ซึ่งมองว่าเป็นการเอาเสาไฟประติมากรรมออกเพื่อผลประโยชน์แก่ผู้รับเหมาขายสินค้างานประกวดเรือพระ ทั้งที่ราคาสร้างต้นละ 1 แสน นำไปซุกใกล้บ่อขยะเทศบาลนครตรัง
14 มิ.ย.64- เมื่อเวลา 14.00 น. ที่บริเวณสนามกีฬาทุ่งแจ้ง เทศบาลนครตรัง ถ.ตรัง-สิเกา ต.บางรัก อ.เมืองตรัง นายราม วสุธนภิญโญ ผู้อำนวยการ ป.ป.ช.ตรัง พร้อมด้วยกรรมการชมรมตรังต้านโกง ได้เข้าตรวจสอบเสาไฟฟ้าปติมากรรมหงส์ทองคำ เทศบาลนครตรัง ซึ่งได้มีการก่อสร้างเมื่อปี 2546 บนเกาะกลางถนนคู่ขนานยาวประมาณ 600 เมตร งบประมาณทั้งสิ้น 15.5 ล้านบาท โดยแยกไปก่อสร้างเสาไฟฟ้าประติมากรรม มีรูปหงส์ทองคำ ที่ยอดเสา ราคาต้นละ 100,000 บาท จำนวน 30 ต้น รวม 3 ล้านบาท ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อสมัยอดีตนายชาลี กางอิ่ม เป็นนายกเทศมนตรีสมัยนั้น ท่ามกลางการคัดค้านของชาวบ้าน เนื่องจากเห็นว่ามีราคาสูงเกินไป และในช่วงนั้นถนนที่สร้างปติมากรรมหงส์ทองคำ เทศบาลนครตรัง เป็นเพียงถนนเพื่อเข้าสู่บ่อทิ้งขยะของเทศบาลเท่านั้น ยังไม่มีสิ่งปลูกสร้างใดๆสมัยนั้น สองข้างถนนเป็นกองขยะตลอดสาย
ทั้งนี้ตามที่มีชาวบ้านร้องเรียนทางเฟสบุ๊ก ได้เปิดเผยว่าเสาไฟฟ้าประติมากรรมหงส์ทองคำ ได้ถูกนำออกไปเมื่อช่วงมีงานจำหน่ายสินค้าประกวดเรือพระ ปี 2563 และเมื่อเสร็จสิ้นงานจำหน่ายสินค้าประกวดเรือพระ ก็ไม่มีการนำมาติดตั้งให้เหมือนเดิม เพื่อสร้างความสวยงาม และคุ้มค่ากับราคาที่สูงถึงต้นละ 100,000 บาท จึงอยากเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบ ว่าใครเป็นผู้อยู่เบื้องนำเสาประติมากรรมหงส์ทองคำออกไปจากถนนสายดังกล่าว
ต่อมาทางเทศบาลนครตรัง ได้ลงพื้นที่ร่วมกับ ป.ป.ช.ตรัง นำโดยนายวัลลภ ช่วยบำรุง ปลัดเทศบาลนครตรัง เพื่อชี้แจงถึงการร้องเรียนเสาไฟฟ้าประติมากรรมหงส์ทองคำหายไฟไหน และการที่ ป.ป.ช.ตรัง ชมรมตรังต้านโกง ลงพื้นที่ตรวจสอบ ถึงเหตุผลที่มีการรื้อถอนเสาไฟฟ้าว่าได้ใช้งานคุ้มค่า ประเมินราคาการก่อสร้าง รวมทั้งมีความจำเป็นในการใช้งบประมาณหรือไม่ ที่สำคัญ คือ ราคาการก่อสร้างแพงเกินความเป็นจริงหรือไม่
ต่อมา ปลัดเทศบาลนครตรัง ได้นำ ป.ป.ช.ตรัง และกรรมการตรังต้านโกง ดูสภาพของฐานติดตั้งเสาไฟฟ้าปติมากรรมหงส์ทองคำ เป็นถนนมีเกาะติดกลาง ติดกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดตรัง (สตง) แต่ไม่ได้การตรวจสอบด้วยในครั้งนี้ ซึ่งมีเพียงฐานเสาไฟฟ้ายังเหลือให้เห็น ส่วนเสาไฟฟ้าปติมากรรมหงส์ทองคำได้ถูกไปไปเก็บไว้ พื้นที่กองช่างเทศบาลนครตรัง ใกล้บ่อขยะเทศบาลนครตรัง มีสภาพชำรุดแตกหัก มีการชี้แจงว่า รอจำหน่ายเป็นเศษเหล็กต่อไป
นายวัลลภ ช่วยบำรุง ปลัดเทศบาลนครตรัง กล่าวว่า ในการถอดถอนเสาในปี 62 นั้น ที่ได้ถอดถอนเพราะชำรุดกลัวจะเป็นอันตรายต่อบุคคลทั่วไป หลังจากนี้ก็ต้องจำหน่ายตามระเบียบพัสดุ ซึ่งต้องแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตั้งราคากลางจำหน่ายต้นเท่าไหร่ อย่างไร ตามระเบียบพัสดุ ในส่วนที่มีประชาชนออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าการถอดถอนเสาเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับงานมหกรรมสินค้านั้น ในช่วงปี 62 ตอนมีตลาดสินค้ายังมีเสาอยู่ แต่หลังจากมีโควิดก็ไม่มีตลาดสินค้าแล้ว คงไม่มีการเอื้อประโยชน์ให้ผู้รับเหมาจัดงาน ซึ่งการจัดซื้อจัดจ้างเป็นงบประมาณเหมารวมกับถนน งบ 15.5 ล้านบาท เมื่อปี 2546 ราคาต้นละ 1 แสนบาท ซึ่งจะมีการติดตั้งใหม่หรือไม่ต้องอยู่ที่นโยบายของผู้บริหารชุดใหม่ หากผู้บริหารชุดใหม่มองเห็นว่าถนนสายนี้มีความสวยงาม มีส่วนราชการเข้ามาก่อสร้างสำนักงาน ผู้บริหารก็คงพิจารณาจัดสร้างหรือไม่ในเรื่องของปติมากรรมไฟฟ้า ถ้าถามว่าได้ผลประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่นั้น ก็ถือว่าเป็นความสวยงามส่วนหนึ่งของจังหวัดตรัง เทศบาลนครตรังมีความสวยงาม เพราะการติดตั้งเสาไฟเป็นความสวยงามและเป็นประติมากรรมอย่างหนึ่ง เป็นความสวยงามที่เกิดขึ้นทางสิ่งแวดล้อม ภูมิศาสตร์ของประเทศ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |