ค้นหาข้อมูลการสร้างงานช่างศิลปหัตถกรรม
ในช่วงเวลาแบบนี้ที่นักเรียนนักศึกษาเปิดเทอมเรียนออนไลน์ คนทำงานส่วนใหญ่เวิร์คฟอร์มโฮม โอกาสที่จะศึกษาหาความรู้ ค้นคว้าเพิ่มเติมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์จึงตอบโจทย์ที่สุด ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) (ศ.ศ.ป.) หรือ SACICT ถือเป็นแหล่งองค์ความรู้ศิลปหัตถกรรมไทยที่พยายามปรับเปลี่ยนการนำเสนอรูปแบบใหม่ๆ ตลอดเวลา เพื่อเข้ากับโลกยุคปัจจุบัน และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้คนยุคดิจิทัล ซึ่งผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ SACICT ปรับกลยุทธ์พัฒนาระบบจัดการความรู้งานศิลปหัตถกรรมให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว นำเทคโนโลยีมาช่วยส่งต่อการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา และทุกสถานที่ เพียงปลายนิ้ว
พรพล เอกอรรถพร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศฯ กล่าวว่า ได้วางแนวทางพัฒนาคลังความรู้ ภายใต้แนวคิดยกระดับปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการประชาชนก้าวสู่บริการยุค Library 4.0 มีการบริหารจัดการทรัพยากรทางด้านศิลปหัตถกรรมไทย ตั้งแต่ต้นน้ำ คือ ผู้ผลิต ไปยังปลายน้ำ คือ หาตลาดเพื่อจำหน่าย โดยผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้ด้วยตนเองด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการอ่านที่ทันสมัย โดยเริ่มจากการพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (SACICT E-Library ) เป็นช่องทางเข้าถึงแหล่งองค์ความรู้ด้านศิลปหัตถกรรมไทย ในรูปแบบแอปพลิเคชันที่ใช้งานได้ทั้งเว็บไซต์ และผ่านสมาร์ทโฟน ที่ใช้จัดเก็บและสร้างฐานข้อมูลองค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรมไทย ปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้องของระบบและข้อมูลทรัพยากรในระบบ เตรียมจะเปิดให้บริการเดือนกรกฎาคมนี้
พรพล เอกอรรถพร ผู้อำนวยการ SACICT
ถือเป็นอีกแหล่งเรียนรู้ที่ปรับตัวรับสถานการณ์ สร้างประสบการณ์เรียนรู้ผ่านห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวบรวมทรัพยากรด้านงานศิลปหัตถกรรมไทยไว้ให้บริการอย่างครบถ้วนทุกประเภท ทั้งผลงานจากครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตกรรม ที่สะท้อนทักษะฝีมือหาตัวจับยาก
ภายในห้องสมุดออนไลน์นี้ทุกคนจะได้เพลิดเพลินกับการเข้าชมและประทับใจกับงานศิลปหัตถกรรมไทยประเภทต่างๆ และองค์ความรู้เชิงช่างจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ ทั้งประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคนิควิธีการดำเนินงาน อาทิ โขนพระราชทาน ผ้าไทย การแกะสลัก จักสาน ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ เป็นต้น
รวมองค์ความรู้งานศิลปหัตกรรมไทยไว้ใน SACICT E-Library
SACICT E-Library นำเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผู้สนใจยังสามารถค้นคว้าทรัพยากรหนังสือ วารสาร หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดีย บทความ SACICT และสื่อต่างๆ เพื่อต่อยอดการเรียนรู้และศึกษาข้อมูลในงานศิลปาชีพ และงานศิลปะหัตถกรรทมในสังคมไทย นอกจากนี้ ยังนำเสนอกิจกรรมและโครงการความเคลื่อนไหวของ ศ.ศ.ป.ช่วยสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้โดยไม่มีข้อจำกัดไปด้วยกัน
เรียนรู้งานศิลปาชีพผ่านระบบออนไลน์
ผู้อำนวยการ SACICT กล่าวว่า ในอนาคต ศ.ศ.ป. ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางบริการระบบคลังความรู้ดิจิทัล จัดเก็บข้อมูล เพื่อให้ประชาชนศึกษาหาความรู้ แชร์ข้อมูล กระตุ้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้พัฒนางานและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ คลังองค์ความรู้ผ่านระบบออนไลน์นี้ประชาชนสามารถต่อยอด ทั้งเชิงวิชาการและเชิงพาณิชย์ ทั้งในประเทศและระดับสากล ผ่าน 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านอาชีพ เป็นองค์ความรู้ที่จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการคงอยู่ได้ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 สร้างอาชีพให้ยั่งยืน มีรายได้จริง และยังช่วยวางแผนการตลาด สร้างค่านิยมในศิลปหัตถกรรมไทย ในคนไทยทุกระดับ ด้านการจัดการองค์ความรู้ ทำให้เกิดการถ่ายทอด เผยแพร่ และสืบสาน เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญางานศิลปหัตกรรมไทย ไม่ให้สูญหาย สุดท้าย ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการนำวัสดุธรรมชาติมาสร้างผลงาน และส่งเสริมให้มีการปลูกพืชทดแทน อีกทั้งส่งเสริมผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีที่ลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดเข้ากับธุรกิจสีเขียวเทรนด์โลก เมื่อเปิดให้บริการห้องสมุดออนไลน์อย่างเป็นทางการจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |