ไทยสังเวยโควิดทะลุพันแล้ว สะสมอยู่ที่ 1,012 ราย ส่วนผู้ติดเชื้อใหม่ยังเพิ่ม 2,599 ราย “หมอเบิร์ท” บอกข่าวดีกราฟเริ่มปักหัวลง ไม่พบคลัสเตอร์ใหม่ แต่ตัวเลขยังสูงอยู่ โดยเฉพาะผู้ติดเชื้อในเรือนจำที่ยังเพิ่มต่อเนื่องสะสมทะลุ 1.5 หมื่นราย
เมื่อวันที่ 30 พ.ค. พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันของไทยว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 4,528 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 2,599 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 1,397 ราย มาจากการค้นหาเชิงรุก 1,202 ราย โดยเป็นผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 1,902 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 27 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสม 154,307 ราย หายป่วยสะสม 105,244 ราย เฉพาะวันนี้หายป่วย 2,933 ราย อยู่ระหว่างรักษา 48,051 ราย อาการหนัก 1,209 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 389 ราย มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม 24 ราย เป็นชาย 11 หญิง 13 ราย อยู่ใน กทม. 14 ราย, นนทบุรี 3 ราย และชลบุรี 2 ราย, เชียงใหม่ สมุทรปราการ สมุทรสาคร สุพรรณบุรี และนครศรีธรรมราช จังหวัดละ 1 ราย ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 1,012 ราย
พญ.อภิสมัยกล่าวอีกว่า ในที่ประชุม ศบค.ชุดเล็กได้พูดถึงจำนวนผู้ติดเชื้อในเรือนจำที่มีสูงขึ้น โดยข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ถึงปัจจุบันมีถึง 15,616 ราย ซึ่งการดูแลรักษาผู้ป่วยระดับสีเขียว สีเหลือง สีแดง เบ็ดเสร็จในเรือนจำ ศบค.ชุดเล็กมีความเป็นห่วงตรงนี้ จึงเน้นย้ำให้ดูแลอย่างมีเหมาะสมและมีคุณภาพ ขณะที่ผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศวันที่ 30 พ.ค. มี 1 รายที่เดินทางจากกัมพูชาผ่านทางช่องทางธรรมชาติ และมาเลเซีย 2 ราย โดยวันเดียวกัน มาเลเซียมีการประกาศล็อกดาวน์เต็มรูปแบบหลังมีตัวเลขผู้ติดเชื้อสูง จึงเป็นห่วงว่าคนไทยอาจหาช่องทางกลับบ้านตามแนวชายแดน เราไม่ปฏิเสธ แต่ขอให้กลับมาในช่องทางที่ถูกต้อง ภาครัฐจะให้การดูแล โดยได้กำชับผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา, ยะลา, นราธิวาส และสตูล บูรณาการเฝ้าระวังตรงส่วนนี้ไว้ด้วย
พญ.อภิสมัยกล่าวว่า สำหรับ 5 จังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อสูงสุดวันที่ 30 พ.ค.ได้แก่ กทม. 754 ราย, เพชรบุรี 754 ราย, สมุทรปราการ 264 ราย, นนทบุรี 139 ราย และชลบุรี 90 ราย จะเห็นว่า กทม. ปริมณฑลและจังหวัดใกล้เคียงมีการเคลื่อนย้ายของประชากร ถ้าเราลดการติดเชื้อใน กทม. จะส่งผลไปยังจังหวัดปริมณฑลและจังหวัดใกล้เคียงด้วย ส่วนวันเดียวกัน มีจังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ 22 จังหวัด จังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อไม่ถึง 10 ราย 34 จังหวัด บางจังหวัดเริ่มกลับมามีรายงานผู้ติดเชื้อ แม้มีเพียงไม่กี่คน แต่ทำให้เห็นถึงการทำงานเชิงรุก เราขอเน้นย้ำผู้ว่าราชการจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เฝ้าระวังตรวจสอบบุคคลที่เดินทางเข้าพื้นที่ เนื่องจากการข้ามพื้นที่เป็นปัจจัยหลักของการแพร่ระบาดเชื้อในระยะนี้
“สถานการณ์พื้นที่ กทม. แม้กราฟเหมือนจะปักหัวลง แต่ตัวเลขยังคงค่อนข้างสูง ทั้งนี้ไม่พบคลัสเตอร์ใหม่ การระบาดที่เป็นคลัสเตอร์ยังอยู่ที่ 47 คลัสเตอร์ 28 เขต สำหรับจำนวนตลาดใน กทม.ที่ขึ้นทะเบียนกับ กทม.มีถึง 486 แห่ง ทำการตรวจเชิงรุกในตลาดไปแล้ว 34 แห่ง เจอผู้ติดเชื้อสะสม 106 ราย หลังจากนี้จะระดมตรวจเชิงรุกให้ครบ 486 แห่ง 30,300 รายตามแผน และขอให้ผู้นำชุมชนและผู้จัดการตลาดทำการประเมินตลาดของตัวเองด้วยว่าทำตามมาตรการสาธารณสุขหรือไม่ ขณะที่แคมป์คนงานใน กทม. มีทั้งสิ้น 409 แห่ง มีบริษัทที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักการโยธา กทม. 134 บริษัท โดยผู้อำนวยการสำนักงานเขตจะลงพื้นที่แจ้งต่อผู้ประกอบถึงมาตรการต่างๆ และสำนักการโยธาจะเรียกทั้ง 134 บริษัทมาขอความร่วมมือถึงการดูแลสภาพแวดล้อมในแคมป์คนงานให้ปลอดภัย รวมถึงกำชับการงดการเคลื่อนย้ายคนงานการข้ามเขต หากจะเคลื่อนย้ายต้องขออนุญาต และให้นำมาตรการบับเบิลแอนด์ซีลมาใช้ มาตรการต่างๆ หลายแคมป์ทำได้ดีมาก แต่มีหลายแคมป์ที่ทำไม่ได้ ถ้าทำผิดซ้ำอาจต้องทบทวนบทลงโทษ โดยวันที่ 1-10 มิ.ย.จะมีการลงตรวจเชิงรุกและดูสภาพแวดล้อมในแคมป์คนงาน 30 แห่งนี้”
ด้านนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงแนวทางการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในการให้บริการจัดส่งอาหารและพัสดุแบบ Delivery ว่า สคบ.ได้ทำปฏิญญาความร่วมมือกับผู้ประกอบธุรกิจแล้ว 17 ราย เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการจัดส่งอาหารและพัสดุ โดยได้กำชับให้ สคบ.เร่งรณรงค์และสร้างการรับรู้ให้ผู้ประกอบการ รวมถึงให้ผู้บริโภคร่วมปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด พร้อมเปิดรับข้อมูลประชาชน ผ่านสายด่วน สคบ. 1166 และสายด่วนของรัฐบาล 1111 พร้อมกำชับให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (คคบ.) ขับเคลื่อนการดำเนินงานช่วยเหลือผู้บริโภคเชิงรุกในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งพบว่ามีผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสที่อาจเกิดขึ้นได้ง่ายจากการละเลยและประมาทของผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคของภาครัฐ
?นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในตลาดสดช่วงเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา พบว่ามีการแพร่ระบาดในตลาดสดเขตพื้นที่ กทม.และปริมณฑลเป็นจำนวนมาก ทำให้ กทม.ปิดตลาดทั้งสิ้น 17 แห่ง ซึ่งกรมอนามัยก็ได้กำหนดใช้มาตรการ 8 ข้อ เพื่อยกระดับการควบคุมตลาดสดในพื้นที่สีแดงเข้ม โดยขอให้ผู้ประกอบการตลาดปฏิบัติ ดังนี้ 1.ผู้ประกอบการตลาดต้องประเมินตนเองผ่าน Thai Stop COVID Plus และผู้ค้าหรือลูกจ้างต้องประเมินความเสี่ยงของตนเองผ่านเว็บไซต์ไทยเซฟไทย ซึ่งพบว่ามีตลาดที่ลงทะเบียนจำนวน 3,465 แห่ง ผ่านการประเมิน 2,779 แห่ง ไม่ผ่าน 686 แห่ง 2.จัดทำทะเบียนแผงค้า ผู้ค้า ผู้ช่วยขายของ และแรงงานต่างด้าวที่ปฏิบัติงานในตลาด 3.จัดทำทะเบียนรถเร่จำหน่ายอาหารที่มาซื้อสินค้าในตลาดเพื่อนำไปขายต่อ
4.เพิ่มมาตรการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อลดการสัมผัส 5.กรณีพบผู้ค้า ผู้ช่วยขายของ และแรงงานต่างด้าวป่วย ให้หยุดขายและแจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคในพื้นที่ทันที 6.ปิดตลาดชั่วคราวเพื่อทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการที่จังหวัดกำหนด 7.หากตลาดเปิดทำการให้มีการสลับแผงค้าให้เหมาะสม เพื่อลดความหนาแน่นของแผงค้าและจำนวนคน และ 8.ให้ตลาดปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ และเน้นการรักษาความสะอาดอย่างเข้มข้น
“สำหรับผู้ซื้อสินค้าภายในตลาดควรมีการประเมินตนเองทุกวันผ่านเว็บไซต์ไทยเซฟไทย ก่อนออกจากบ้าน และควรวางแผนการซื้อสินค้าเพื่อลดเวลาการใช้บริการในตลาดต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเข้า-ออก ตามจุดที่ตลาดกำหนดไว้ ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ก่อนและหลังใช้บริการในตลาดทุกครั้ง กรณีซื้ออาหารปรุงสำเร็จ ควรเลือกอาหารที่ปรุงสุก สะอาด ชำระเงินผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อหลีกเลี่ยงการชำระเงินสด หรือการสัมผัสกับผู้ขาย หากมีอาการป่วย มีไข้ ไอจาม ให้งดเข้ามาใช้บริการในตลาด”อธิบดีกรมอนามัยกล่าว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |