ฟื้นศก.ฐานรากด้วยพี่เลี้ยง SME


เพิ่มเพื่อน    

  เอสเอ็มอีหรือผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมถือว่าเป็นรากฐานสำคัญของระบบเศรษฐกิจของประเทศ การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจของโลก ที่หันมาให้ความสำคัญกับนวัตกรรมและดิจิทัลมากขึ้นนั้นทำให้เอสเอ็มอีต้องปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ของ "ดิสรัปชัน (Disruption) และยิ่งมาพบกับสภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบในวงกว้าง เอสเอ็มอีต่างได้รับผลกระทบซ้ำเติมเข้าไปอีก ทำให้รายได้ลดลง ในขณะที่รายจ่ายเท่าเดิม เกิดภาระหนี้สิน และขาดสภาพคล่องในการชำระหนี้ จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า 1 ใน 3 ของ เอสเอ็มอีทั้งหมดประสบภาวะขาดทุน และในจำนวนนี้ 1 ใน 5 ที่ประสบภาวะขาดทุนนั้นได้ปิดกิจการลง แม้ว่าจะมีการช่วยเหลือจากหลายๆ หน่วยงานก็ตาม

                ที่ผ่านมานั้น หลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามที่จะเข้ามาช่วยเหลือไม่ว่าจะในด้านของการเข้าถึงแหล่งเงิน และการปรับปรุงในเรื่องของมาตรฐานบัญชี รวมไปถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ดีขึ้น เพราะถ้าเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือผลิตภัณฑ์จะมีความหลากหลายมากขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น มีช่องทางการจำหน่ายที่ดีขึ้น ซึ่งที่ผ่านมานั้นก็มีภาครัฐและเอกชนร่วมกันเป็น “พี่เลี้ยง” ดำเนินโครงการ Big Brother  เพื่อเพิ่มทักษะและองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจของ SME และสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชื่อมโยงการดำเนินธุรกิจระหว่าง SME และธุรกิจขนาดใหญ่

                ดังนั้นเพื่อเตรียมรองรับการแข่งขันหลังจากวิกฤติโควิดซาลงนั้น ต้องเร่งพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถของเอสเอ็มอี เพราะเชื่อว่าไตรมาส 3-4 เศรษฐกิจน่าจะเริ่มฟื้นตัว การค้าการขายก็น่าจะเริ่มดีขึ้น ดังนั้นควรใช้ในช่วงวิกฤติให้เป็นโอกาสพัฒนาเอสเอ็มอี แต่การพัฒนานั้นจะอาศัยเฉพาะตัวเอสเอ็มอีและภาครัฐคงไม่พอ บริษัทยักษ์ใหญ่คงต้องเข้ามาช่วยเหลือด้วย อย่างกลุ่มซีพี ที่มีความพร้อมทั้งในด้านกำลังทรัพย์ เทคโนโลยี บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ เครือข่ายกระจายสินค้าทั่วทั้งประเทศ ยังไม่รวมถึง ตปท.น่าจะช่วยยกระดับเอสเอ็มอีได้ไม่ใช่น้อย

                เหมือนกับการสร้างแบรนด์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเคาน์เตอร์ “All meal” ขายอาหารตามสั่งในร้านเซเว่น และเตรียมขยายไปยังสาขาอื่นๆ การเปิด All café เคาน์เตอร์กาแฟสดที่ทำออกมาเขย่าตลาดกาแฟพรีเมียมแข่งกับบรรดากาแฟคี-ออส คาเฟ่อเมซอนและกาแฟโบราณทั้งหลายแหล่ให้ฮือฮากันมาแล้ว ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์สังคมในวงกว้างที่มีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะกลุ่มไม่เห็นด้วยต่างก็ออกมาถล่มว่าเป็นการกินรวบระบบการค้าการขาย สร้างความคลางแคลงใจให้กับสังคมไม่น้อย

                ดังนั้นด้วยศักยภาพที่มีอยู่ของกลุ่มซีพี ถ้าปรับเปลี่ยนบทบาทใหม่แทนที่จะกินรวบทุกธุรกิจ แค่ปรับเปลี่ยนมาเป็นพี่เลี้ยง เอสเอ็มอีทั้งหลายที่กำลัง กระอักกับพิษโควิดที่ล้มหายตายจากไปกันไปไม่ใช่น้อย การได้พี่เลี้ยงชั้นดี  ช่วยในเรื่องการถ่ายทอดประสบการณ์ การวางกลยุทธ์ และเป้าหมายการทำตลาดทั้งในและต่างประเทศ การประเมินจุดอ่อน จุดแข็งของตัวเอง การหาตลาดใหม่ๆ ช่องทางใหม่ๆ การลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ เช่น ค่าแรงงาน สินค้าคงคลัง การจัดทำบัญชี เป็นต้น รวมทั้งขยายช่องทางการตลาดทั้งออนไลน์-ออฟไลน์ที่สามารถนำไปวางแผนต่อยอดธุรกิจได้ ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงทั้งในและต่างประเทศ มีปัจจัยเสี่ยงมากมายเวลานี้ แต่เชื่อว่าจะช่วยเอสเอ็มอีฝ่าวิกฤติและมียอดขายเพิ่มขึ้นได้ และเริ่มฟื้นตัวได้อีกครั้งก็เพราะได้มืออาชีพมาช่วยชี้แนะ

                เมื่อเอสเอ็มอีที่เป็นฐานรากของเศรษฐกิจเดินหน้าทำธุรกิจได้ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมก็เดินหน้าไปได้ และไม่น่าก็จะฟื้นก็จะฟื้นคืนชีพกลับมาอีกครั้ง.

บุญช่วย ค้ายาดี

++++++++++++++

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"