นักวิชาการห่วงกฎหมายใหม่อาจจะวุ่น นายกสมาคมแท็กซี่ขอให้ภาครัฐทบทวน


เพิ่มเพื่อน    

นายแทนรัฐ คุณเงิน  อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เผยว่า  ในฐานะนักวิชาการด้านกฎหมายที่เกาะติดประเด็นเกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคล (Privacy Rights) ตนมองว่า กฎหมายใหม่ทั้งที่กำลังจะถูกประกาศใช้ในอนาคตอันใกล้หรือกฎหมายที่มีการประกาศใช้แล้วโดยเฉพาะพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ กฎหมายลูกอื่นๆ หรือ แนวนโยบายต่างๆ ของภาครัฐที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอาจส่งผลกระทบเกินความจำเป็นต่อสิทธิเสรีภาพโดยเฉพาะในเรื่องสิทธิส่วนบุคคล

ประเด็นที่กำหนดให้หน่วยงาน หรือ องค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชนไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่มีอยู่เดิมในตลาด หรือ สตาร์ทอัพใหม่ๆ ต้องดูแล และรักษาข้อมูลของประชาชนหากปล่อยให้มีการนำข้อมูลใดๆ ออกไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก็จะมีทั้งโทษทางอาญา  และโทษปรับที่สูงมากในขณะที่ประชาชนก็ต้องอาจสูญเสียความเป็นส่วนตัวจากการขอข้อมูลจากการใช้บริการต่างๆ เพราะภาครัฐจะคอยสอดส่องพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน

 

ในบางประเทศทางตะวันตกซึ่งเป็นโลกเสรีประชาชนส่วนใหญ่จะตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของการถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างมากจนถึงขั้นมีการฟ้องร้องคดีความ และตัดสินให้มีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในอัตราที่สูงมากขณะที่บางประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์หรือ มีการปกครองแบบรวมศูนย์ประชาชนที่นั่นอาจคุ้นชินกับการถูกเฝ้าจับตามองจากหน่วยงานของรัฐเพื่อแลกกับการเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตหรือสิทธิพิเศษบางประการจากทางภาครัฐ (Social Credit)

สำหรับประเทศไทยแม้เรื่องความมั่นคงของชาติ และความปลอดภัยของประชาชนจะเป็นสิ่งสำคัญแต่ภาครัฐจะต้องคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคลของประชาชนด้วยเช่นกันเราจะต้องมาพิจารณากันว่าการยอมรับของประชาชนต่อเรื่องดังกล่าวเป็นเช่นไรเส้นมาตรฐานทางกฎหมายที่จะร่างขึ้นเพื่อสมดุลระหว่างทั้งสองเรื่องนี้ควรจะอยู่ตรงจุดไหนนั่นคือเรื่องที่สำคัญอย่างมากต่อความเป็นส่วนตัวอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มข. ระบุ

 

นอกจากปัญหา และผลกระทบจากการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายข้างต้นแล้วอีกประเด็นสำคัญที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของผู้คนจำนวนมากก็คือการออกกฎหมายบังคับให้มีการเปิดเผยข้อมูลการเดินทางของผู้โดยสารรถแท็กซี่ผ่านแอปพลิเคชันที่กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างการพัฒนา และเตรียมประกาศใช้โดยกำหนดให้ผู้ให้บริการไม่ว่าจะเป็นบริษัทเจ้าของแอปพลิเคชันเรียกรถ หรือ ผู้ขับขี่รถจะต้องส่งข้อมูลการใช้งานของรถในลักษณะที่เป็นปัจจุบันหรือข้อมูลเรียลไทม์ให้กับกรมการขนส่งทางบก

 

ประเด็นคือ มีความจำเป็นแค่ไหน? ที่กรมการขนส่งทางบกจะต้องเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนมากถึงระดับนี้แต่ละวันน่าจะมีคนนั่งแท็กซี่หลายพันหลายหมื่นครั้งหากอ้างว่าเป็นเรื่องของความมั่นคงของชาติ และความปลอดภัยของประชาชนก็ควรต้องมีการสร้างกระบวนการบางอย่างเพื่อขออนุญาตในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนเพื่อเป็นการถ่วงดุลหรือไม่? เช่นจะต้องขออนุญาตจากผู้โดยสารซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลเสียก่อนโดยหากมีประเด็นเกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรม หรือ ภัยต่อความมั่นคงหน่วยงานภาครัฐก็สามารถขอข้อมูลย้อนหลังได้อยู่แล้วทั้งนี้ความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ อาจพิจารณาจากความรุนแรงของสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป (case by case)

 

นายแทนรัฐย้ำว่า การออกกฎหมายในลักษณะนี้ในแง่ของทางเศรษฐกิจการเชื่อมต่อข้อมูลจากฐานข้อมูลเอกชนไปยังรัฐบาลอาจเป็นสร้างภาระ และเพิ่มค่าใช้จ่ายทั้งโดยตรง และโดยอ้อมแก่ประชาชนโดยไม่จำเป็นไม่ว่าจะอยู่ในฐานะของผู้บริโภคผู้ให้บริการหรือผู้ประกอบการก็ตาม

ด้านนายศดิศ ใจเที่ยง นายกสมาคมแท็กซี่สาธารณะไทย กล่าวว่า สมาคมฯ ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของ ขบ. ในการบังคับให้ต้องส่งข้อมูลการใช้งานของรถในแบบเรียลไทม์ทั้งนี้อยากให้ดูตัวอย่างของประเทศที่ใช้แอปพลิเคชันในลักษณะเดียวกันซึ่งกำหนดให้การจัดส่งข้อมูลผู้โดยสารให้แก่ภาครัฐเพียงเดือนละครั้ง จากนี้สมาคมฯ ซึ่งเป็นคณะทำงานร่วมกับขบ. ในการพิจารณาร่างประกาศกรมการขนส่งทางบกข้างต้นพร้อมจะใช้เวทีนี้เรียกร้องให้ภาครัฐทบทวนแนวคิดดังกล่าวเนื่องจากเป็นภาระทั้งด้านความรับผิดชอบต่อข้อมูลฯ และรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นของผู้ขับขี่ฯซึ่งหากเกิดกรณีอาชญากรรม หรือ เหตุไม่พึงประสงค์ใดๆ ก็ตามภาครัฐสามารถขอข้อมูลจากผู้ขับขี่เป็นรายบุคคลได้อยู่แล้วไม่จำเป็นต้องบังคับให้จัดส่งข้อมูลการใช้งานของรถแบบทันทีแต่อย่างใด

 

แกลลอรี่


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"