ก้าวไกลกระตุกเพื่อน ส.ส. อย่าติดบ่วง'ต่ออายุ' ให้ 'ประยุทธ์' ด้วยการหนุนแก้รธน. ฉบับ พปชร.


เพิ่มเพื่อน    

 

13 มิถุนายน 2564 ที่พรรคก้าวไกล นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล พร้อมด้วย นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ในฐานะรองเลขาธิการพรรคก้าวไกล ร่วมแถลงความเห็นต่อร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับพลังประชารัฐและข้อเสนอต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในสถานการณ์ปัจจุบัน

นายชัยธวัช กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ พปชร. คือการต่ออายุระบอบ คสช. หัวใจของวิกฤตรัฐธรรมนูญในปัจจุบันคือ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ของ คสช. เป็นการออกแบบระบบการเมืองให้มีการเลือกตั้งบังหน้า แต่สร้างกลไกต่างๆ โดยเฉพาะการให้อำนาจสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการคัดสรรของ คสช. ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย เพื่อสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร ส่งผลให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังเลือกตั้งได้ โดยขัดแย้งกับเสียงและเจตจำนงของประชาชนส่วนใหญ่ที่ต้องการกลับสู่ระบอบประชาธิปไตย

วิกฤตรัฐธรรมนูญดังกล่าวทำให้สังคมเรียกร้องต้องการให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยประชาชน แต่ที่ผ่านมาพรรคพลังประชารัฐ แกนนำรัฐบาลของระบอบประยุทธ์ ได้เตะถ่วงและขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 60 เพื่อตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญและการแก้ไขประเด็นอื่นๆ ทั้งที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและโดยประชาชนมาโดยตลอด ทว่าปัจจุบันกลับมาแสดงบทบาทนำในการเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราเสียเอง ซึ่งพรรคก้าวไกลมีความเห็นต่อข้อเสนอของพรรคพลังประชารัฐ พปชร. ดังนี้

ข้อเสนอเเรก การเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของพรรคพลังประชารัฐ  ซึ่งครอบคลุมหลายประเด็นหลายมาตรา แม้จะมีเนื้อหาปลีกย่อยบางส่วนดูเหมือนจะดี เช่น การแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่โดยเนื้อแท้แล้ว การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายมาตราเป็นเพียงการทำให้เกิดความสับสน ปะผุให้แก่รัฐธรรมนูญฉบับ คสช. แล้วเบี่ยงประเด็นออกจากปัญหาใจกลางของวิกฤตรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้แก่ การยกเลิกรัฐธรรมนูญ 60 ที่ให้ประชาชนจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เอง และการยกเลิกอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการสืบทอดอำนาจคณะรัฐประหาร

ข้อเสนอต่อมา ท่ามกลางข้อเสนอแก้ไขหลายมาตรา เป้าหมายที่แท้จริงของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับ พปชร. มีเพียงสองประการ 

“ประการแรก คือ แก้ไขระบบเลือกตั้ง ซึ่ง คสช. เชื่อมั่นว่า การเสนอแก้ไขระบบเลือกตั้งจะเป็นขนมล่อให้นักเลือกตั้งจำนวนมากสนับสนุน พปชร. และหากเปลี่ยนไปใช้ระบบการเลือกตั้งแบบคู่ขนานได้ โดยมี ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งเพิ่มขึ้นเป็น 400 คน และลด ส.ส. บัญชีรายชื่อลงเหลือ 100 คนนั้น จะทำให้ พปชร. ได้เปรียบในการเลือกตั้ง ซึ่งขนาดเขตเลือกตั้งที่เล็กลง ง่ายต่อการเอาชนะเลือกตั้งโดยอาศัยอำนาจรัฐ อำนาจเครือข่ายอิทธิพล และอำนาจทุน ประกอบกับเมื่อไม่ต้องนำเสียงของประชาชนทุกเสียงมาคำนวณจำนวน ส.ส. พึงมีของแต่ละพรรคการเมืองแล้ว เสียงของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งไม่ต้องการให้ พล.อ. ประยุทธ์กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก ก็จะกลายเป็นคะแนนตกน้ำ เป็นเสียงที่ไม่มีความหมาย

ประการที่สอง คือ การเสนอแก้บทบัญญัติมาตรา 144 โดยยกเลิกเนื้อหาความรับผิดของ ส.ส. และ ส.ว. ที่พยายามแปรญัตติเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมรายการหรือจํานวนในรายการของร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่าย และการเสนอแก้บทบัญญัติมาตรา 185 โดยยกเลิกเหตุแห่งความรับผิดของ ส.ส. และ ส.ว.ที่กระทำการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติราชการหรือการดําเนินงานในหน้าที่ประจําของเจ้าหน้าที่รัฐ และการเข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้จ่ายเงินงบประมาณหรือให้ความเห็นชอบในการจัดทําโครงการใดๆ ของหน่วยงานของรัฐ เป็นการเปิดช่องให้ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล สามารถเข้าไปเบียดบังงบประมาณจากภาษีของประชาชนมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวได้"

นายชัยธวัช กล่าวต่อไปว่า โดยสรุป การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญของ พปชร. มีเป้าหมายที่แท้จริงอยู่ที่การเบี่ยงเบนประเด็นออกจากการจัดทำรัฐธรรมใหม่ทั้งฉบับ, การแก้ระบบเลือกตั้งให้ตนเองได้เปรียบ โดยไม่ยกเลิกอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรี, และการเปิดช่องให้ฝ่ายรัฐบาลเข้าไปเบียดบังนำงบประมาณของประเทศมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองนั้น จึงเป็นเพียง 'การต่ออายุ' ให้แก่ระบอบ คสช.

“ด้วยเหตุนี้ พรรคก้าวไกลจึงขอเรียกร้องไปยังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพรรคการเมืองทั้งหลาย อย่าได้ร่วมสังฆกรรมกับละครแก้รัฐธรรมนูญฉากนี้ของพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งไม่ได้นำประเทศออกจากวิกฤตรัฐธรรมนูญ ไม่ได้นำไปสู่การคืนอำนาจให้ประชาชน ไม่นำไปสู่อะไรเลยนอกจากการปูทางให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย “ ชัยธวัช กล่าว 

ในส่วนของข้อเสนอในการแก้ไขรัฐธรรรมนูญฉบับพรรคก้าวไกล ชัยธวัช กล่าวว่า พรรคก้าวไกลขอเรียกร้องให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพรรคการเมืองทั้งหลาย หันกลับมาสู่แนวทางของการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดย ส.ส.ร. ที่มาจากเลือกตั้งของประชาชน โดยเริ่มต้นจากการผลักดันให้ร่าง พ.ร.บ. การออกเสียงประชามติ ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาโดยเร็วที่สุด จากนั้นจึงผลักดันให้เกิดการลงประชามติขอความเห็นชอบของประชาชน ผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ เพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ คสช. และจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยผ่านการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่มีการจำกัดอำนาจสูงสุดของประชาชน

"พรรคก้าวไกลขอคัดค้านหากจะมีการตกลงกันให้เตะถ่วงการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ออกเสียงประชามติที่ค้างอยู่ แล้วเลื่อนวาระการแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญรายมาตรา มาพิจารณาก่อนในการประชุมร่วมของรัฐสภา ซึ่งน่าจะมีขึ้นภายในเดือนนี้  การเปิดทางไปสู่การทำประชามติยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2560 ต้องมาก่อนการแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา

สำหรับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญรายมาตรานั้น ในสถานการณ์ปัจจุบัน พรรคก้าวไกลเห็นว่า ต้องมุ่งเน้นไปที่ 'การปิดสวิตช์ ส.ว.' ยกเลิกอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรีก่อนเป็นอันดับแรก ความพยายามในการแก้ไขระบบเลือกตั้งหรือการแก้ไขในประเด็นปลีกย่อยอื่นๆ ที่ดูดี แต่ไม่ปิดสวิตช์ ส.ว. ย่อมไม่มีความหมายต่อการยุติการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร

การไปร่วมเล่นเกมแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราที่ พปชร. นำมาล่อ โดยไม่สามารถยกเลิกอำนาจเลือกนายกฯ ของ ส.ว. ย่อมมีความหมายเพียงการช่วย 'ต่ออายุ' พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เท่านั้น โดยพรรคก้าวไกลขอให้ 'ผู้แทนราษฎร' ทั้งหลาย ร่วมมือกับประชาชน ยุติรัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหาร ยุติการต่ออายุ คสช. คืนอำนาจให้ประชาชนอย่างแท้จริง “ 

ทั้งนี้ ชัยธวัช กล่าวต่อไปว่า การยกเลิกอำนาจ ส.ว.เป็นเรื่องยาก เเต่มีความเป็นไปได้โดยเฉพาะการลงประชามติเพื่อถามประชาชนก่อน ไม่มีเหตุผลใด หากพรบ.ประชามติผ่านการพิจารณา เมื่อประกาศบังคับใช้สามารถประกาศใช้ได้เร็ว ภายในปีนี้  และการผลักดันทำให้เกิดการลงประชามติก่อนการตั้งสสร. จะเป็นหลักประกันสำคัญหากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นยุบสภา โดยอาจจะทำประชามติ พร้อมกับเลือกตั้งทั่วไปได้  หรือ หากรัฐบาลลาออก รัฐบาลที่ทำหน้าที่ชั่วคราวหลังจากนั้น ก็สามารถที่จะทำประชามติได้  นี่เป็นเส้นทางที่มีความมั่นคงเเน่นอนกว่า  ซึ่งในวันพรุ่งนี้ ( 14 มิ.ย. 64 ) จะมีการประชุมประจำสับดาห์ของพรรคร่วมฝ่ายค้าน พรรคก้าวไกล จะเสนอข้อเสนอของพรรคเข้าสู่ที่ประชุมด้วย ทั้งในข้อเสนอการทำประชามติกับการแก้รายมาตราที่ให้ความสำคัญอันดับเเรกการแก้ไขยกเลิกมาตรา 272 ในการยกเลิก ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรี และพรรคก้าวไกลไม่ได้เห็นด้วยกับระบบเลือกตั้งปี 2560 เรามีข้อเสนอเกี่ยวกับระบบเลือกตั้งที่ควรจะเป็น  โดยเราอยากเสนอให้ยกเลิกวุฒิสภาไปเลยให้มีสภาเดี่ยว เราอยากปฏิรูปสถาบันตุลาการ ทุกองค์กรอิสระศาลรัฐธรรมนูญ ให้ยึดโยงกับอำนาจของประชาชน สามารถตรวจสอบถ่วงดุลได้

ขณะที่ รังสิมันต์ โรม รองเลขาธิการพรรคก้าวไกล กล่าวว่า มีประเด็นที่สำคัญในการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระเเรก ที่ต้องอาศัยเสียงของสมาชิกวุฒิสภา จุดนี้เป็นสิ่งสำคัญเพราะว่า ส.ว.ไม่มีความชอบธรรมอะไรเลย เเละเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นปัญหาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เนื่องจากส.ว.ไม่ได้มามากจากการเลือกตั้งของประชาชน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่างหากที่เป็นตัวเเทนของพี่น้องประชาชนโดยเเท้จริง

“ในส่วนของพรรคก้าวไกล เราไม่คิดว่าการแก้รัฐธรรมนูญที่ทำอยู่เป็นการแก้วิกฤตที่เกิดขึ้น ทั้งที่มาของ ส.ว. อำนาจ ส.ว.ในการเลือกนายกฯ ปัญหาองค์กรอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญ และปัญหาอีกจำนวนมากทำให้เรามาสู่วิกฤตในปัจจุบัน 
การแก้รัฐธรรมนูญเพียงเเค่เพื่อเเก้ ระบบเลือกตั้ง มาตรา 144 และเเก้เพื่อสิทธิ์บางอย่าง ไม่ได้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาการแก้รัฐธรรมนูญอย่างเเท้จริง เราคิดว่าการแก้แบบนี้เป็นการสมคบคิดทำลายเสียงของประชาชน เเละทำให้เสียงของประชาชนตกน้ำ  ซึ่งคงไม่ใช่ทางออกของประเทศนี้ที่จะเป็นสังคมประชาธิปไตยที่เข้มเเข็ง  เราในฐานะ ส.ส.เเละพรรคการเมืองที่ยืนหยัดเพื่อพี่น้องประชาชน เรามีหน้าที่ที่จะหยุดกระบวนการนี้ และเราจะใช้กลไกในรัฐสภา เดินหน้าจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อเป็นรัฐธรรมนูญเพื่อพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง” รังสิมันต์ กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"