พาณิชย์แก้ลำเวียดนามสกัดนำเข้ารถยนต์จากไทย


เพิ่มเพื่อน    

“พาณิชย์”เดินหน้าแก้ปัญหาส่งออกรถยนต์ไทยไปเวียดนาม เตรียมเสนอทำความตกลงยอมรับร่วม (MRA) เพื่อแก้ปัญหาการตรวจสอบมาตรฐานสิ่งแวดล้อม พร้อมเดินหน้ากดดันให้ยกเลิกการใช้มาตรการในทุกเวที พร้อมทำแผนรับมือสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วน    

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือกับกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ว่า ในการแก้ไขปัญหาเวียดนามกีดกันการนำเข้ารถยนต์ ได้ข้อสรุปที่จะทำการกดดันเวียดนามให้มากยิ่งขึ้นและเข้มข้นกว่าในช่วงที่ผ่านมา โดยจะผลักดันให้มีการจัดทำความตกลงยอมรับร่วม (MRA) มาตรฐานยานยนต์ไทย-เวียดนาม เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการขอเอกสารรับรองจากหน่วยงานรัฐ และแก้ปัญหาการเสียเวลาและค่าใช้จ่ายที่หน่วยงานทั้งสองฝ่ายตรวจซ้ำในเรื่องเดียวกัน

“การจัดทำ MRA จะช่วยแก้ปัญหาความซ้ำซ้อน ไม่ต้องตรวจสอบซ้ำที่เวียดนามอีก โดยในส่วนของไทยจะมีกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ดูแล และกำลังจะดูว่าหน่วยงานที่รับรองผิดชอบเวียดนามคือใคร จะได้คุยให้ถูกจุด เพื่อแก้ปัญหา ซึ่งหากทำได้ ก็จะช่วยลดขั้นตอน และทำให้การส่งออกรถยนต์ไปเวียดนามเร็วขึ้น สะดวกขึ้น โดยจะเสนอเวียดนามในเวทีการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ในเดือนส.ค.นี้”

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ กรมฯ จะทำหนังสือถึงเวียดนามเพื่อแจ้งข้อกังวลเรื่องความล่าช้า และการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการส่งออกรถยนต์ของผู้ประกอบการไทย ซึ่งเดิมพบว่าการส่งออกรถยนต์ไปเวียดนาม ใช้ระยะเวลานำรถออกไม่เกิน 3-4 วัน เพิ่มเป็น 30 วัน เพื่อให้เวียดนามได้รับรู้ และเร่งแก้ไขปัญหา และยังจะหยิบยกเพื่อกดดันในเวทีต่างๆ ที่มีโอกาสพบปะกับเวียดนาม ทั้งในกรอบอาเซียน การประชุมในกรอบองค์การการค้าโลก (WTO) และเวทีอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ในปัจจุบัน หลังจากที่เวียดนามได้ออกระเบียบควบคุมการนำเข้ารถยนต์ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2561 กำหนดให้รถยนต์ที่นำเข้าทุกรุ่น ทุกแบบ และทุกครั้ง ต้องตรวจสอบมาตรฐานสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยกับห้องทดลองของรัฐบาลเวียดนาม พบว่า ไทยยังมีการส่งออกไปเวียดนามประมาณ 6,500 คัน หรือ 10% ของเป้าส่งออก 65,000 คัน จึงอยากแนะนำให้เอกชนเร่งส่งออก เพราะแม้จะมีความล่าช้า แต่ก็ยังส่งออกได้ ส่วนปัญหาข้อติดขัด ภาครัฐก็ดำเนินการแก้ไขอยู่

นางอรมนกล่าวว่า สำหรับกรณีที่สหรัฐฯ เปิดไต่สวนสินค้ายานยนต์และชิ้นส่วนนำเข้าจากต่างประเทศตามมาตรา 232 ของกฎหมาย Trade Expansion Act ปี 1962 ได้มีการหารือร่วมกับภาคเอกชน เพื่อเตรียมมาตรการรับมือแล้ว โดยเห็นว่าการพิจารณาจะใช้เวลาประมาณ 9 เดือนถึงจะได้ข้อสรุป และจากนั้นประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะมีเวลาอีก 3 เดือนในการตัดสินว่าจะขึ้นภาษีหรือไม่ แต่เพื่อเป็นการไม่ประมาท ระหว่างนี้จะมีการเตรียมการด้านข้อมูลต่างๆ เพื่อเอาไว้ใช้ชี้แจงกับสหรัฐฯ ว่าการส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วนของไทยไม่ได้กระทบต่ออุตสาหกรรมของสหรัฐฯ และกระทบความมั่นคงของสหรัฐฯ เพราะไทยส่งออกไปสหรัฐฯ ในลำดับที่ 18 มีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จากที่สหรัฐฯ นำเข้าจากทั่วโลก 2.9 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากนี้ ยังได้แนะนำภาคเอกชนให้ทำการคุยกับผู้ซื้อ ผู้นำเข้า ซึ่งเป็นคู่ค้า ให้เตรียมความพร้อม เพื่อขอให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ยกเว้นการเก็บภาษีเป็นรายสินค้า เหมือนกับที่ทำสำเร็จแล้วกรณีที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม ส่วนกระทรวงพาณิชย์ก็จะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมในการชี้แจงสหรัฐฯ และขอให้ยกเว้นการเก็บภาษีเป็นรายประเทศด้วย ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนยังจะเตรียมผลักดันการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ เช่น สหภาพยุโรป (อียู) ในส่วนของยางล้อ เป็นต้น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"