นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 8 (4 ส รุ่นที่ 8) สถาบันพระปกเกล้า ได้จัดเวทีสาธารณะนำเสนอผลงานการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพของพลเมือง ในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ (Megaproject) ของรัฐ เพื่อเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินนโยบายต่างๆ ให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อประชาสังคมให้น้อยที่สุด การมีส่วนร่วมของพลเมืองนั้นต้องเป็นกระบวนการที่ให้พลเมืองเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) การวางแผนแม่บทในการพัฒนาประเทศ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดและออกแบบขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินโครงการเพื่อให้เกิดความรอบคอบ เป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอย่างสันติและยั่งยืน
รูปแบบของการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพต้องอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อมั่นและไว้วางใจซึ่งกันและกัน คือ TRUST อันเป็นมุมมองที่แตกต่างกันระหว่างรัฐและประชาชน ซึ่งประกอบด้วย การฟังให้มากขึ้น เข้าใจกันให้มากขึ้น ให้เวลากันมากขึ้น สื่อสารกันให้มากขึ้น และต้องตั้งอยู่บนเงื่อนไข 3 ประการ ได้แก่
1.ความเต็มใจ (Willing to Participate) การมีสำนึกในความเป็นเจ้าของตามหน้าที่พลเมือง
2.ความมีอิสระ (Freedom to Participate) การมีเสรีภาพ ไม่ถูกครอบงำหรือการบังคับให้เห็นด้วย
3.ความสามารถ (Ability to Participate) ความสามารถในการรับรู้ของประชาชน
การมีส่วนร่วมคือเงื่อนไขสำคัญในการตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน รัฐต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่าอะไรเป็นเหตุและผลที่ทำให้ประชาชนคิดแตกต่างจากรัฐ ต้องเข้าถึงความคิดของประชาชนให้ได้ว่าจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคืออะไร เพื่อนำมาเปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะการมีส่วนร่วมคือเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ พัฒนาไปสู่เป้าหมายที่ตรงกันตามหลักการ TRUST อันประกอบด้วย
T = Transparency ความโปร่งใส กระบวนการได้มาซึ่ง “ฉันทามติ” ของทุกภาคส่วนจนเป็นที่ยอมรับของมหาชน
R = Respect ความเคารพซึ่งกันและกัน ร่วมคิดร่วมตัดสินใจร่วมกันและได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
U = Ultimate goal มีจุดมุ่งหมายสูงสุดที่ชัดเจน ทุกขั้นตอนต้องมีการทบทวนและดำเนินการเพื่อไปถึงจุดมุ่งหมายเดียวกัน
S = Sustainability ความยั่งยืนของโครงการที่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบน้อยที่สุด
T = Together ก้าวไปด้วยกัน โครงการขนาดใหญ่ของรัฐหรือนโยบายสาธารณะเป็นของปวงชนชาวไทย มิใช่เป็นของรัฐบาล แต่รัฐมีหน้าที่สร้างความเป็นเจ้าของให้เกิดขึ้นในหมู่สาธารณชน
งานวิชาการของ 4 ส 8 ชิ้นนี้ เป็นโมเดลในการนำเสนอการตรวจสอบถ่วงดุลผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจการดำเนินการโครงการทุกขั้นตอนนั่นเอง.
จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์
([email protected])
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |