'บีอาร์เอ็น'ต่างหากที่เป็น'ฆาตกร'มือเปื้อนเลือดในเดือนแห่งความบริสุทธิ์


เพิ่มเพื่อน    

        

แฟ้มภาพ              

        สถานการณ์การก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วย จ.ยะลา, ปัตตานี, นราธิวาส และสงขลาบางส่วน ในห้วงของเดือนเมษายน-พฤษภาคม ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า เหตุร้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น เหมือนกับการเดิน ย้อนกลับ ไปสู่สถานการณ์ความรุนแรงในอดีต หรือเหมือนกับสถานการณ์เมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา

      โดยเฉพาะในห้วงของเดือน รอมฎอน ของปีนี้ ซึ่งผ่านไปแล้ว ครึ่งทาง มีเหตุการณ์ร้ายที่ปลุกระดมคนในพื้นที่ไม่ให้ความร่วมมือกับ รัฐไทย ต่อด้วยการโจมตีชุดคุ้มครองตำบล (ชคต.) และฐานปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ ใน อ.ยะหา จ.ยะลา และเหตุการณ์อื่นๆ ทั้งฆ่ารายวัน และการก่อกวนในทุกรูปแบบ ซึ่งนั่นคือเหตุการณ์ก่อนเข้าสู่เดือน รอมฎอน ที่ถูกเรียกขานว่าเป็นเดือนแห่งการปฏิบัติ ศาสนกิจ ด้วยความ บริสุทธิ์ และเป็นเดือนแห่งความ ศักดิ์สิทธิ์ ของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม

   และหลังจากเข้าสู่เดือน รอมฎอน เพียงไม่กี่วัน ท่ามกลางความขัดแย้งในประเด็น ฮิญาบ ระหว่างเด็กนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน กับผู้บริหารโรงเรียน อนุบาลปัตตานี แนวร่วมขบวนการแบ่งแยกดินแดนก็ถือโอกาสขยายผลความขัดแย้งที่เกิดขึ้นด้วยการ ก่อวินาศกรรม ตู้เอทีเอ็มของธนาคารหลายแห่ง รวมทั้งการก่อวินาศกรรมเสาไฟฟ้าแรงสูง และการซุ่มโจมตีฐานปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ใน 4 จังหวัดรวม 24 จุด ในค่ำคืนเดียว

   แม้ว่า กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า จะมีการแถลงข่าวว่า สามารถจับกุมผู้ก่อเหตุได้ 6 คน และออกหมายจับแล้วจำนวนหนึ่ง แต่นั่นหมายถึงหลังจากการก่อเหตุแล้วหลายวัน แต่ก็ถือว่าเป็น ข่าวดี ที่อย่างน้อยผู้ก่อเหตุก็ไม่ได้ ลอยนวล อยู่เหนือกฎหมาย

    หลังจากการใช้ อาร์เคเค ก่อเหตุร้าย ซึ่งเป็นปฏิบัติการทาง ทหาร ในระดับสร้างความ ปั่นป่วน ได้แล้ว ปฏิบัติการต่อไปของบีอาร์เอ็น คือการป่วนข่าวลวง เพื่อสร้างความ ตื่นตระหนก ให้กับคนในพื้นที่ และสร้างความ กดดัน ให้กับ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าอย่างต่อเนื่อง

     นั่นคือการอัด คลิปเสียง ด้วยการแจ้งเตือนคน มุสลิม ในพื้นที่ให้ระวัง อันตราย เพราะจะมีการก่อเหตุร้ายในวันที่ 30 พ.ค. โดยขอให้ทุกคนงดออกจากบ้าน จนกลายเป็นประเด็นการ ส่งต่อ หรือ แชร์ข่าว ในโลกของ โซเชียล อย่างล้นหลาม

    ต่อด้วยการปล่อยข่าวเพื่อสร้างความ ตื่นตระหนก ด้วยเรื่องแจ้งเตือนมี จยย.บอมบ์ ในเขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งกำลังมีงานประจำปี คืองาน หลักเมือง และการเตรียมก่อวินาศกรรมด้วย จยย.บอมบ์ จำนวน 18 คัน เป้าหมายอยู่ที่เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งแน่นอน มีประชาชนเป็นจำนวนมากที่ หวั่นไหว กับข่าวลวงที่เกิดขึ้น และแม้ว่า กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า จะได้ออกมาชี้แจงว่าเป็น ข่าวปล่อย เป็น ข่าวลวง ของขบวนการ แต่คนส่วนหนึ่งก็ยัง หวั่นไหว เพราะมีความรู้ที่ ติดลบ กับหน่วยงานของรัฐ ที่มีหน้าที่ทำ ไอโอ ตามหน้าที่เท่านั้น

   เดือน รอมฎอน จึงกลายเป็นเดือนแห่งความ โหดร้าย เป็นเดือนแห่งการเฝ้าระวัง ทั้งของเจ้าหน้าที่และของคนในพื้นที่ ซึ่งไม่รู้ว่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เนื่องจากข่าวใน เชิงลึก จากหน่วยข่าวความมั่นคง แจ้งเตือนให้ทุกฝ่ายระมัดระวัง เพราะพบว่า แกนนำ ในฝั่ง เพื่อนบ้าน ได้สั่งการให้ อาร์เคเค ในพื้นที่ โจมตีเป้าหมายที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐในทุกพื้นที่เพื่อสร้างผลงาน

    โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่าง อาร์เคเค กลุ่มเดิม กับ อาร์เคเค น้องใหม่ ที่ได้รับการฝึกมาใหม่อีก 500 คน เพื่อเร่ง ดีกรี ความร้อนแรงของ ไฟใต้ ในห้วงเวลาตั้งแต่ 10 วันแรก ก่อนเข้าสู่เดือน รอมฎอน และ 10 วันหลัง ก่อนที่จะสิ้นเดือน รอมฎอน

   นอกจากนั้นยังมี อาร์เคเค รุ่นใหม่ ซึ่งถูกนำไปฝึกการใช้ สไนเปอร์ จำนวน 60 คน และกลับเข้าสู่พื้นที่แล้ว 30 คน เพื่อการทำ ภารกิจ ตามคำสั่งของบีอาร์เอ็น

    และยังมีมือก่อวินาศกรรม รุ่นใหม่ ที่ถูกฝึกให้มีความชำนาญในการใช้ระเบิดชนิดร้ายแรง จำนวน 18 คน ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ เพื่อรอรับคำสั่งในการประกอบ ระเบิดแสวงเครื่อง ในการก่อวินาศกรรม

   ดังนั้นวันนี้จึงยังไม่ใช่วันที่ 3 จังหวัด 4 อำเภอ เข้าสู่ โหมด ของการที่ ไฟใต้ ค่อยๆ มอดลง อย่างที่ฝ่ายความมั่นคงพยายามทำ ไอโอ เพื่อให้ นายเหนือ เห็นถึงผลงานในรอบ 2 ปี ของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า และให้คนในพื้นที่สบายใจว่า นโยบายในการดับ ไฟใต้ ของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้ เดินมาถูกทางแล้ว

   เพราะสิ่งที่พบเห็นในเดือน รอมฎอน ปีนี้คือ กำลังของ อาร์เคเค ในหลายพื้นที่ ซึ่งมวลชนยังให้การสนับสนุน ด้วยการตั้งด่านตรวจใกล้ๆ กับด่านของเจ้าหน้าที่ ประมาณ 1 กิโลเมตร พร้อมถามประชาชนที่สัญจรบนเส้นทางว่า ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับ อาร์เคเค ที่เป็นกองกำลังของ ฟาตอนี จะเชื่อใคร

   และในพื้นที่ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ที่รัฐเลือกให้เป็นพื้นที่ เซฟตี้โซน ปรากฏกองกำลังติดอาวุธแต่งเครื่องแบบของนักรบฟาตอนี เคลื่อนไหวในพื้นที่นอกตัวเมืองเพื่อ สื่อสาร กับชาวบ้าน เพื่อให้เห็นว่า อาร์เคเค ยังมีกองกำลัง และมีความสามารถในการ คุกคาม มวลชน ที่ยังไม่ให้การสนับสนุนขบวนการ

     และแม้กระทั่งการนำสิ่งของมอบให้คนในพื้นที่ชนบทในเดือน รอมฎอน เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง และอินทผาลัม เพื่อแสดงความห่วงใย เช่นเดียวกับที่ฝ่ายรัฐนำอินทผลัม มอบให้กับผู้นำศาสนาในเดือน รอมฎอน

    ที่น่าสนใจคือ พบว่ามีการ นัดหมาย จาก แกนนำ ในประเทศเพื่อนบ้าน กับ แกนนำ จากพื้นที่ 3 จังหวัด ก่อนที่จะสิ้นเดือนละศีลอด เพื่อเป็นการประชุมร่วมกัน

    ทั้งหมดคือความ เคลื่อนไหว ที่หน่วยข่าวความมั่นคงตรวจพบความเคลื่อนไหวของขบวนการ ซึ่งปฏิบัติการทุกอย่าง สอดคล้อง กับเนื้อความที่แขวนบนป้ายผ้า ก่อนที่จะเข้าสู่เดือน รอมฎอน โดยเป็นการ สื่อสาร กับมวลชนของเขา และมวลชนในพื้นที่ ซึ่งยังไม่ใช่ แนวร่วม ของบีอาร์เอ็น

    แต่..สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือประเด็นของ ฮิญาบ ที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนอนุบาลปัตตานี ซึ่งไม่ว่าผู้ที่เปิดประเด็นของความขัดแย้งจะตั้งใจ หรือเป็นเหตุ บังเอิญ ก็ตาม และประเด็นเรื่อง ฮิญาบ กลายเป็น เงื่อนไข ทาง การเมือง ที่บีอาร์เอ็นได้ หยิบฉวย ไปเป็นประโยชน์ในทางการ ทหาร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

   สมมติถ้าผลของความ ขัดแย้ง ในเรื่องของโรงเรียนอนุบาลปัตตานี ออกมาในรูปแบบที่นักเรียนทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน ที่ บัญญัติ โดย คณะสงฆ์ เพราะที่ตั้งโรงเรียนอยู่ในพื้นที่ ธรณีสงฆ์ ซึ่งได้มีการปฏิบัติตามระเบียบมาแล้ว 50 ปี บีอาร์เอ็นก็จะฉวยโอกาสว่ารัฐไทยไม่ให้เสรีภาพในการแต่งกายตามบทบัญญัติของศาสนา และสิ่งที่ตามมาคือ เหตุร้ายอาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่แบบ ดาวกระจาย ชนิดปฏิบัติการทาง ทหาร ที่ได้ใจ การเมือง

   ดังนั้น สถานการณ์ รอมฎอน ปีนี้ จึงเป็นอีกปีหนึ่งที่ บีอาร์เอ็น นำเอาความ บริสุทธิ์ และความ ศักดิ์สิทธิ์ ของศาสนา มาสร้างรอย เปื้อนเลือด ให้เกิดขึ้นกับประชาชน มุสลิม ณ แผ่นดิน ปลายด้ามขวาน อีกครั้งหนึ่ง.

                                                           เมือง ไม้ขม รายงาน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"