วันสุขบัญญัติแห่งชาติประจำปี 2564 รณรงค์ “รักใครให้ชวนฉีดวัคซีน”


เพิ่มเพื่อน    

 

รณรงค์ “รักใครให้ชวนฉีดวัคซีน” วันสุขบัญญัติแห่งชาติประจำปี 2564 ไทยรู้สู้โควิดนำโดย สสส.-ยท.  กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สธ. ภาคีเครือข่าย ดร.สาธิตเปิดใจรับฟังเสียงคนรุ่นใหม่ พร้อมปกป้องครอบครัวจาก COVID-19 ดึงยุว อสม.ปูพรมลงพื้นที่สื่อสารข้อมูลวัคซีนที่ถูกต้อง ลดการส่งต่อข่าวลวง Fake News เน้นชวนกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุเข้ารับวัคซีนโดยเร็ว เลขาธิการ ยท.ฟันธงเด็กส่วนใหญ่มีความตื่นตัวต่อปัญหาโควิด-19 เพราะพ่อแม่เดือดร้อนมาก เด็กหลายคนเลิกบุหรี่ได้ในช่วงโควิดเพราะรักตัวเองมากขึ้น

 

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  (สสส.) ร่วมกับสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย (ยท.) และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จัดเสวนาออนไลน์เตรียมความพร้อมกับคนรุ่นใหม่ “รักใครให้ชวนฉีดวัคซีน” ผ่านทางเฟซบุ๊ก กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และภาคีเครือข่าย เนื่องในวันสุขบัญญัติแห่งชาติประจำปี 2564 เมื่อเวลา 17.30 น. วันที่ 27 พฤษภาคม 2564

 

 

ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คนที่ 1 กล่าวว่า รัฐบาลมีมาตรการเร่งฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนเป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่จะมีส่วนช่วยสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงซึ่งมีเป็นจำนวนมาก และตลอดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

ที่ผ่านมามีผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงที่อยู่ในบ้านพักตนเองติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จากบุตรหลานที่ออกไปประกอบอาชีพนอกบ้านเป็นจำนวนมาก และสำหรับกรณีคนรุ่นใหม่ที่มีความกังวลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีอยู่ในประเทศไทยขณะนี้ อยากให้รับทราบว่าวัคซีนทุกชนิดทั่วโลกเป็นวัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในสภาวะฉุกเฉิน และมีการวิจัยถึงประสิทธิภาพไม่นานมาก ดังนั้นการได้รับวัคซีนให้เร็วที่สุดตามกลุ่มเสี่ยงต่างๆ จะสามารถลดความรุนแรงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด

 

“ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขยืนยันรับฟังความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่มาโดยตลอด ซึ่งปัจจุบันมีการเร่งรัดจัดหาวัคซีนที่มีความหลากหลายและเหมาะสมกับช่วงวัยไว้แล้ว สามารถดำเนินการฉีดวัคซีนให้คนรุ่นใหม่ได้ทันทีเมื่อวัคซีนมาถึงและผ่านขั้นตอนต่างๆ ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยระหว่างนี้จึงอยากขอความร่วมมือคนรุ่นใหม่ทุกคนทำหน้าที่เป็นยุว อสม. หรือเป็นผู้พิทักษ์สุขภาพของครอบครัว ด้วยการให้ข้อมูลที่ถูกต้องพร้อมเชิญชวนผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในครอบครัวมาลงทะเบียนรับวัคซีนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อลดความเสี่ยงการเสียชีวิต หรือการเจ็บป่วยรุนแรงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่นี้" ดร.สาธิตกล่าว

 

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า กรมสนับสนุนบริการสุขภาพร่วมกับสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายคนทำงานด้านเด็กและเยาวชน ดำเนินการจัดให้มีระบบยุวอาสาสมัครสาธารณสุข หรือยุว อสม.ประจำพื้นที่ต่างๆ ซึ่งเป็นแกนนำเด็กและเยาวชนที่อยู่ทั้งในระบบและนอกระบบสถานศึกษาต่างๆ นับเป็นคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของชาติที่จะสามารถช่วยให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตินี้ได้ โดยมุ่งให้ยุว อสม.ทำหน้าที่เป็นนักสื่อสารสุขภาพ นำแนวทางสุขบัญญัติในข้อ 10 คือ “มีสำนึกต่อส่วนรวม ร่วมสร้างสรรค์สังคม” ภายใต้คำขวัญ “ยุว อสม.ชวนครอบครัวทั่วไทยพร้อมใจฉีดวัคซีน” โดยทำบทบาทตามหลัก 3 ช.คือ ช.ที่ 1 ชี้แจงความปลอดภัยและประโยชน์ของวัคซีน ช.ที่ 2 ชักชวนการลงทะเบียนเพื่อไปฉีดวัคซีนแก่คนในครอบครัว และ ช.ที่ 3 ช่วยเหลือการลงทะเบียนและติดตามผลหลังการฉีดวัคซีน นอกจากนี้ ยุว อสม.ยังเป็นขุมพลังที่ช่วยสื่อสารให้เพื่อนนักเรียนบอกต่อกับคนในครอบครัวตนเองและคนรอบข้าง ให้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อให้คนไทยทุกคนปลอดภัยยิ้มอย่างมีความสุข พร้อมต้อนรับการเปิดประเทศกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วอีกด้วย

 

 

พชรพรรษ์ ประจวบลาภ เลขาธิการสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย (ยท.) ให้สัมภาษณ์ว่า สถาบันยุวทัศน์ฯ ทำแคมเปญดีๆ เกี่ยวกับโควิด-19 เราถูกตราหน้าว่ารับเงินรัฐบาล ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้รัฐบาลมาหลอกลวงเด็กว่าวัคซีนดี ขณะนี้สมาคมยุวทัศน์ฯ ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยเอกชน 5 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, มหาวิทยาลัยสยาม, มหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต   “ผมขอบอกว่าในความเป็นเด็ก เขามีตัวตน การทำงานเรื่องโควิดเป็นเรื่องยาก การชี้แจงกับเด็กเข้าใจยากกว่าการชี้แจงให้ผู้ใหญ่ ส่วนหนึ่งเพราะผู้ใหญ่มีประสบการณ์ กลัวเจ็บ กลัวตาย เขาเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน

 

“คุณตาคุณยายของผมฉีดยาวันที่ 16 มิ.ย. ส่วนผมฉีดซิโนแวคเข็มแรกไปแล้ว เนื่องจากผมทำงานกับกระทรวงสาธารณสุข อยู่กับกลุ่มเสี่ยง เยาวชนที่อยู่ในชุมชน ผมกำลังจะฉีดเข็มที่ 2 ประสบการณ์ที่ฉีดวัคซีนเข็มแรกนั้นผมปวดแขนมาก นอนหลับสนิทถึง 12 ชั่วโมง เพื่อนๆ ผมก็นอนยาว วันรุ่งขึ้นทุกคนตื่นสายกันหมด  ไม่มีใครแพ้ยาแต่อย่างใด แม้แต่เพื่อนที่อ้วนที่สุด เพราะฉะนั้นหลังฉีดวัคซีนวันรุ่งขึ้นควรจะพักผ่อน”

 

ขณะนี้เครือข่ายเยาวชนในโรงเรียนเป็น Gen Z ทำงานรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ใน จ.อุบลราชธานี, เพชรบูรณ์, ภูเก็ต มีการจับมือกับยุว อสม.ทำงานสุขภาพในจังหวัด คาดว่ายุว อสม.จะเป็นจริงได้ในเดือน ต.ค.หรือ พ.ย. "พี่ชายฝาแฝดของผม เมธชนนท์ ประจวบลาภ ทำงานเป็น ผอ.โรงเรียนเซนต์จอห์น ดอนบอสโก พระราม 2  ก่อนหน้านี้เป็นรอง ผอ.รร.จุฑารัตน์ หนองเสือ ปทุมธานี  ดูแลเด็กมัธยม 700 กว่าคน”

 

ในขณะที่โควิด-19 ระบาดมากยิ่งขึ้น สสส.ให้ปรับงบประมาณเรื่องรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ สุขภาวะของเด็ก มาเป็นการทำงานเฉพาะหน้าที่เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโควิด-19 เนื่องจากเรื่องโควิด-19 เป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัว  พ่อแม่ของเยาวชนต่างก็ได้รับความเดือดร้อนกันทั่วหน้า  ขณะเดียวกันวัยรุ่นและเด็กไทยทั้งประเทศก็ต้องเรียนหนังสือทางออนไลน์ ไม่ได้พบปะเพื่อนฝูง บางครั้งเรียนทางออนไลน์แม่ก็ตะโกนให้ไปรีดผ้า พร้อมกับตั้งคำถามว่าเมื่อไหร่จะได้กลับเข้าสู่ห้องเรียนในระบบ การเรียนในห้องเรียนในห้องสี่เหลี่ยมแคบๆ ยังมีปัญหาในการดึงเข้ามาให้เกิดการเรียนรู้  ปัญหาจากการเรียนออนไลน์มีมาก ถ้าเด็กติดตัว P ในวิชาสุดท้ายที่จะจบออกมาเพื่อรับปริญญา เขาเรียนแทบเป็นแทบตาย สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อการเรียน”

 

เด็กส่วนใหญ่มีความตื่นตัวต่อปัญหาโควิด-19  เพราะเขาเห็นว่าพ่อแม่เดือดร้อนมาก ถ้าเยาวชนไม่ตื่นตัวจะกลายเป็นคนที่สร้างปัญหาให้ครอบครัว สังเกตได้ว่าขณะนี้ปัญหาเด็กแว้นลดจำนวนน้อยลง ไม่ใช่ตำรวจกวาดล้างการมั่วสุมของวัยรุ่น แต่เด็กรู้ว่าเขาจะต้องไม่สร้างปัญหาให้พ่อแม่ มีเด็กหลายคนเลิกบุหรี่ได้ เขากลัวไม่มีเงิน  ยิ่งในสถานการณ์ที่วิกฤติ ด้วยสัญชาตญาณความเป็นมนุษย์ ต้องเอาตัวรอด เด็กหลายคนเลือกที่จะลดการดื่มน้ำอัดลมหันมาดื่มน้ำเปล่าแทน

 

 

ฝุ่นPM2.5ฟุ้ง'อีสาน'จุดความร้อนแน่นพื้นที่

นักวิชาการฉายภาพย้อนหลัง 3 ปี พบค่าเฉลี่ยรายปี  PM2.5 ใน จ.ขอนแก่นสูงกว่า กทม.และเชียงใหม่ สะท้อนปัญหามลพิษทางอากาศในภาคอีสานไม่ควรถูกละเลยหรือมองข้ามผ่าน!

 

การประชุมสัมมนาวิชาการออนไลน์ เรื่อง "มลพิษอากาศในภาคอีสาน และศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ" ผ่านระบบ ZOOM จัดโดย ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมื่อเร็วๆ นี้

 

 

ดร.ชัชวาล อัยยาธิติ อาจารย์สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า  ภาคอีสานมีอากาศทั่วไปร้อนชื้นสลับกับแล้ง มีเทือกเขากั้นจากภาคอื่น มีแอ่งโคราชและแอ่งสกลนครที่ลาดเอียงจากตะวันตกไปตะวันออก มีผลต่อการกระจายตัวของมลพิษอากาศ การใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นเนื้อที่ทางการเกษตร  63.86 ล้านไร่ แยกเป็นนาข้าว 41.75 ล้านไร่ พืชไร่ 11.45  ล้านไร่ สวนไม้ผลและไม้ยืนต้น 5.90 ล้านไร่ สวนผักและไม้ดอก 0.32 ล้านไร่ และการเกษตรอื่นๆ 4.44 ล้านไร่ โดยพืชหลักของภาค ได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กิจกรรมการเกษตรกรรมในพื้นที่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษอากาศที่สำคัญและมีผลกระทบต่อคุณภาพอากาศในภาคอีสาน

 

สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษในภาคอีสานมีเพียง 12 สถานี และมีเพียงสถานีเดียวที่ข้อมูลสมบูรณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 คือที่จังหวัดขอนแก่น สะท้อนว่าการตรวจวัดคุณภาพอากาศในภาคอีสานไม่ได้รับความสนใจหรือให้ความสำคัญมากนัก ทั้งที่ค่า PM2.5 ไม่ต่ำกว่าภาคอื่นๆ ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อมูลตั้งแต่ปี 2561-2563 พบว่าค่า PM2.5 เฉลี่ยรายปี จ.ขอนแก่นเกินค่ามาตรฐาน อยู่ในระดับสูงกว่า 30 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ทุกปี ขณะที่ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 25 มคก./ลบ.ม. โดยสูงกว่า กทม.และเชียงใหม่ นอกจากนี้ ปี 2560-2562 จ.ขอนแก่นมีจำนวนวันที่ค่าฝุ่นเกินค่ามาตรฐานเพิ่มจากกว่า  20 วัน เป็นกว่า 30 วัน และกว่า 60 วันตามลำดับ โดยค่าสูงสุดเกินค่ามาตรฐานชัดเจนช่วงเดือน ม.ค.-เม.ย. และ  ต.ค.-ธ.ค.ของทุกปี ที่เป็นฤดูเพาะปลูกเกษตรกรรม โดยแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองที่สำคัญคือ การเผาในที่โล่งโดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรม สถานประกอบการ โรงงาน และยานพาหนะ "ปัญหามลพิษทางอากาศของภาคอีสานไม่ได้ด้อยหรือน้อยกว่าพื้นที่อื่นๆ ที่มีรายงานปัญหามลพิษในประเทศไทย"  ดร.ชัชวาลกล่าว

 

 

ธนาวุธ โนราช นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ  สำนักสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 กล่าวถึงมลพิษทางอากาศภาคเกษตรกรรมว่า ค่าเฉลี่ยรายปี PM2.5 จ.ขอนแก่น ย้อนหลัง 7 ปี 2557 อยู่ที่ 29.42 มคก./ลบ.ม. ปี 2558 อยู่ที่  30.58 มคก./ลบ.ม. ปี 2559 อยู่ที่ 39.2 มคก./ลบ.ม. ปี 2560  อยู่ที่ 29.8 มคก./ลบ.ม. ปี 2561 อยู่ที่ 31.42 มคก./ลบ.ม. ปี  2562 อยู่ที่ 34.75 มคก./ลบ.ม. และปี 2563 อยู่ที่ 29.56  มคก./ลบ.ม. ทั้งนี้ การเผาในที่โล่งเป็นหนึ่งในแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ ซึ่งเป็นวิถีชีวิต มีทั้งการเผาขยะชุมชน  เผาข้างถนน เผาไร่อ้อย เผานาข้าว และเผาพื้นที่รกร้างในชุมชน

 

เมื่อดูจากจุดความร้อน พบว่าปี 2562 จำนวน 49,938  จุด ปี 2563 จำนวน 40,219 จุด และปี 2564 (ม.ค.-เม.ย.)  20,949 จุด พิจารณาเฉพาะปี 2564 จำแนกตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นพื้นที่เกษตร 8,381 จุด 40% เขต ส.ป.ก.  4,401 จุด 21% ป่าสงวนแห่งชาติ 2,851 จุด 14% ชุมชนและอื่นๆ 2,631 จุด 12% ป่าอนุรักษ์ 2,437 จุด 12% และพื้นที่ริมทางหลวง 248 จุด 1% และจำแนกตามชนิดแหล่งกำเนิด นาข้าว 8,393 จุด 40% อ้อย 1,347 จุด 6% พื้นที่เกษตรอื่นๆ 3,040 จุด 15% พื้นที่ป่า 5,288 จุด 25% พื้นที่ริมทางหลวง 248 จุด 1% ชุมชนและอื่นๆ 2,633 จุด 13%

 

ธนาวุธบอกว่า กรณีการเผาในนาข้าวเป็นการทำนานอกฤดูที่มีน้ำเพียงพอ โดยมีพื้นที่ทำนานอกฤดู 1.99  ล้านไร่ จ.นครราชสีมามากที่สุด 3.3 แสนไร่ ส่วนการเผาจากไร่อ้อย ภาคอีสานมีกลุ่มโรงงานผลิตน้ำตาล 22 กลุ่มโรงงาน บางจังหวัดมี 2-3 โรงงาน การเผาจะเกิดขึ้นในช่วงก่อนตัด เพื่อให้โล่งตัดง่ายได้วันละ 3 ตันต่อคน แต่หากไม่เผาตัดได้ 1 ตันต่อคนต่อวัน และเผาหลังตัดเพราะมีใบอ้อยเก่าเหลืออยู่ หากไม่เผาใบเก่าทิ้ง เมื่อต้นเกิดใหม่อาจจะเกิดไฟไหม้และทำให้ตายได้

 

การแก้ปัญหา กรณีนาข้าว พยายามแก้ปัญหาด้วยการใช้รถไถเตรียมดินปลูกข้าวนอกฤดู โดยนำฟางข้าวไปเป็นอาหารสัตว์ แต่ซังข้าวซึ่งสัตว์ไม่กินนั้น ก็ให้ใช้เครื่องจักรอัดแท่งแล้วนำไปขายให้โรงงานรับซื้อเชื้อเพลิงชีวมวล ในพื้นที่นำร่อง 10,000 ไร่ พบว่าจุดความร้อน 100 จุดในปี 2562  ลดลงเหลือ 1 จุดในปี 2563 ส่วนกรณีไร่อ้อย มีการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เครื่องจักรในการตัดใบอ้อยแล้วอัดแท่งนำไปขายให้โรงงานที่รับซื้อ และให้โรงงานเลิกซื้ออ้อยที่เผา และจัดคิวรถอ้อยเข้าโรงงานให้มีสัดส่วนรถอ้อยสดเข้า 10 คัน  และรถอ้อยเผาเข้า 1 คัน ขณะที่การเผาขยะชุมชนได้ส่งเสริมให้มีการทำ "เสวียน" ที่เป็นที่เก็บใบไม้โดยไม่เผา แต่เป็นการหมักเป็นปุ๋ยแทน ซึ่งความสำเร็จที่เกิดขึ้นคือ ปี  2564 มีจุดความร้อนลดลงอยู่ที่ราว 2 หมื่นจุด จากที่สองปีก่อนหน้าอยู่ที่ราว 4 หมื่นจุด "หากจุดความร้อนลดลง แต่คุณภาพอากาศยังไม่ดีขึ้น  ก็อาจจะเป็นเพราะมีค่าเพดานการลอยตัวของอากาศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย หากมีค่าลอยตัวอากาศต่ำ การระบายอากาศก็ไม่ดี มลพิษก็สูง" ธนาวุธกล่าว

 

 

ส่วน ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองว่า ปัญหามลพิษอากาศหลักของประเทศไทยประกอบด้วย ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) โอโซน สารประกอบอินทรีย์ระเหย และโลหะหนัก เช่น ปรอท ตะกั่ว เป็นต้น แหล่งกำเนิดหลักของสารมลพิษอากาศในประเทศไทย คือ การคมนาคมขนส่ง การเผาเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ในยานยนต์ โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม และบ้านเรือน กระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ปฏิกิริยาเคมีในบรรยากาศก่อให้เกิดสารมลพิษอากาศทุติยภูมิ และการเผากากของเสียและชีวมวลในที่โล่ง

 

แหล่งที่มาสำคัญของฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย แยกเป็นกรุงเทพฯ และปริมณฑล จากการคมนาคมขนส่ง การเผาชีวมวลในที่โล่ง และฝุ่นทุติยภูมิ ภาคกลาง การเผาชีวมวลในที่โล่ง ภาคเหนือจากไฟป่าและการเผาชีวมวลในที่โล่ง ภาคตะวันออกจากการคมนาคมขนส่ง  อุตสาหกรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากการเผาชีวมวลในที่โล่ง รวมทั้งไฟป่า และภาคใต้จากไฟป่าพรุในอินโดนีเซีย และในประเทศไทยโดยเฉพาะป่าพรุควนเคร็ง จ.นครศรีธรรมราช

 

ดังนั้น การแก้ปัญหามลพิษอากาศที่ยั่งยืนคือ การลดการปล่อยสารมลพิษจากแหล่งกำเนิด ซึ่งในประเทศไทยมีตัวอย่างการทำให้อากาศดีขึ้นแล้ว เช่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ที่มีการติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สามารถควบคุมปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ แต่ต้องมีการลงทุน จึงอยากให้มีการนำรูปแบบไปขยายผลในที่อื่นๆ ขณะที่การลดปัญหาฝุ่น PM2.5 จากการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม  หากมีการกำหนดเป้าหมายลดการเผาและมาตรการส่งเสริมสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและข้าวโพดอย่างที่ประสบความสำเร็จสำหรับผู้ปลูกอ้อย จะสามารถลดการเผาในที่โล่งได้

 

ขณะที่ รศ.วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ กล่าวว่า จุดอ่อนที่สำคัญของการแก้ปัญหามลพิษอากาศของประเทศไทยคือ ขาดความรู้เชิงลึกเพิ่มเติมจากงานวิจัย หรือการพัฒนาเทคโนโลยีที่น่าเชื่อถือ เชื่อมโยงกับการพัฒนานโยบายและสนับสนุนการกำหนดและบังคับใช้มาตรการ  และการได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เช่น การบริหารจัดการการเผาในที่โล่ง เป็นต้น จึงได้รับการสนับสนุนจาก สสส.จัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมนักวิชาการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการรวบรวมองค์ความรู้ที่ถูกต้อง เพื่อใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เหมาะกับบริบทพื้นที่ของประเทศ พัฒนาองค์ความรู้ที่เป็นข้อมูลวิชาการที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 พัฒนาระบบข้อมูลงานวิชาการที่สามารถใช้ในการต่อยอดพัฒนางานวิชาการต่อไป รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะมาตรการนโยบายต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง เผยแพร่ความรู้สู่สังคมและสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย สื่อสารความรู้ เสริมสร้างประสบการณ์ และปลูกฝังความเป็นเจ้าของในทรัพยากรอากาศสะอาดกับภาคประชาชน เอกชน และภาคธุรกิจ ร่วมกันขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยสามารถติดตามข่าวสารได้ทางเฟซบุ๊กรู้ทันฝุ่น https://www.facebook.com/CCAS.EEAT และ www.ccas.or.th.


     


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"