เปิดตัวตูบไทยดังไปไกลข้ามโลก ดีกรีสามารถดมกลิ่นหาเชื้อโควิด


เพิ่มเพื่อน    

 

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าสุนัข 4 ขา ได้กลายมาเป็นผู้นำแถวหน้า ในการรับมือกับโรคโควิด-19 มากกว่าการเป็นสัตว์เลี้ยงแสนรู้ผู้น่ารัก ที่นอนรอให้เจ้าของลูบหัวลูบท้อง

 

ล่าสุด สำนักข่าวเทเลกราฟของอังกฤษ และอเมริกา ได้ลงข่าวใหญ่โตทึ่งในความสามารถของสุนัขพันธ์ลาบราดอร์ของไทย 6 ตัวที่ได้รับการฝึกดมกลิ่นผู้ป่วยโรคโควิด-19 หนึ่งในนั้นมีสุนัขชื่อว่า Bobby และ Bravo นอกจากนี้สุนัขชื่อว่า Angel ก็เป็นเด็กดีเช่นกัน และเมื่อเธอนั่ง ขาหลังของเธอมีขนยาวเล็กน้อย เลื้อยไปบนพื้นกระเบื้อง พร้อมกันนี้น้องหมาได้ยกอุ้งเท้าตัวเอง เพื่อเน้นย้ำราวกับจะพูดว่า นี่คือสำลีก้อนนี้ที่จมูกอันแหลมคมของฉัน สามารถบอกได้ว่าใครบางคนได้รับเชื้อโควิด-19 อยู่ในตัว

 

สุนัขพันธ์ลาบราดอร์ทั้ง 3 ตัว ซึ่งปฏิบัติการอยู่ในคลินิกของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสุนัขทั่วโลก ที่ได้รับการฝึกให้ดมกลิ่นโควิด-19 ในคน การศึกษาเบื้องต้นซึ่งดำเนินการในหลายประเทศ ชี้ให้เห็นว่าอัตราการตรวจพบอาจสูงกว่า การทดสอบแอนติเจนเทส หรือการตรวจหาสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็ว ซึ่งมักใช้ในสนามบินและสถานที่สาธารณะอื่นๆ

 

มีการเปิดเผยคำให้สัมภาษณ์ของดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ รองอธิบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะสัตวแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยอธิบายว่า “ สำหรับสุนัขมักจะได้กลิ่นสิ่งต่างๆอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับการที่มันได้กลิ่นเนื้อย่างในครัว ดังนั้นสุนัขจึงถือได้ว่าเป็นความหวัง ที่จะนำไปใช้สำหรับดมกลิ่นหาสิ่งแปลกปลอมในพื้นที่สาธารณะต่างๆ ที่มีผู้คนแออัด เช่น สนามกีฬา หรือศูนย์กลางการขนส่ง ทั้งนี้เพื่อค้นหาผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19”

 

ทั้งนี้ทักษะของสุนัขดมกลิ่นเชื้อไวรัสร้ายนั้น กำลังได้รับการพัฒนาทั้ง ในประเทศไทย สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ ชิลี ออสเตรเลีย เบลเยียม และเยอรมนี รวมถึงประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ในสนามบินของประเทศฟินแลนด์ ก็ได้ใช้สุนัขตระเวนดมกลิ่นผู้มาใช้บริการ รวมถึงประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศเลบานอน และบริษัทเอกชนก็ได้เลือกใช้สุนัขดมกลิ่น เพื่อหาสิ่งผิดปกติในการจัดงานอีเวนท์ ของการแข่งขันกีฬาในประเทศสหรัฐอเมริกา

 

“แองเจิล” (Angel) สุนัขขนสีบลอนด์ซีด ที่มีแก้มป่อง และชอบกัดขวดพลาสติก เป็นดาวเด่นของคณะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่สำหรับกลุ่มสุนัขที่เข้ารับการฝึกในประเทศไทย มีด้วยกันหลายตัวได้แก่ Angel, Bobby, Bravo และอีก 3 ตัว คือ Apollo, Tiger และ Nasa ที่ล่าสุดได้รับการฝึกดมกลิ่นหาเชื้อไวรัสร้าย กระทั่งตรวจพบไวรัสโควิด-19 ได้อย่างแม่นยำ ถึง 96.2 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลาและสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุม โดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัย แต่การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการดมกลิ่นไวรัสร้ายในคน ของประเทศเยอรมนี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่มีผลลัพธ์ค่อนข้างต่ำกว่า แต่ทว่าการทดลองโดยใช้สุนัขดมกลิ่นหาไวรัสโควิด -19 ก็ยังคงเป็นที่น่าประทับใจ

 

ทีมงานการวิจัย ระบุว่า “สุนัขดมกลิ่นทำงานได้เร็วกว่า และถูกกว่าการทดสอบ P.C.R. (การตรวจหาสารทางพันธุกรรม RNA ของไวรัสโควิด-19) เพียงแค่สุนัขสูดดมกลิ่นของไวรัสร้าย ที่ฟุ้งกระจายลอยอยู่ในอากาศ จมูกของสุนัขก็จะทำงานด้วยการสูดกลิ่น และจับกลิ่นที่แปลกปลอมที่อยู่ในร่างกายคน ได้ภายในไม่กี่วินาที  หรือแม้แต่ได้สูดดมกลิ่นของแอลกอฮอล์จางๆ ที่ปะปนอยู่ในสารคัดหลั่ง ซึ่งถูกไวรัสโควิด-19 ทำลายเซลล์ต่างๆ ขณะที่ระเหยออกจากร่างกายของผู้ป่วยแล้ว

 

ขณะที่ ดร.แอนน์ ลิส ชาเบอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสหวิทยาการด้านสุขภาพ ที่โรงเรียนสัตวแพทย์ และโรงพยาบาลสอนสัตวแพทย์ School of Animal and Veterinary Sciences แห่งมหาวิทยาลัยแอดิเลด ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทำงานมาเป็นเวลา 6 เดือน กับการฝึกสุนัขดมกลิ่นโควิด-19 มาแล้ว 15 ตัว ระบุว่า “ทั้งนี้การทดสอบหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ผ่าน P.C.R. (การตรวจหาสารทางพันธุกรรม RNA ของไวรัสโควิด-19) จะต้องรอผลการตรวจสอบที่ใช้ระยะเวลาหนึ่ง ขณะที่สุนัขดมกลิ่นสามารถติดพบเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ในระยะที่เชื้อฟักตัวอยู่ในผู้ป่วยโดยที่ไม่รู้ตัว”

 

ด้านนักวิจัยไทย ระบุว่า “ วิธีการตรวจหาเชื้อไวรัสบางอย่าง ไม่สามารถคัดกรองโรค ได้ด้วยการตรวจวัดอุณหภูมิ อีกทั้งไม่สามารถระบุได้ว่าคุณติดเชื้อโควิด-19 แล้ว โดยที่ไม่แสดงอาการได้แต่อย่างใด แต่สุนัขสามารถทำได้ เพราะปอดและหลอดลมที่ติดเชื้อของผู้ป่วย จะแพร่กระจายกลิ่นของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้สุนัขดักจับได้ แต่ทั้งนี้สุนัขก็ต้องการเพียงโมเลกุลขนาดเล็กของเชื้อไวรัสโควิด-19 เท่านั้น เพื่อทำการวิเคราะห์หาไวรัสร้าย ที่แฝงอยู่ในตัวคนที่ได้รับเชื้อโควิด-19”

 

ทั้งนี้สุนัขที่จะนำมาฝึกดมกลิ่นผู้ได้รับเชื้อโควิด-19 นั้น จะต้องเป็นสุนัขพันธ์ลาบราดอร์ไทย ที่ได้รับการฝึกร่วมกันโครงการวิจัย ที่ดำเนินร่วมกันกับจุฬาลงกรณ์ลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัทเชฟรอน ผู้ผลิตน้ำมันปิโตรเลียม สัญชาติอเมริกัน ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทดังกล่าว ได้เคยทดลองใช้สุนัขเพื่อทดสอบพนักงานของตัวเองในประเทศต่างๆ เกี่ยวกับการเสพยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย ดังนั้นทีมวิจัยในประเทศไทยจึงได้ตั้งข้อสงสัยว่า สุนัขจะสามารถตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้เช่นเดียวกับการตรวจหาสิ่งเสพติดในร่างกายมนุษย์หรือไม่ ซึ่งอันที่จริงแล้วในทางทฤษฏีนั้น ความสามารถของสุนัขในการดมกลิ่นโควิด-19 นั้น ไม่แตกต่างจากความสามารถในการตรวจจับยาเสพติด ระเบิด หรือขนมสคูบี้ที่ซ่อนอยู่ในกระเป๋าได้

 

ที่ผ่านมาสุนัขทั้ง 6 ตัว พร้อมกับผู้ดูแลสุนัขทั้ง 6 ตัว เช่นกัน โดยผู้ดูแลสุนัขได้ให้ดมสำลีที่เปื้อนเหงื่อจากถุงเท้า หรือเหงื่อจากรักแร้ของผู้ป่วยโรคโควิด-19 และการทดสอบดังกล่าว ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงกับสุนัขดมกลิ่นแต่อย่างใด และไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรน่าได้ เนื่องจากเป็นกลิ่นจากเหงื่อชุบสำลีเท่านั้น ประกอบกับประเทศไทยเป็นเมืองร้อน คนจึงมีเหงื่อเยอะ และที่สำคัญเชื้อโควิด-19 นั้น จะแพร่กระจายผ่านละออง ที่พ่นออกมาจากทางเดินหายใจมากกว่า

 

ที่น่าสนใจนั้นทั้งแมวและสุนัขที่เราเลี้ยงไว้ใกล้ชิดกับมนุษย์ ยังไม่ปรากฏว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นสามารถติดในสัตว์เลี้ยงได้ หรือมีผลเป็นบวก เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่าง มิงค์ ที่สำคัญยังไม่มีการพิสูจน์ว่าสัตว์เลี้ยงในบ้าน สามารถแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ไปสู่มนุษย์ได้

 

ด้าน ดร.เกวลี กล่าวอีกว่า “ ทั้งนี้ภายในระยะเวลา 2 เดือน สุนัขจะต้องทำการฝึกดมกลิ่น 600 ครั้งต่อวัน ทั้งนี้สุนัขไทยมักจะนั่งฟังครูฝึกอย่างเชื่อฟัง แต่เมื่อใดที่มันได้ดมกลิ่นของเชื้อ หรือเซลล์ของไวรัสโควิด-19 ที่อยู่ในก้อนสำลีชุบเหงื่อผู้ป่วย ที่วางอยู่บนอุปกรณ์ที่สามารถหมุนได้เหมือนม้าหมุน ในระดับที่จมูกของสุนัขสามารถดมถึง และในจมูกของสุนัขจะมีตัวรับกลิ่นสูงถึง 300 ล้านตัว ถ้าเทียบกับตัวรับกลิ่นในจมูกมนุษย์อยู่ที่ประมาณ 6 ล้านตัว ที่สำคัญสุนัขยังถูกฝึกให้จำจดกลิ่นต่างๆได้ถึง 10 รูปแบบที่เป็นสารประกอบในสิ่งต่างๆ นอกจากนี้สุนัขยังสามารถดมกลิ่นจากอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างจมูกและปากของสุนัข ที่สามารถดมถึงได้นั่นเอง

 

งานวิจัยบางชิ้นแนะนำว่าสุนัขจากหลายสายพันธุ์ อาจตรวจพบโรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน มาลาเรีย และมะเร็งบางชนิดได้ กล่าวคือ โดยธรรมชาตินั้นของเหลวที่อยู่ร่างกายมนุษย์ จะสามารถระเหยไปสู่อากาศได้ค่อนข้างง่าย นั่นจึงทำให้สุนัขได้กลิ่นมนุษย์

 

ปัจจุบันสุนัขพันธุ์ลาบราดอร์ไทย 3 ตัว ประจำการอยู่ในภาคใต้ตอนล่างของประเทศ ใกล้ชายแดนกับมาเลเซีย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า เชื้อโควิด-19 ที่เป็นอันตรายได้เข้ามาในประเทศไทยแล้ว ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา และอีก 3 ตังได้ถูกย้ายไปยังชั้น 9 ของอาคารคณะสัตวแพทย์ของจุฬาลงกรณ์ในกรุงเทพฯ ซึ่งพวกเขาอาศัยอยู่ในหอพักเดิม ของนักศึกษาของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้มียังสนามหญ้าเทียมบนดาดฟ้าหอพัก เพื่อให้สุนัขได้วิ่งเล่นในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อวอร์มอัพร่างกาย อีกทั้งเจ้าสี่ขายังได้ออกมาวิ่งเล่นที่สนามฟุตบอลของมหาวิทยาลัยอีกด้วย ที่สำคัญภายในห้องนอนของสุนัขจะติดตั้งเครื่องปรับอากาศทำความเย็น ให้กับสุนัขดมกลิ่นอีกด้วย

 

อีกทั้งช่วงเวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงในตอนเช้าและตอนบ่ายนั้น ครูผู้ฝึกจะให้ฝึกการเดินดมกลิ่นสำลีที่มีตัวอย่างกลิ่นเหงื่อของผู้ป่วยโควิด-19 วางอยู่บนแท่นอุปกรณ์ โดยการเดินกลับไปมา ที่สำคัญสุนัขจะได้กลิ่นของเชื้อไวรัสร้าย มากถึง 10 ครั้ง ต่อ 1 วินาที แม้ว่าสุนัขทั่วไปมักจะไม่ชอบทำก็ตาม ขณะที่มนุษย์มักจะสูดดมสิ่งต่างๆเพียง 1 ครั้ง ต่อ 1 วินาที หลังจากที่ฝึกเสร็จ ครูฝึกก็จะพาสุนัขไปนั่งเล่นเพื่อนอนหลับ อีกทั้งยังมีการสลับเป็นลูบท้องลูบหัวสุนัขเบาๆ

 

ด้าน ธวัชชัย พรหมโชติ ผู้ดูแลสุนัขที่ชื่อว่า Angel ซึ่งทำงานเป็นซัพพลายเออร์ของเชฟรอน ก่อนจะเปลี่ยนใจไปมาทำงานเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสัตว์ กล่าวว่า “ชีวิตของพวกเขาดี ดีกว่ามนุษย์มากมาย”

 

ครูผู้ฝึก อย่าง “ธวัชชัย” กล่าวว่า “เขาเติบโตขึ้นมากับสุนัข 12 ตัวในจังหวัดนครศรีธรรมราช ทางใต้ของประเทศไทย ซึ่งสัตว์เลี้ยงของครอบครัวได้งีบหลับในสวน และหาร่มเงาใต้ต้นไม้ พวกเขาไม่ชอบเครื่องปรับอากาศ”

 

ขณะนี้สุนัขดมกลิ่นในกรุงเทพฯ กำลังทำการคัดกรองตัวอย่างเหงื่อจากคนไทย ที่ไม่สามารถเข้าถึงสถานที่ตรวจหาเชื้อโควิดได้อย่างง่ายดาย เช่น ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลสุนัขกำลังทำงานเพื่อจัดทำโครงการกับเรือนจำของจังหวัดต่างๆ ซึ่งผู้ต้องขังหลายพันคน ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด

 

ในสหรัฐอเมริกา สุนัขถูกใช้เพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในงานกิจกรรมส่วนตัวจำนวนหนึ่ง ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบผู้ถือตั๋ว เพื่อเข้าไปชมเกมการแข่งขันบาสเก็ตบอลในเมืองไมอามี่ ที่รู้จักกันดีว่า “ Miami Heat” และดมกลิ่นเท้าของผู้ชื่นชอบในเทศกาลไวน์ และอาหารในหาดเซาท์บีช ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองไมอามี่ แต่ไม่มีมาตรฐานแห่งชาติ หรือโครงการของรัฐบาล ในการใช้สุนัขเพื่อดมกลิ่นหาสิ่งผิดปกติอย่างเป็นรูปธรรม

 

“ไซเตียน ออตโต้” ผู้อำนวยการ Penn Vet Working Dog Center โรงเรียนสัตวแพทยศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย กล่าวว่า “ เธอก็ยังรู้สึกเป็นกังวลอยู่ดี จนกว่าการวิจัยสุนัขดมกลิ่นโควิด-19 จะได้รับการพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นไป โดยเฉพาะการดมกลิ่นไวรัสโคโรน่าที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง และช่วยให้ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้รับการรักษา โดยที่การใช้สุนัขดมกลิ่นไม่ทำงานพลาด เพราะอยากให้ทุกคนปลอดภัยจากโรคระบาดดังกล่าว”


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"