“วัคซีน” คืออะไร หากจะตอบแบบง่ายๆ ก็คือ การส่งบทเรียนติวเข้มไปให้ภูมิต้านทานของเราเรียนรู้ เพราะเมื่อเกิดการระบาดใหญ่ๆ ของเชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่ๆ ใครที่ภูมิต้านทานสามารถเรียนรู้ และปรับตัวรับมือกับไวรัสได้เร็ว ก็มักจะติดเชื้อแต่อาการไม่ทรุดหนัก... จะว่าไป การระบาดใหญ่ๆ ของโรคระบาดในโลกนี้ที่มีอัตราการตายลดลงกว่าอดีตอย่างไข้หวัดสเปนที่มีคนตายมากถึงราว 55 ล้านคนนั้น ส่วนหนึ่งก็เพราะเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนนั่นเอง
เรื่องวัคซีนตัวไหนมีข้อดีข้อด้อยกว่าตัวไหน เป็นเรื่องที่หลายคนพูดถึง ซึ่งก็มีข้อมูลจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญให้อ่านเยอะแล้ว แต่ในมุมมองอีกมุมมองหนึ่งที่ยังไม่ค่อยมีคนย้ำให้ฟังก็คือ วิชาว่าด้วยการเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีน หมออ้อมในฐานะ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกัน และใช้วิธีการด้าน Wellness ดูแลส่งเสริมสุขภาพคนไข้มานาน จึงอยากใช้พื้นที่ตรงนี้มาเล่าสู่กันฟัง
ถ้ายังพอจำกันได้ มีการถกเถียงกันว่า วัคซีนที่มีในไทยสองชนิด ชนิดหนึ่งผลิตแบบเก่ากระตุ้นภูมิต้านทานใช้ได้ แต่ไม่ดีนักกับผู้สูงอายุ... แต่อีกชนิดหนึ่งผลิตมาด้วยเทคโนโลยีใหม่กว่า สามารถกระตุ้นภูมิต้านทานในคนสูงอายุได้ดีกว่าอีกยี่ห้อ จึงแนะนำฉีดในคนสูงอายุด้วยวัคซีนชนิดหลัง
หากเข้าใจตรงจุดนี้ เราจะเข้าใจว่า แท้จริงแล้วภูมิต้านทานของเรานั้นมีสองชนิดใหญ่ๆ ชนิดแรก คือพวกที่เรียกว่า Innate immunity เป็นภูมิต้านทานที่เรียนรู้วิชาพื้นฐานการงานอาชีพก็ว่าได้ ตอนเราคลอดออกมา เราก็ได้ภูมิต้านทานชนิดนี้มาแล้ว ภูมิต้านทานพื้นฐานนี้จึงทำงานโดดเด่นมากในวัยเด็ก ไว้รับมือกับสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่เรายังไม่รู้จัก ตัวอย่างของภูมิต้านทานพวกนี้ได้แก่ Macrophage ชนิดต่างๆ นั่นเอง
แต่เมื่อเราโตขึ้น ภูมิต้านทานอีกชนิดหนึ่ง ที่ถูกส่งจากไขกระดูกไปยังต่อม Thymus ต่อมที่อยู่ตรงกลางทรวงอกของเรา ซึ่งเปรียบเสมือน รร.เสนาธิการของเม็ดเลือดขาว และเมื่อเม็ดเลือดขาวจบหลักสูตรจากต่อม Thymus แล้ว ก็จะมี Life long learning จากการติดเชื้อไข้หวัด เพื่อสร้างภูมิต้านทานที่เหมาะสมกับเชื้อไวรัสไม่ว่าจะใหม่เก่าออกมา เรียกได้ว่าผ่านหลักสูตรวิชา Acquired Immunity ซึ่งจำเพาะกับเชื้อต่างๆ แต่ละชนิด
การฉีด “วัคซีน” แล้วจึงไม่ใช่การใส่ภูมิต้านทานสำเร็จรูปเข้าตัวคนเราแล้วใช้ได้ทันที ทว่าเป็นการเอาบทเรียน หรือภาพประกาศจับคนร้าย ลักษณะจำเพาะของไวรัสนั้นๆ ส่งไปยังศูนย์บัญชาการ ให้ภูมิต้านทานเม็ดเลือดขาวของเราเฝ้าระวังตัวแต่เนิ่นๆ หรือเป็นไปได้ก็สร้างอาวุธหนักเตรียมกองทัพไว้เผื่อฐานทัพคือร่างกายของเรา
ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า เมื่อคนเราอายุมากขึ้น หรืออยู่ในสภาพอดหลับอดนอน เคร่งเครียด ดื่มแอลกฮอล์ อ้วนเป็นเบาหวาน หรือสูบบุหรี่ สภาพภูมิต้านทานโดยรวมเหล่านี้จะลดลง กลุ่มคนชราที่มีสารพัดโรครุมเร้า จึงมีภูมิต้านทานไม่ค่อยดีนัก การฉีดวัคซีนจึงไม่การันตีว่า ภูมิต้านทานจะยังคงความสามารถในการเรียนรู้ และสร้างภูมิต้านทานเพื่อต่อต้านเชื้อได้ และนั่นคือเหตุผลที่วัคซีนบางประเภทไม่มีประสิทธิผลมากพอกับคนสูงอายุ
ดังนั้น... ถ้าเราอยากให้ภูมิต้านทานขึ้นดี ไม่ว่าจะฉีดวัคซีนตัวไหนไหนก็ตาม พื้นฐานภูมิต้านทานของเราต้องดีไว้ก่อน การออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และไม่เครียด เป็นสิ่งที่หมอยากชวนให้ทุกคนทำ ระหว่างที่รอคิวฉีดวัคซีน ขอให้ทำไว้แต่เนิ่นๆ เพราะนี่คือภูมิต้านทานที่คุณสามารถเสริมสร้างได้ด้วยตัวเองเลยนะคะ เพื่อที่ว่า เมื่อใดก็ตามที่คุณไปฉีดวัคซีน วัคซีนตัวนั้นจะได้มีประสิทธิภาพสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
และภูมิต้านทานต้องใช้เวลาเรียนรู้ เหมือนเราเรียนวิชาใหม่ๆ กว่าจะเรียนรู้และจำได้ ก็ต้องใช้เวลาเช่นไร ภูมิต้านทานของคนเราก็เป็นเช่นนั้น หลังฉีดวัคซีนเสร็จ... ก็ไม่ควรไปทำตัวสุ่มเสี่ยงมั่วสุม พยายามรักษาระยะห่าง ( Social distance) ใส่หน้ากากอนามัย และหมั่นล้างมือบ่อยๆ ยังคงเป็นมาตรฐานทางสุขอนามัยที่ต้องทำต่อไป
เพราะ... ต่อให้วัคซีนดีแค่ไหน ถ้าเกิดเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ต่อไป วัคซีนที่ได้อาจไม่ช่วยเราก็ได้ ทุกอย่างจึงต้องวันกลับไปที่การดูแลสุขภาพให้ภูมิต้านทานดีๆ เข้าไว้ก่อน
โดยสรุป การดูแลภูมิต้านทาน สำหรับทุกคนก็คือ
ทำได้เช่นนี้แล้ว หมอก็เชื่อว่าทุกคนจะสอบผ่านวิชา ติวเข้มก่อนฉีดวัคซีนโควิด ด้วยเกรด A กันทุกคนค่ะ
พญ.กอบกาญจน์ ชุณหสวัสดิกุล
Jin Wellness Director
โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง และโครงการจิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |