พาณิชย์เกาะติดข้อมูลเศรษฐกิจใหม่ ผุด 2 ดัชนีโฟกัสภาคบริการ


เพิ่มเพื่อน    

 

10 มิ.ย. 2564 นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค. ได้ดำเนินการจัดทำเครื่องชี้วัดใหม่ ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานที่เจาะจงมากยิ่งขึ้น โดยได้เริ่มจัดทำดัชนีใหม่ 2 ดัชนี คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคกลุ่มค่าบริการ (Consumer Price Index Service : CPI Service) ซึ่งสามารถสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของค่าบริการได้เฉพาะเจาะจงกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป และจะเป็นเครื่องชี้วัดที่ทำให้ผู้บริโภคเห็นความเคลื่อนไหวของค่าบริการได้ชัดเจนมากขึ้น สามารถใช้ประกอบการตัดสินใจในการใช้จ่ายและวางแผนดำเนินชีวิต และยังเป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการกำหนดมาตรการและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการของภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย 

ส่วนอีกดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคบริการ (Business Confidence Index Service : BCI Service) เป็นดัชนีใหม่ที่ สนค. ได้บูรณาการร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่จะทำให้ทราบถึงทิศทาง แนวโน้ม และการเปลี่ยนแปลงของผลการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคที่ภาคธุรกิจบริการกำลังเผชิญอยู่

“สนค. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าดัชนีเหล่านี้จะเป็นดัชนีทางเลือกที่สามารถตอบสนองความต้องการใหม่ ๆ ของผู้ใช้งานดียิ่งขึ้น และยังสามารถเป็นข้อมูลให้ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลไปใช้ในการกำหนดนโยบาย และมาตรการในการดูแลค่าบริการ และผู้ประกอบการภาคบริการได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งทั้ง 2 ดัชนีนี้ มีกำหนดเผยแพร่ข้อมูลเป็นรายไตรมาส โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคบริการ ได้เผยแพร่แล้วในไตรมาสที่ 1 ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคกลุ่มค่าบริการ จะเผยแพร่ไตรมาส 2 ปีนี้”นายภูสิตกล่าว

สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคกลุ่มค่าบริการ เป็นดัชนีราคาที่คัดเลือกรายการค่าบริการจากตะกร้าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ปีฐาน 2562 ซึ่งมีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยมีทั้งสิ้นจำนวน 87 รายการ คิดเป็นร้อยละ 20.23 จาก 430 รายการสินค้าและบริการในตะกร้าดัชนีราคาผู้บริโภคชุดทั่วไป มีการจัดหมวดหมู่ตามโครงสร้างรหัสมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย (Thailand Standard Industrial Classification : TSIC) จำแนกเป็น 14 หมวด โดยหมวดที่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายสูงสุด 5 อันดับแรก คือ หมวดกิจกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายสูงที่สุด ที่ร้อยละ 54.93 ตามด้วยหมวดข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร ร้อยละ 15.88 หมวดการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ร้อยละ 6.94 หมวดกิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน ร้อยละ 6.55 และหมวดการศึกษา ร้อยละ 4.22 ตามลำดับ

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคบริการ เป็นเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่แสดงถึงความคิดเห็นของผู้ประกอบการภาคบริการที่มีต่อธุรกิจของตนเอง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญเป็นประจำทุกปี อาทิ ข้อมูลเกี่ยวกับยอดขาย รายรับ และสินค้าคงเหลือ รวมทั้งสอบถามความคิดเห็นต่อการดำเนินธุรกิจ

ก่อนหน้านี้ สนค. ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงดัชนีตัวชี้วัดเดิมมาแล้ว โดยในปี 2563 ได้ปรับปีฐานดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) จากปีฐาน 2558 เป็นปีฐาน 2562 ซึ่งเป็นปีที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนทั่วประเทศ และปรับปีฐานดัชนีราคาผู้ผลิต และดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนน จากปีฐาน 2553 เป็นปีฐาน 2558 ตามตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต (Input-Output Table) ล่าสุด ที่จัดทำโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งปกติแล้วทั้ง 3 ดัชนีนี้ จะมีการปรับปีฐานทุก 4-5 ปี โดยการปรับปรุงรายละเอียดที่สำคัญในมิติต่าง ๆ ได้แก่ เชิงโครงสร้าง ความครอบคลุม และวิธีการจัดทำ อีกทั้งยังคำนึงถึงการเชื่อมโยงและบูรณาการกับเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจของหน่วยงานอื่น เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องชี้วัดเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภค และดัชนีราคาผู้ผลิต ได้มีการจัดทำและเผยแพร่ข้อมูลเป็นรายเดือน โดยได้กำหนดปีฐานใหม่และได้เริ่มเผยแพร่แล้วตั้งแต่เดือน ก.พ.2564 ที่ผ่านมา สำหรับดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนน มีการจัดทำและเผยแพร่ข้อมูลเป็นรายไตรมาส มีกำหนดเผยแพร่ข้อมูลที่มีปีฐานใหม่ตั้งแต่ต้นไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 นี้ เป็นต้นไป


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"