ยิ่งยืดเยื้อ ก็ยิ่งเสียหาย!


เพิ่มเพื่อน    

      ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามที่จะพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน จึงได้เร่งเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้า โดยมีนโยบายที่จะขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อกระจายเส้นทางการเดินทางที่สะดวกรวดเร็ว และขนส่งผู้โดยสารได้ในปริมาณมาก ช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดและคับคั่งบนถนนที่มีพื้นที่จำกัด รวมไปถึงลดปริมาณการใช้รถยนต์ของประชาชน เพื่อช่วยประหยัดงบประมาณในการนำเข้า และยังช่วยลดมลพิษที่ปัจจุบันภาวะโลกร้อนกำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสภาพอากาศของโลก

     

รถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการ 'รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 1' สายสุขุมวิท ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช รถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย เปิดให้บริการเมื่อปี 2542 และได้มีการขยายโครงข่ายอย่างต่อเนื่องจนสามารถเชื่อมโยงกรุงเทพฯ กับฝั่งธนบุรี และขยายในแนวเหนือ-ใต้ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เชื่อมไปหมอชิต ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ไม่ว่าจะเชื่อมกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และเตรียมจะเชื่อมรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างใหม่อีก 2 สาย คือ เชื่อมกับสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ และเชื่อมกับสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ที่สถานีสำโรง ซึ่งช่วยลดปัญหาความคับคั่งของการจราจรลงได้อย่างมาก

     

โดยเฉพาะสายสีเขียว ที่ประสบความสำเร็จเปิดให้บริการครบทุกสถานีตลอดเส้นทางทั้ง 59 สถานี รวมระยะทางกว่า 68 กิโลเมตร มีรถไฟฟ้าให้บริการมากที่สุดถึง 98 ขบวน 392 ตู้ และมีการจัดรูปแบบการเดินรถให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถรองรับผู้โดยสารทั้งระบบได้สูงสุดมากกว่า 1.5 ล้านเที่ยวคนต่อวัน ช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด ตลอดจนส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งก่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยรอบเส้นทางรถไฟฟ้า รองรับการพัฒนาเมืองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในอนาคต

     

ปัจจุบัน การเดินรถในช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เชื่อมไปหมอชิต ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการนั้น บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC บริษัทในเครือบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เป็นผู้รับสัมปทานเดินรถ และจะสิ้นสุดปี 2572 ดังนั้นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการเดินรถจึงมีแนวคิดที่จะต่อสัญญากับผู้รับสัมปทานรายเดิมออกไปอีก 30 ปี

     

ซึ่งก็ลุ้นกันตัวโก่งสำหรับกรุงเทพมหานคร (กทม.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.) ที่ตั้งแท่นจะนำเสนอที่ ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชี้ขาดเกี่ยวกับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวในวันที่ 1 มิ.ย.2564 ที่ผ่านมา แต่แล้วก็ต่องวืดไปอีกครั้ง หลังจากที่กระทรวงคมนาคม และเครือข่ายในภาคประชาชนที่นำโดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคออกโรงค้านหัวชนฝา ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐจะพิจารณาต่อขยายสัมปทานให้กับ บมจ.บีทีเอส BTS จากเดิมสิ้นสุดปี 2572 ออกไปอีก 30 ปี

     

โดยให้ข้ออ้างว่า อัตราค่าโดยสารที่กำหนดตามร่างสัญญาที่ 65 บาทตลอดสายนั้นสูงเกินไป ยิ่งในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ด้วยแล้ว ซึ่งมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายยังคงยืนยันเห็นว่าอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมนั้นคือ 25 บาทตลอดสาย ก็ยังทำให้กรุงเทพมหานครมีกำไรกว่า 23,000 ล้านบาทแล้ว และที่สำคัญรัฐควรที่จะนำโครงการมาดำเนินการเอง

     

ในส่วนของกระทรวงคมนาคม เห็นว่า ภาครัฐจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน และนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปจ่ายคืนหนี้ค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายแทนกรุงเทพมหานคร รวมถึงจ่ายค่าจ้างเดินรถให้กับบีทีเอส และเมื่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวสิ้นสุดลงในปี 2573 ให้รัฐเปิดประมูลการเดินรถใหม่ โดยนำโครงการเข้าสู่กระบวนการ PPP (รัฐร่วมลงทุนเอกชน) เพื่อกำหนดรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมต่อไป

     

ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวนั้นจะทำให้รัฐมีอำนาจเด็ดขาดในการกำหนดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวและนโยบายอื่นๆ เพื่อสวัสดิการของประชาชน และสามารถลดค่าโดยสารจาก 65 บาทต่อเที่ยวเหลือ 50 บาทต่อเที่ยว หรือต่ำกว่า ซึ่งเป็นระดับค่าโดยสารที่เหมาะสมที่ทำให้ประชาชนมีกำลังบริโภคเพิ่มขึ้น และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม ขณะที่ภาครัฐจะมีรายได้จากเงินนำส่งระหว่างปี 2573-2602 เป็นเงิน 380,200 ล้านบาท พร้อมทั้งยังระบุอีกว่า รถไฟฟ้าสายสีเขียวมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดรายได้สูง รวมทั้งมีโอกาสในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ค่าโฆษณา ค่าเช่าพื้นที่ และการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

     

แต่ก่อนอื่นต้องยอมรับกันว่า กรุงเทพมหานครเป็นหนี้บีทีเอสจำนวน 33,222 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้บีทีเอสอยู่ระหว่างปรึกษาทนายความของบริษัท และรวบรวมข้อมูลหลักฐานต่างๆ เพื่อดำเนินการยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายคาดว่าจะเริ่มกระบวนการยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองเร็วๆ นี้ ยังไม่รวมหนี้ระบบรถไฟฟ้า ดอกเบี้ยที่จะทยอยครบดีล และค่าจ้างเดินรถในระยะ 8-9 ปีข้างหน้าก่อนสัญญาสัมปทานหลักสิ้นสุดลงในปี 2572 อีกกว่า 60,000-70,000 ล้านบาท!

     

แน่นอนว่า หนี้มหาศาลก้อนนี้ถึงอย่างไรกรุงเทพมหานครก็ไม่อาจบิดพลิ้วหรือชักดาบคู่สัญญาเอกชนได้ ต่อให้ต้องทอดยาวไป 5 ปี 10 ปี ยังไงเสียก็ต้องได้รับการจ่ายคืนพร้อมดอกเบี้ย แต่ก็อย่าลืมว่าบีทีเอส (BTS) ที่ว่านี้เคยผ่านบทเรียนที่ต้องแบกหนี้ท่วมจนต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้ศาลล้มละลายกลางแบบ “การบินไทย” มาแล้ว บริษัทต้องจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ และเจ้าหนี้ต้องยอม "แฮร์คัตหนี้" ไประลอกหนึ่งแล้ว

     

ดังนั้น หากต้องแบกหนี้จากที่รัฐเอาแต่ซื้อเวลาไม่ยอมชดใช้หนี้ให้จนไม่อาจจะให้บริการเดินรถไฟฟ้าได้อีก ถึงเวลานั้นรัฐจะทำอย่างไร ใครจะรับผิดชอบ กระทรวงคมนาคมและเครือข่ายเพื่อผู้บริโภคจะบากหน้าเข้ามารับผิดชอบแทนได้หรือ?

     

และที่สำคัญ งานนี้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงต้องเร่งให้จบโดยเร็ว เพราะหากโอ้เอ้ ซื้อเวลา-ซุกปัญหาใต้พรม อาจจะกลายเป็นประเด็นการเมืองที่จับเอามาต่อรองหรือโจมตีรัฐบาลโดยใช้ประชาชนเป็นตัวประกัน ก่อให้เกิดความเสียหายมากมาย เหมือนระบบตั๋วร่วม จนแล้วจนรอดผ่านไป 10 ปียังไม่ได้ใช้กันสักที.

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"