เครียด-ซึมเศร้า...ช่วงโควิดระบาด ปัญหาสุขภาพจิตที่ต้องเร่งแก้ไข


เพิ่มเพื่อน    

 หลายประเทศทั่วโลกเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติได้บ้างแล้วหลังได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 แต่ที่น่าสนใจคือ ล่าสุดนักจิตวิทยาได้ออกมาเผยว่า คนเมืองลุงแซมกำลังเผชิญหน้ากับความจริงที่ยากลำบาก เพราะหลายคนอาจจะไม่ได้กลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติในเร็วๆ นี้ เนื่องจากกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต อันเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส

รศ.ลูนา มาร์คีว จิตแพทย์จากโรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด “Harvard Medical School” บอกว่า “ฉันกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับผลกระทบในระยะยาว และก็อาจเกิดขึ้นได้กับคนทั่วโลก โดยเฉพาะภาวะโรคซึมเศร้าและความวิตกกังวลที่สูงขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้ว และในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชนั้น คาดการณ์ว่าเราอาจจะพบผู้คนที่อาศัยอยู่ทั่วโลกเกิดปัญหาสุขภาพจิตได้สูงขึ้น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19”

“แคทเธอรีน เอตต์แมน” ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเชิงกลยุทธ์ในสำนักงานคณบดีของโรงเรียนสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบอสตัน และนักศึกษาปริญญาเอกที่ Brown University School of Public กล่าวว่า “จากการวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่า อาการซึมเศร้าที่เกิดจากความวิตกกังวลและอาการเครียดต่างๆ เป็นผลมาจากการเจ็บป่วยและความรุนแรงของไวรัสโควิด-19”

ทั้งนี้ทีมงานวิจัยของ “แคทเธอรีน เอตต์แมน” ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบด้านสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้ว โดยเจ้าตัวหวังว่าการวิจัยของเธอนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนทางวิชาการของเธอ เพื่อขยายเผยแพร่ออกไปในสังคมให้มากขึ้น ที่น่าสนใจคือ ทันทีที่ผลการศึกษาเบื้องต้นของเธอและทีมงานได้เผยแพร่ออกไปก็ไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร โดยเธอได้ทำการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพจิตในช่วงเดือนกันยายนปีที่แล้ว เปรียบเทียบทั้งช่วงก่อนและหลังจากการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งผลปรากฏว่า พบอัตราภาวะโรคซึมเศร้าสูงขึ้นกว่า 3 เท่า หรือคิดเป็นประมาณ 8.5 เปอร์เซ็นต์ของคนทั่วไปที่ไม่ได้ป่วยด้วยปัญหาสุขภาพจิตดังกล่าว ที่น่าสนใจคือ ในช่วงที่มีการระบาดอย่างหนักของไวรัสโควิด-19 หรือช่วงพีกนั้น ทีมวิจัยพบว่ามีผู้ที่ป่วยภาวะซึมเศร้าคิดเป็น 27.8 เปอร์เซ็นต์

ส่วนการสำรวจของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา พบว่า 42 เปอร์เซ็นต์ของชาวอเมริกันมีอาการวิตกกังวลหรือซึมเศร้า และชาวอเมริกันร้อยละ 11 ยอมรับว่าตัวเองเกิดภาวะวิตกกังวลก่อนที่จะมีการระบาดรุนแรงของไวรัสโควิด-19

“แคทเธอรีน” และทีมงานของเธอบอกอีกว่า คนที่เงินน้อยหรือคนยากจนมีแนวโน้มที่จะมีภาวะซึมเศร้ามากกว่าคนที่มีเงินหรือพอมีกำลังทรัพย์”

รศ.ลูนา มาร์คีว กล่าวเพิ่มเติมว่า “จากการเฝ้าสังเกต ฉันมองว่าความมั่งคั่งหรือคนที่ร่ำรวยมักจะไร้ซึ่งความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสร้าย จึงถือว่าการที่คนมีฐานะร่ำรวยก็นับเป็นการป้องกันโรคทางสุขภาพจิตได้ทางหนึ่ง โดยเฉพาะคนที่มีฐานะและต้องกักตัวเองอยู่บ้าน ไม่ต้องออกไปทำงาน ก็เท่ากับเป็นการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคโควิด-19 นั่นจึงเป็นการป้องกันผลกระทบด้านสุขภาพทางอารมณ์นั่นเอง ทั้งนี้เธอยังบอกอีกว่า มีหลายสาเหตุที่ทำให้สุขภาพจิตของผู้คนย่ำแย่ลงในช่วงที่มีการระบาดเพราะความกลัวจะต้องติดเชื้อไวรัสร้าย อีกทั้งหลายคนต้องตกงาน รวมถึงการต้องกักตัวเพียงลำพังยาวนานขึ้นหากการระบาดของไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มไม่ลดความรุนแรงลง ดังนั้นถ้าเราไม่รีบจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตดังกล่าว โดยเฉพาะอาการซึมเศร้า ก็อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจได้ในระยะยาว”

ความบอบช้ำระดับชาติที่มีสาเหตุจากโรคระบาดดังกล่าว สามารถส่งผลกระทบยาวนานต่อสุขภาพจิตได้อย่างไรนั้น อ้างอิงจากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Health ในปี 2019 ได้ศึกษาพบว่าชาวนิวยอร์กกว่า 36,000 คน และเจ้าหน้าที่กู้ภัยหลังจากการโจมตีในเหตุการณ์ 9/11 หรือการก่อวินาศกรรมพลีชีพด้วยการจี้เครื่องบินชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์ก ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก หลังเหตุการณ์นั้นจบลง พบว่า 14 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ได้รับผลกระทบยังคงแสดงอาการของโรคเครียดจากความเจ็บปวดเพราะเหตุการณ์ดังกล่าว และกินเวลาต่อจากนั้นอีก 15 ปี

ด้าน ศ.ไมเคิล ซโวเลนสกี นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยฮุสตัน กล่าวว่า “จะมีผลกระทบระยะยาวอย่างแน่นอน สำหรับกลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการระบาดของไวรัสโควิด-19” เขากล่าวอีกว่า “ประสบการณ์นี้เป็นความเครียดเรื้อรังที่สำคัญในชีวิตซึ่งพบได้ในเกือบทุกราย เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจของใครหลายๆ คน”

สำหรับ การแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตเหล่านี้ไม่ได้หมายความเพียงแค่เราแน่ใจว่าผู้คนสามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพจิตได้ แต่ยังหมายถึงการทำให้แน่ใจว่าพวกเขารู้สึกมั่นคงในชีวิต และหากผู้คนรู้สึกมั่นคงทางการเงินพวกเขาจึงมีโอกาสน้อยที่จะประสบกับภาวะสุขภาพจิตที่แย่ลง

รศ.ลูนากล่าวอีกว่า “คุณจะไม่สามารถจัดการกับสุขภาพทางอารมณ์ได้หากยังไม่ได้ตอบสนองเกี่ยวกับความต้องการขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะเรื่องปากท้อง เพราะสิ่งที่ลืมไม่ได้ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 คือ การแบ่งโซนสีความเข้มข้นของการติดเชื้อในแต่ละสถานที่ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดสิ่งของที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตให้กับคนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักเบาอย่างเหมาะสม เพื่อบรรเทาปัญหาสุขภาพจากเรื่องความเป็นอยู่ลง ทั้งนี้หากผู้เกี่ยวข้องไม่ได้ตระหนักหรือให้ความใส่ใจเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตดังกล่าว อาจทำให้ภาวะเครียดและซึมเศร้าติดอยู่กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบต่อไปในระยะยาว”.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"