หมอธีระ เตือนเลิกหลอกตัวเอง 'ควบคุมโควิดได้'


เพิ่มเพื่อน    

 

13 มิ.ย. 2564  ศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat  โดยมีข้อความว่า 

สถานการณ์ทั่วโลก 13 มิถุนายน 2564...เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 344,931 คน รวมแล้วตอนนี้ 176,378,275 คน ตายเพิ่มอีก 9,455 คน ยอดตายรวม 3,809,964 คน

5 อันดับแรกที่มีจำนวนติดเชื้อต่อวันสูงสุดคือ บราซิล อินเดีย โคลอมเบีย อาร์เจนตินา และรัสเซีย

อเมริกา เมื่อวานติดเชิ้อเพิ่ม 8,194 คน รวม 34,314,640 คน ตายเพิ่ม 302 คน ยอดเสียชีวิตรวม 615,034 คน อัตราตาย 1.8% 

อินเดีย ติดเพิ่ม 65,973 คน รวม 29,424,006 คน ตายเพิ่ม 3,071 คน ยอดเสียชีวิตรวม 370,168 คน อัตราตาย 1.3% 

บราซิล ติดเพิ่ม 75,778 คน รวม 17,376,998 คน ตายเพิ่มถึง 2,008 คน ยอดเสียชีวิตรวม 486,358 คน อัตราตาย 2.8% 

ฝรั่งเศส ติดเพิ่ม 3,972 คน ยอดรวม 5,737,810 คน ตายเพิ่ม 34 คน ยอดเสียชีวิตรวม 110,407 คน อัตราตาย 1.9%

ตุรกี ติดเพิ่ม 6,076 คน รวม 5,325,435 คน ตายเพิ่ม 75 คน ยอดเสียชีวิตรวม 48,668 คน อัตราตาย 0.9% 

อันดับ 6-10 เป็น รัสเซีย สหราชอาณาจักร อิตาลี อาร์เจนติน่า และสเปน ติดกันหลักพันถึงหลักหมื่น

รัสเซีย ล่าสุดติดเพิ่มถึง 13,510 คน เกินหมื่นคนต่อวันติดต่อกันมาตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2564 กำลังขึ้นระลอกสาม ตายเพิ่มถึง 399 คน ล่าสุดทางมอสโคว์ได้ออกมาตรการจำกัดการเคลื่อนไหวของประชากรตลอดสัปดาห์หน้า เพื่อหวังจะคุมการระบาดให้ได้

แถบอเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย อย่างโคลอมเบีย ชิลี โบลิเวีย เนเธอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ศรีลังกา ญี่ปุ่น เนปาล และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลักหมื่น 

แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็มีการติดเชื้อเพิ่ม ส่วนใหญ่อยู่หลักร้อย ยกเว้นยูเครน คาซักสถาน มองโกเลีย ที่ยังหลักพัน 

ฃตอนนี้ลักษณะการระบาดของมองโกเลีย เป็นขาขึ้นของระลอกสองอย่างชัดเจน จำนวนการติดเชื้อสูงสุดต่อวันมากกว่าระลอกแรกไปแล้วตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา และสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อวานติดเพิ่ม 1,792 คน

แถบตะวันออกกลาง ประเทศส่วนใหญ่ยังติดเพิ่มหลักร้อยถึงหลักพัน

เกาหลีใต้ ไต้หวัน เวียดนาม และกัมพูชา ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนจีน ลาว และสิงคโปร์ ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่ออสเตรเลียติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ

...จากการแพร่ระบาดมากขึ้นของสายพันธุ์เดลต้า B.1.617.2 ที่ค้นพบครั้งแรกที่อินเดีย ล่าสุดทางรัฐออนตาริโอ้ของแคนาดาออกคำสั่งให้ร่นระยะเวลาการฉีดวัคซีน Astrazeneca เข็มสอง จากเดิม 12 สัปดาห์ให้คนมารับ ณ 8 สัปดาห์ เพื่อหวังจะให้มีภูมิคุ้มกันสู้กับเชื้อโรคได้ ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถให้เลือกรับวัคซีน mRNA เป็นเข็มสองแทนได้ด้วยเพราะมีหลักฐานในการกระตุ้นภูมิได้ดีขึ้นจากคำแนะนำของ the National Advisory Committee on Immunization (NACI)

...สำหรับสถานการณ์ในไทยเรา ขอย้ำว่านโยบายและมาตรการต่างๆ นั้นจำเป็นต้องไตร่ตรองให้ดี 

ท่ามกลางการระบาดรุนแรง ติดกันหลายพันคนต่อวัน ตายหลายสิบคนต่อวัน ติดต่อกันมานานหลายเดือน คำจำกัดความของวลี"ควบคุมได้" คงไม่ต่างอะไรกับคำว่า "เอาอยู่" ซึ่งเราคุ้นเคยกันดี

ต้องระวังการแปลวลีด้วยความประมาท เพราะจะไม่ต่างอะไรกับการมองเสือว่าเป็นแมว มองยาพิษว่าเป็นน้ำหวาน หรือเห็นกงจักรเป็นดอกบัว

ประเทศต่างๆ ทั่วโลกนั้น หลายประเทศสามารถควบคุมการระบาดได้ดี โดยเค้าหมายถึงการกดการระบาดลงให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผ่านการใช้มาตรการล็อคดาวน์ จำกัดการเคลื่อนที่ของประชากร เพราะเค้าทราบและใช้ความรู้ทางกา

แพทย์ที่พิสูจน์ได้ว่า โรคมันติดต่อกัน เพราะคนมาพบปะกันใกล้ชิด แออัด เจอกันบ่อย มีปฏิสัมพันธ์กันเป็นเวลานาน และไม่เคร่งครัดในการป้องกัน 

และวัดผลลัพธ์กันโดยดูว่า จำนวนติดเชื้อมันลดลงจริงหรือเปล่า ตายน้อยลงหรือเปล่า นั่นจึงแปลว่า"ควบคุมได้" หรือ "เอาอยู่"

แต่หากที่ใด มองว่าติดหลายพันต่อวัน ตายหลายสิบต่อวัน คงที่มาตลอดหลายเดือน แปลว่า "ควบคุมได้" หรือ "เอาอยู่" ทั้งๆ ที่มันไม่ได้ดีขึ้น และทั้งบุคลากรทางการแพทย์ก็ทำงานกันอย่างลำบากหนักหนาสาหัสต่อเนื่อง รวมถึงประชาชนก็ตกระกำลำบาก อยู่กับสถานการณ์อึมครึม ครึ่งๆ กลางๆ จนทำให้สายป่านที่มี ขาดสะบั้นไปเรื่อยๆ โดยไม่เห็นแสงสว่าง ณ ปลายอุโมงค์...ถึงจุดนั้น คงต้องกลับมาคิดทบทวนให้ดีว่า คำแปลนั้นมันน่าจะผิดเพี้ยน และเกิดจากมายาคติหรือไม่
...ใกล้กัน
...เจอคนเยอะ
...เจอคนบ่อย
...อยู่กับคนอื่นเป็นเวลานาน
...ไม่ป้องกันตัว (ไม่ใส่หน้ากาก ไม่ล้างมือ ไม่สบายแต่ยังตะลอนโต๋เต๋หรือทำงาน)

5 ประการนี้คือปัจจัยเสี่ยงหลักที่จะทำให้เกิดการแพร่เชื้อติดเชื้อกัน

การได้วัคซีนนั้นลดความเสี่ยงของการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต มากน้อยกันไปแล้วแต่ชนิดของวัคซีน

แม้ได้วัคซีนไปแล้ว ก็ยังอาจติดเชื้อได้ และแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่นได้ ทั้งคนในครอบครัว และเพื่อนฝูง หรือแม้แต่ลูกค้าประชาชนที่มาพบปะซื้อขายสินค้าหรือบริการต่างๆ

ดังนั้น หากในพื้นที่ที่มีการระบาดหนัก มีการเปิดกิจการต่างๆ ที่มีโอกาสเกิดปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ขอให้ทั้งเจ้าของกิจการ ผู้ให้บริการ และลูกค้าประชาชนที่ไปใช้บริการ ระมัดระวังตัว ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะได้หรือไม่ได้รับวัคซีนแล้วก็ตาม

ยามระบาดหนัก หากไม่สามารถตัดวงจรการระบาดจนเอาอยู่หรือควบคุมได้จริง แล้วดันไปเปิดให้เกิดกิจกรรมที่ใกล้กัน เจอกันบ่อย สัมผัสกันนาน ก็จะมีโอกาสเกิดการระบาดหนักตามมาได้

เฉกเช่นเดียวกับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา แม้พยายามจะทำเป็นระบบปิด และคัดกรองอย่างดี แต่ปัจจัยเสี่ยงหลักนั้นคือ จำนวนคนที่เข้ามา ย่อมกระตุ้นให้เกิดการค้าขายและบริการต่างๆ มากขึ้น ที่จะทำให้เกิดผลกระทบจา

กิจกรรมต่างๆ เหล่านั้น ที่จะกระตุ้นให้เกิดการระบาดมากขึ้น เพราะการติดเชื้อภายในประเทศยังกระจายและเป็นไปอย่างต่อเนื่องนั่นเอง 

บอกตรงๆ ว่าไม่อยากให้เกิดภาพแบบ The Table Mountain with a Big Volcano on Top เพราะหากเกิดขึ้น ผลกระทบจะมากมายและยาวนาน

เป็นกำลังใจให้ทุกคน ร่วมแรงร่วมใจ มีพลังในการป้องกันตัวและครอบครัวจากภัยโรคระบาดนี้

ด้วยรักและห่วงใย

อ้างอิง

Ontario shortens wait between AstraZeneca doses from 12 to 8 weeks. CBC News. 12 June 2021.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"