เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พ.ค.ของทุกปี มีรายงานข่าวล่าสุดจากผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารการรายงานทางวิทยาศาสตร์อย่าง Scientific Reports มาเตือนคุณผู้หญิงเพื่อให้ตระหนักรู้ว่า สาวๆควรติด#แฮทแทคเตือนใจอันดับ 1 เกี่ยวกับเรื่องไม่ควรทำ นั่นคือการสูบบุหรี่ หากไม่อยากเจอกับภาวะสมองเสื่อม
หลังจากวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้คนมากกว่า 70,000 คนที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 85 ปีทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัย Genomics องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร (TGen) ค้นพบว่าการสูบบุหรี่และโรคหัวใจ และหลอดเลือดมีความสัมพันธ์โดยตรง กับการทำงานของความรู้ความเข้าใจ ในสมองของมนุษย์เรา
ทั้งนี้การสูบบุหรี่ เชื่อมโยงกับสุขภาพหัวใจและโรคหลอดเลือดได้ เพราะเกิดจากปัจจัยต่างๆเช่น ความดันโลหิตสูง จึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูง คอเลสเตอรอลสูง ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลมาจากโรคอ้วน ที่สำคัญปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้และจดจำลดลง อย่างโรคสมองเสื่อม แต่มักจะเกิดขึ้นในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับเพศ ผลกระทบที่เป็นอันตราย ซึ่งผลการวิจัยได้ระบุว่าการสูบบุหรี่จะส่งผลกระทบต่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะการเป็นโรคสมองเสื่อม ในขณะที่ผู้ชายที่สูบบุหรี่มักจะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่า กล่าวอีกนัยหนึ่งเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อมหนึ่ง สิ่งที่ดีที่สุดที่ผู้หญิงไม่ควรทำ คือ อย่าเริ่มสูบบุหรี่ หรือหยุดสูบบุหรี่โดยเร็วที่สุด
ผลการวิจัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าการสูบบุหรี่ และโรคหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลต่อการเรียนรู้ทางคำพูด และความจำไปจนกระทั่งเมื่อคุณอายุมากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่อายุ 18 ปีเป็นต้นไป
ด้าน ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยา อย่าง “ดร.แมทท์ ฮูเลนเทลแมน” บอกว่า “ การสูบบุหรี่จะทำให้ทั้งการรับรู้ และเรียนรู้สิ่งต่างๆ รวมถึงความจำในผู้หญิงทำได้ลดน้อยลง ซึ่งภาวะความทรงจำที่น้อยลงจะพบโดยตรงในผู้หญิงมากกว่า ในขณะที่ผู้ชายสูบบุหรี่ก็มักจะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับ โรคหัวใจและหลอดเลือด อีกทั้งมีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ และความทรงจำที่ลดลงในผู้ชายได้ด้วยเช่นกัน”
นอกจากนี้โรคอัลไซเมอร์ นั้นเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งได้รับการยอมรับในปัจจุบันนั้น คือการลดลงของความรู้ความเข้าใจ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้คนป่วยเป็นโรคหลอดเลือด จะส่งผลต่อความบกพร่องทางสติปัญญา และทำให้เกิดเป็นภาวะสมองเสื่อมในที่สุด (VCID) ซึ่งตกตะกอนหรือเป็นผลพวง จากโรคหลอดเลือดสมอง ที่สร้างความเสียหายให้กับหลอดเลือดอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความจำ และความสามารถในการคิด ดังนั้นกล่าวโดยสรุปว่าการสูบบุหรี่ และโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง เป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงต่อ VCID หรือภาวะสมองเสื่อมนั่นเอง
สมาคมโรคหลอดเลือดสมองในอเมริกา อย่าง American Heart Association และ American Stroke Association มีคำแนะนำ 7 ขั้นตอนที่ควรทำ เพื่อให้เราห่างไกลจากโรคสมองเสื่อมได้ 1.ไม่สูบบุหรี่ 2. การจัดการความดันโลหิต 3. รักษาระดับคอเลสเตอรอล หรือควบคุมไขมันในร่างหาย ให้อยู่ในระดับที่ดีต่อสุขภาพ 4. ลดน้ำตาลในเลือด 5. เพิ่มการออกกำลังกาย 6. รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสมดุล 7. ลดน้ำหนักหากจำเป็น
นอกจากนี้การป้องกันโรคอัลไซเมอร์ คือ 1. การป้องกันหรือรักษาอาการของโรคซึมเศร้าถ้ามี 2. ลดการแยกทางสังคม หากมี 3. การ จำกัด การดื่มแอลกอฮอล์ 4. ต่อสู้กับความผิดปกติของการนอนหลับถ้ามี 5. ทำให้สมองทำงานอยู่เสมอ 6. การรักษาการสูญเสียการได้ยิน ถ้ามี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |