เครือข่ายองค์กรครูคาใจไม่ปรับโครงสร้างศธ.


เพิ่มเพื่อน    



4 มิ.ย.64-กลุ่มเครือข่ายองค์กรครู ข้องใจ เหตุใดโครงสร้าง ศธ. ใน ร่างพ.ร.บ.การศึกษาชาติฯ ยัง ไม่มีการปรับแก้ "ธนชน"  เผยมอบอำนาจให้ผู้ว่าฯจังหวัด เป็นประธานประชุมสถานศึกษา  ขัดกับหลักการกระจายอำนาจ  บริหารแบบ  Single comand  แถมเอื้อให้เอกชนมีบทบาทจัดการศึกษามากเกินไป
 

นายธนชน มุทาพร ประธานชมรมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแห่งประเทศไทย กล่าวถึงร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....ที่ผ่านมติ ครม. ไปเมื่อเร็วๆ นี้ ว่า จากการที่กลุ่มเครือข่ายองค์กรครูได้หารือร่วมนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ว่า ได้ข้อสรุปให้แก้ไขใน 4  ประเด็นหลักประกอบด้วย  1.ให้ใช้ใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพครู  เช่นเดิม  2. ให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงและเป็นวิชาชีพควบคุม  3.ให้เปลี่ยนตำแหน่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา  4.ให้ปรับปรุงโครงสร้างเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ  แต่สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี  กลับส่งไปให้กฤษฎีกาแก้ไขเพียง 3 ข้อแรกเท่านั้น   โดยไม่นำเสนอข้อที่ 4 คือการปรับปรุงโครงสร้างเพื่อรองรับการกระจายอำนาจไปให้กฤษฎีกาแก้ไขแต่อย่างใด จึงเป็นที่สงสัย  คลางแคลงใจอย่างยิ่ง เพราะองค์กรครูทั่วประเทศต่างไม่เห็นด้วยกับโครงสร้างการรวบอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางทั้งในมาตรา  106 ที่ให้อำนาจปลัดกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชา  การให้อำนาจกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ชี้นำแทรกแซงรัฐสภาในการออกกฎหมายระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ  และสาระบัญญัติของ  ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้  ไม่มีมาตราใดที่กล่าวถึงหน่วยงานการศึกษาระดับจังหวัดและเขตพื้นที่การศึกษาแต่อย่างใด  แต่กลับกล่าวถึงผู้ว่าราชการจังหวัดให้มีอำนาจจัดการประชุมประธานคณะกรรมการสถานศึกษา แทนที่จะเป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยงานการศึกษาในระดับจังหวัดโดยตรงเป็นผู้รับผิดชอบ

"ขณะนี้จึงเป็นที่คลางแคลงใจ ว่า  โครงสร้างศธ.ในระดับจังหวัดหรือเขตพื้นที่การศึกษาจะมีหรือไม่หรือ จะให้ปลัด ศธ.มอบอำนาจการบังคับบัญชาครูให้ผู้ว่าราชการจังหวัด  เพื่อให้เกิดการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จเข้าสู่โครงสร้างอำนาจนิยมมากยิ่งขึ้น  ซึ่งโครงสร้างอำนาจลักษณะดังกล่าวนี้เป็นอุปสรรคต่อการกระจายอำนาจให้สถานศึกษามีอิสระในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะเป็นการบริหารแบบ  single comand  ซึ่งไม่เหมาะกับ ศธ.   ที่เป็นกระทรวงสร้างคนให้มีปัญญา มีความเป็นอิสระสร้างสรรค์ โดยไม่ควรใช้อำนาจใดมากดทับความคิด และความอิสระของหน่วยงานการศึกษาทุกระดับ"ประธานชมรม ผอ.สพท.แห่งประเทศไทย กล่าว

นายธนชน กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเด็นที่จะต้องแก้ไขให้เกิดความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  เช่น  การไม่กำหนดให้มีผู้บริหารการศึกษา  การไม่ชัดเจนของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องนั้นหมายถึงหน่วยงานใด  การกำหนดเป้าหมายให้ครูและนักเรียนปฏิบัติตายตัว การเอื้อให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมจัดการศึกษาเกินความเหมาะสมมากเกินไป ซึ่งเป็นการผลักภาระให้กับผู้ปกครองเสียค่าใช้จ่ายในการจ่ายค่าเล่าเรียนให้บุตรหลานเพิ่มขึ้น  และอาจเปิดโอกาสให้นายทุนทั้งในและนอกประเทศ  เข้ามาลงทุนการจัดการศึกษา จนอาจกระทบต่อสถานศึกษาเอกชนที่จัดการศึกษาอยู่


"ผมจึงต้องการให้รัฐบาล  และรัฐสภา  ได้โปรดพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวนี้ด้วยความรอบคอบ โดยยอมรับฟังผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงให้มาก เพราะ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้ยกร่างขึ้นมาโดยผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติในพื้นที่จริง  เป็นการร่างโดย  คนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้คิด  ซึ่งอาจจะมองไม่เห็นปัญหาเมื่อนำสู่การปฏิบัติ " นายธนฃน กล่าว
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"