จิตอาสาเก็บขยะต้นแบบชุมชนไร้ถัง 'ไพรินทร์ เรืองอร่าม' คว้า ทสม.ดีเด่นระดับประเทศ


เพิ่มเพื่อน    

4 มิ.ย.64 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางไพรินทร์ เรืองอร่าม อาสาสมัครเก็บขยะสู่ความคิดต้นแบบชุมชนไร้ถัง ได้รับเกียรติจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่งตั้งให้เป็นอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านหนองเหียง จนได้รับคัดเลือกเป็น ทสม.ดีเด่นระดับประเทศ ด้านการจัดการขยะมูลฝอยประจำปี 2563

นางไพรินทร์ เรืองอร่าม กล่าวว่า ในวันที่ตัวเองเป็นลมในเหตุการณ์นั้นได้กลายเป็นตัวจุดชนวนความคิดขึ้นว่า การที่เราทิ้งขยะแบบไม่คิดอะไร คนที่เก็บขยะคงจะเหนื่อยแบบที่เราเป็นตอนนี้ทำให้เธอลุกขึ้นมาใช้ความสามารถที่ตัวเองมี ขับเคลื่อน สร้างสรรค์และส่งต่อพลังแห่งการจัดการปัญหาขยะชุมชนจนทำให้บ้านหนองเหียงตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมชนขนาดเล็กตั้งอยู่ระหว่างทางผ่านแหล่งท่องเที่ยวสำคัญระดับประเทศกลายเป็นปลายทางของการศึกษาดูงานด้านจัดการขยะ

“การที่เราทิ้งขยะแบบไม่คิดอะไร คนที่เก็บขยะคงจะเหนื่อยแบบที่เราเป็นตอนนี้” นี่คือคำพูดของ ไพรินทร์ เรืองอร่าม ทสม.ดีเด่น ระดับประเทศ ด้านการจัดการขยะมูลฝอย ที่เธอได้กล่าวไว้ในวันที่เธอยังเป็นอาสาสมัครเก็บขยะ เธอจึงลุกขึ้นมาสร้างแนวคิดในการจัดการขยะ โดยเริ่มต้นจากการหาข้อมูลความรู้ที่จะช่วยให้เธอเข้าใจถึงปัญหา และทราบแนวทางการจัดการขยะ พร้อมกับศึกษาดูงานจากชุมชนใกล้เคียงที่สามารถจัดการขยะได้จนสำเร็จ

นางไพรินทร์ ได้ศึกษาและลงมือทำจริงในเรื่องการจัดการขยะทำให้พบว่า ถ้าได้ทำการแยกประเภทขยะแล้ว จะมีขยะที่ต้องทิ้งจริงๆน้อยมาก แต่ที่เพื่มขึ้นมาคือวัสดุที่สามารถนำไปรีไซเคิลซึ่งขายได้ราคา และวัสดุที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ส่วนที่ต้องลงถังทิ้งก็คือ เศษขยะชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น เปลือกถูกอม ขยะอันตราย เช่น ถ่านไฟฉาย ขวดสารเคมี และขยะติดเชื้อ เช่น ผ้าอนามัย ผ้าพันแผล และที่ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อปี 2559 เธอได้ก่อตั้งธนาคารขยะขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางในการจัดการขยะของชุมชน และเป็นศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนบ้านหนองเหียง

ผลที่ได้ คือ ถังขยะส่วนกลางมากกว่า 500 ใบลดลงเหลือเพียง 68 ใบ จากทั้งหมด 7 จุดหมู่บ้าน ความสำเร็จที่เกิดขึ้นทำให้คนในชุมชนเห็นภาพชัดมากขึ้น สร้างความตื่นตัวจนทำให้แนวคิดนี้ค่อยๆขยายเครือข่ายออกไปเรื่อยๆ 16 หมู่บ้าน

หลักสำคัญในการคัดแยกและจัดการขยะในชุมชน แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) ขยะรีไซเคิล เช่น กระดาษ ขวดแก้ว ขวดพลาสติกโลหะ จะรวบรวมไปขาย หรือส่งมอบให้หน่วยงานที่นำขยะเหล่านั้นไปผลิตใหม่ เช่น กล่องนมยูเอชที สามารถนำไปทำเป็นสื่ออักษรเบรลล์ให้กับผู้พิการทางสายตาได้

2) วัตถุอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ เช่น ใบไม้ เศษอาหารนำไปหมักในถังรักษ์โลก (Green Cone) หรือทำปุ๋ยหมัก และนำปุ๋ยหมักนั้นกลับมาแจกจ่ายในชุมชน สำหรับปลูกต้นไม้เพื่อลดการใช้สารเคมี

3) ขยะใช้ไม่ได้ อย่างเช่น หลอด สามารถนำไปทำหมอนหนุนของผู้ป่วยติดเตียง และถุงน้ำยาปรับผ้านุ่มใช้ทำเป็นถุงเพาะกล้าไม้
นอกจากการดำเนินงานในเชิงรุกแบบเข้าถึงปัญหา ไพรินทร์ยังมีการนำเทคโนโลยีสื่อออนไลน์ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น Line Facebook และบอกเล่าความสำเร็จของชาวบ้านสู่สาธารณะชนเกิดความภาคภูมิใจและเป็นกำลังใจให้ทุกคนอยากทำงานต่อไป 

ความสุขที่ต้องลงทุนด้วยความเสียสละและหยาดเหงื่อในวันนี้ของไพรินทร์ กำไรที่ได้อาจมิใช่เงินทองก้อนโตอะไร หากแต่มันคือความยั่งยืนในการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีของคนในชุมชนบ้านหนองเหียงแห่งนี้

#ชีวิตวิถีใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม #กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม #กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
https://www.youtube.com/watch?v=ggfnsKu3vkE


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"