การ์ดอย่าตกเฝ้าระวังโควิด-19 ช่วงอากาศเปลี่ยนเข้าสู่หน้าฝน


เพิ่มเพื่อน    

 

              วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี องค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนดให้เป็น "วันสิ่งแวดล้อมโลก" ซึ่ง 1 ในเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) คือการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิกาศ (Climate change) ที่มีความแปรปรวนและร้อนขึ้นจนประชากรโลกต้องปรับตัวกันอยู่ตลอดเวลา ในขณะเดียวกันก็ต้องรับมือกับวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

                คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้นำการศึกษาและวิจัยโรคเขตร้อนระดับภูมิภาคเอเชีย โดยอาจารย์ ดร.นพ.สัณฑ์ ม่วงน้อยเจริญ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ได้แสดงความห่วงใยประชาชนที่ต้องรับมือกับปัญหาวิกฤติ COVID-19 ในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ฤดูฝนว่า ถึงแม้ยังไม่มีรายงานว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate change) จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 แต่ประชาชนก็ไม่ควร "การ์ดตก" ซึ่งความเปียกชื้นในช่วงฤดูฝนจะทำให้เชื้อไวรัส COVID-19 อยู่บนพื้นผิวได้นานขึ้น จึงควรระวังมากขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดการสัมผัสต่อเชื้อ โดยหลีกเลี่ยงการที่จะต้องไปอยู่ในที่แออัด และไม่ละเลยที่จะล้างมือและใส่หน้ากากอนามัยป้องกันอยู่เสมอเวลาที่ไม่ได้อยู่เพียงคนเดียว ทั้งในบ้านและนอกบ้าน ตลอดจนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน

                อาจารย์หมอสัณฑ์กล่าวเพิ่มเติมว่า แต่ละบุคคลมีความจำเป็นและเหมาะสมต่อการเข้ารับการฉีดวัคซีน COVID-19 ที่แตกต่างกัน จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อน ซึ่ง "กลุ่มเสี่ยง" ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง อาทิ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอด โรค NCDs (โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) รวมถึงกลุ่มที่เป็นโรคอ้วน จะเป็นกลุ่มที่ถ้าติดเชื้อ COVID-19 แล้วจะมีอาการรุนแรง หรือมีภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป แต่อาจฉีดได้ในรายที่สามารถควบคุมอาการได้ดี

                กรณีห้ามฉีดวัคซีน COVID-19 นั้น อาจารย์หมอสัณฑ์อธิบายว่า ได้แก่ผู้ที่มีประวัติการแพ้วัคซีนรุนแรงมาก่อน ซึ่งจะมีอาการหลายระบบ ได้แก่ อาการทางระบบผิวหนัง เช่น ผื่น คัน ลมพิษ ร่วมกับอีกอย่างน้อย 1 อาการระบบ ได้แก่ อาการระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น หน้ามืด หมดสติ ความดันโลหิตต่ำ หรืออาการระบบทางเดินหายใจ เช่น เหนื่อย หายใจมีเสียงหวีด หรืออาการระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งหากมีประวัติแพ้วัคซีนรุนแรง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนฉีด

                "สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate change) และฤดูฝนที่กำลังจะเข้ามา ยังมีโรคอื่นๆ ที่ต้องเฝ้าระวังไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 คือ โรคไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ หรือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจอื่นๆ รวมถึงโรคที่เกิดจากอาหารการกิน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาหารเป็นพิษ และอื่นๆ อีกหลายโรค จึงอยากให้ประชาชนรักษาสุขภาพให้ดี หากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์" อาจารย์ ดร. นพ.สัณฑ์ ม่วงน้อยเจริญ กล่าวทิ้งท้าย.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"