สสส.นำเสนอประเด็นประชากรโลก 41 ล้านคนสิ้นชีวิตด้วยโรค NCDs กว่า 3.9 ล้านคนกินผักผลไม้ไม่เพียงพอ หากบริโภคผักผลไม้มากขึ้น ลดอ้วนได้ถึง 24% และลดเสี่ยงโรคมะเร็ง ผอ.ศูนย์พืชผักโลก ยกเคสเมืองไทย รถพุ่มพวงปันสุขขายผักผลไม้ถึงชุมชน สสส.จับมือกระทรวงเกษตรฯ เสนอประกาศวาระแห่งชาติ “ปี 2564 ปีแห่งผักผลไม้สากล” พร้อมผลักดันนโยบายสนับสนุนการขับเคลื่อนอาหารสุขภาวะ สร้างความมั่นคงทางอาหาร ฟื้นเศรษฐกิจ ช่วยชาติยามวิกฤติ ดันเป้าหมายส่งเสริมกินผักผลไม้และอาหารสุขภาวะ สู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ ฉบับที่ 13 ขานรับการประชุมสุดยอดผู้นำระบบอาหารโลก
รถพุ่มพวงปันสุขในเมืองไทย เป็นตัวอย่างที่ดีของการเข้าไปขายผักตามชุมชนต่างๆ
เวทีหารือสาธารณะ อิ่ม...ดี..มีสุข “ผักจะเป็นวาระแห่งชาติได้อย่างไร?” วันพฤหัสฯ ที่ 13 พ.ค. ผ่านทางออนไลน์ระบบ Zoom ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัด ก.เกษตรฯ ผู้ประสานงานประเทศไทย UNFSS ผู้บรรยายและผู้ช่วยประสานงานหลักของประเทศไทย ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผอ.สำนักงานเกษตรต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วย ผจก.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการ ผอ.สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. อำนวย อรรถลังรอง นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ กรมวิชาการเกษตร ดร.เดลฟิน ลาลูส ผอ.ศูนย์พืชผักโลกประจำภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (World Vegetable Center) (worldveg) ดร.โจดี ฮาร์ริส หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านระบบอาหารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์พืชผักโลก (worldveg) ผศ.ดร.สิรินทร์ยา พูลเกิด สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จิราภา จอมไธสง ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและการจัดการการผลิตพืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับและพืชสมุนไพร กรมส่งเสริมการเกษตร ทั้งนี้ในงานมีล่ามแปลเป็นภาษาไทย มาริสา ฉิมประภา และอภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวในเวทีการหารือสาธารณะ อิ่ม... ดี... มีสุข: สำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำระบบอาหารโลก (UNFSS Independent Dialogue in Thailand) ในหัวข้อ “ผักจะเป็นวาระแห่งชาติได้อย่างไร?” ผ่านทางระบบ Zoom Meeting จัดโดย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สสส. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์พืชผักโลก (World Vegetable Center : WorldVeg)
ดร.นพ.ไพโรจน์นำเสนอว่า 41 ล้านคนของประชากรโลกเสียชีวิตจากโรค NCDs (ข้อมูลจาก ก.สาธารณสุข และ WHO) จำนวน 4.72 ล้านคนของประชากรที่อ้วน ทุ่มเงิน 2 ล้านล้านดอลลาร์ คือมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับค่าใช้จ่ายในการรักษา ประชากรโลกกว่า 3.9 ล้านคนกินผักผลไม้ไม่เพียงพอ หากรับประทานผักผลไม้มากขึ้นจะลดอ้วนได้ถึง 24% และยังลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งบางชนิดด้วย WHO ระบุว่า แต่ละคนควรรับประทานผักอย่างน้อย 400 กรัม/วัน
ผลงานปลูกผักจำนวน 470 หลุม เมื่อวันที่ 4-5 พ.ค. ต้นพันธุ์ 40 กก.
จากการสำรวจกลุ่มที่ขาดผักผลไม้วัย 6-9 ขวบ และกลุ่มวัยทำงาน 33-44 ปี โดยเฉพาะคนที่อยู่คนเดียว ผลกระทบจากความมั่นคงทางอาหาร ปัญหาหลักคือมีเงินไม่เพียงพอซื้ออาหาร ได้รับผลกระทบด้านอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง 85.4% อาหารไม่พอรับประทานเพราะมีเงินไม่พอ 53.7% อาหารมีราคาแพงขึ้น 37.2% มีความยุ่งยากหรือยากลำบากในการออกไปซื้ออาหาร 35.6% กังวลว่าอาหารไม่สะอาดมีเชื้อโรค 26.8% รับประทานอาหารชนิดเดิมซ้ำซาก 26.0% ไม่สามารถหาอาหารบางประเภทรับประทานได้ 12.2%
ร้อยละคนไทยที่กินผักเพียงพอ
สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติกำหนดให้ปี 2564 เป็น “ปีแห่งผักและผลไม้สากล” (International Year of Fruits and Vegetables, 2021) เพื่อเพิ่มความตระหนักถึงความสำคัญของผักและผลไม้ในเวทีระดับนานาชาติและระดับโลก ในฐานะที่ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิก ควรทบทวนหรือพัฒนานโยบายที่ให้ความสำคัญกับการกินผักและผลไม้เพื่อสุขภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการ พัฒนาแนวทางปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมการกินผักผลไม้ ลดปริมาณผักผลไม้เหลือทิ้ง และสร้างความมั่นคงทางอาหาร
ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สสส. และภาคีเครือข่าย ร่วมกันรณรงค์และประกาศให้ “ปี 2560 เป็นปีแห่งการบริโภคผัก ผลไม้ปลอดภัย” บูรณาการพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตผักและผลไม้สดปลอดภัยตลอดห่วงโซ่ จากต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ แต่จากการสำรวจสถานการณ์การกินผักและผลไม้ในประเทศไทย ปี 2561-2562 โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า คนไทยมีแนวโน้มกินผักและผลไม้เพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงกินไม่ถึงตามเกณฑ์องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำ 400 กรัม/วัน โดยในปี 2562 ผลสำรวจพบคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปกินผักและผลไม้ไม่เพียงพอสูงถึงร้อยละ 62.5
ดร.นพ.ไพโรจน์กล่าวต่อว่า สสส.ได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมการกินผักและผลไม้ปลอดภัยอย่างเพียงพอ เพื่อความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน โดยเชื่อมโยงกับเป้าหมายและยุทธศาสตร์ระดับชาติ เพื่อเตรียมผลักดันเข้าสู่กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และภาคีเครือข่าย เพื่อส่งเสริมให้คนไทยกินผักผลไม้ปลอดภัยอย่างเพียงพอเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีสุขภาวะที่ดี ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) นำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้ประสานงานหลักของประเทศไทย (National Dialogues Convenor) สำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำระบบอาหารโลก กล่าวว่า ในการประชุม UNFSS ประเทศไทยมีเป้าประสงค์สู่การขับเคลื่อนระบบอาหารที่ยั่งยืน 5 ด้าน คือ 1.การเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการโดยถ้วนหน้า 2.ปรับเปลี่ยนวิถีการบริโภคเพื่อความยั่งยืน 3.การส่งเสริมระบบการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4.ส่งเสริมความเสมอภาคในการดำรงชีวิตและมีกระจายคุณค่าอย่างเท่าเทียม และ 5.การสร้างความยืดหยุ่นปรับตัวได้ในทุกวิกฤติ โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง
จุดเริ่มต้นของระบบอาหารสุขภาพที่มีผักเป็นส่วนประกอบต้องเริ่มจาก “เมล็ดพันธุ์ผัก” เมล็ดพันธุ์ที่ดีถือเป็นส่วนสำคัญที่นำไปสู่คุณภาพของผลผลิตการเกษตรที่ดี เป็นส่วนช่วยพัฒนานวัตกรรมการเกษตรของไทย ทั้งในด้านคุณภาพและประสิทธิภาพผลผลิต และเป็นหนึ่งยุทธศาสตร์ที่สำคัญของความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย “ผัก” ถือเป็นกรณีศึกษาเพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมของระบบอาหาร ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ผลิต..จนเป็น..ขยะ จากการผลิต..สู่..การบริโภค ตลอดจนการสร้างองค์ความรู้นวัตกรรมเพื่อให้การบริหารจัดการสอดคล้องกับเป้าหมายและแนวคิดการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้นการพลิกโฉมระบบอาหารที่จะตอบสนองต่อ 5 วัตถุประสงค์หลักของระบบอาหารที่ยั่งยืนในบริบทของประเทศไทย จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่เราทุกคนต้องมาช่วยสร้างสมดุลและร่วมคิดร่วมทำ
ดร.เดลฟีน ลาลูส ผู้อำนวยการศูนย์พืชผักโลก ภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ยินดีที่ได้ร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของประเทศไทย และ สสส. ในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบอาหาร เพื่อบูรณาการแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนในการผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูป เพื่อส่งเสริมการบริโภคผัก ที่สำคัญคือ ความจำเป็นในการเสริมสร้างนโยบายการกินผักที่เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะและการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่ง WorldVeg มุ่งมั่นอย่างมากที่จะร่วมมือและสนับสนุนรัฐบาลไทย องค์กรภาครัฐและเอกชนของไทย และเกษตรกร ในการเพิ่มการผลิตและการบริโภคผักปลอดภัยสำหรับทุกคน
คนที่ขาดพืชผักผลไม้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทำให้ชีวิตเสี่ยงตาย โอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง เจอปัญหามลพิษจากการสูบบุหรี่ และดื่มสุรา ยิ่งสะสมให้เกิดโรค NCDs “ความสูญเสียอาหารทำให้ลดประสิทธิภาพลง นโยบายด้านอาหารตอบสนองพืชผักในปัจจุบัน จึงได้มีการหารือเพื่อกำหนดเรื่องผักเป็นวาระแห่งชาติ ศูนย์วิจัยพืชเศรษฐกิจโลกสนับสนุนให้เกษตรกรผลิตเพื่อผู้บริโภคได้รับพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษ เพื่อสุขภาวะของทุกคน”
ดร.เดลฟีนยังได้ยกตัวอย่าง พร้อมนำเสนอเป็นภาพว่า ในเมืองไทยมีรถพุ่มพวงที่นำผักผลไม้สารพัดชนิดไปขายในแหล่งชุมชน แม้จะอยู่ห่างไกลในเมืองก็ได้บริโภคพืชผักผลไม้
ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผอ.สำนักงานเกษตรต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นำเสนอข้อมูลการพลิกโฉมระบบอาหารประเทศไทย อันโตรนิโอ กูแตร์เรซ เลขาธิการสหประชาชาติ ประกาศจัดการประชุมสุดยอดระดับผู้นำด้านระบบอาหารโลก เมื่อวันที่ 16 ต.ค.2562 ระบบอาหารทั้งในระดับประเทศและระดับโลกมีความเปราะบาง และเกิดความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมกัน
ถึงเวลาแล้วที่ทุกประเทศจะสร้างสมดุลใหม่ของโลก โดยการพลิกโฉมไปสู่ระบบอาหารอย่างยั่งยืน
สถานการณ์ปัจจุบันด้านความมั่นคงทางอาหาร ปี 2562 ประชากรโลกกว่า 690 ล้านคน อยู่ในภาวะอดอยาก (hunger)
ประชากรโลกมากกว่า 3 พันล้านคนไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ (Healthy Diets)
ประชากรโลกกว่า 2 พันล้านคนมีปัญหาน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายด้านงบประมาณสาธารณสุขของประเทศ
ปี 2563 มีการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารแย่ลง คนอดอยากทั่วประเทศและทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นอีก 132 ล้านคน รวมทั้งสิ้นกว่า 820 ล้านคน
1 ใน 4 ของก๊าซเรือนกระจกมาจากระบบการผลิตอาหารทางการเกษตร 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตในโลกกลายเป็นขยะ อาหารเหลือทิ้งคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 9 แสนล้าน USD/ปี (คิดเป็นเงินไทยกว่า 27 ล้านล้านบาท ประมาณ 2 เท่าของ GDP ประเทศไทย
เป็นความท้าทายของภาคเกษตรไทย เมื่อผู้ผลิตสินค้าเกษตรหลายประเทศ มีลำดับภาพรวมการผลิตในภาคการเกษตรแซงหน้าประเทศไทยในทศวรรษล่าสุด กัมพูชา ลาว จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย (ข้อมูล ดร.วิษณุ อรรถวานิช อ้างอิงจาก USAD 2020) ขณะเดียวกันแรงงานไทยภาคเกษตรมีแนวโน้มออกนอกภาคเกษตรมากขึ้น
จิราภา จอมไธสง กรมส่งเสริมการเกษตร
นำเสนอพื้นที่ปลูกผักในประเทศไทย 1.20-2.00 ล้านไร่ ผลผลิต 2-3 ล้านตัน พืชผักสำคัญกว่า 80 ชนิด แหล่งปลูกพืชผักกระจายทุกภูมิภาค อันดับ 1 คือ พริก มะเขือ 19.79% อันดับ 2 ข้าวโพด อันดับ 3 ถั่ว อันดับ 4 หอม กระเทียม อันดับ 5 กะหล่ำ อันดับ 6 แตง อันดับ 7 ขิง อันดับ 8 เห็ด ฯลฯ
ตลาดภายในประเทศ มีการบริโภค 2 ล้านตัน/ปี ตลาดส่งออกมูลค่า 39,000 ล้านบาท ผักสดแช่เย็น แช่แข็ง ผักแห้งบดป่น
กลุ่มเกษตรกรเป็นศูนย์กลางดำเนินการบริหารจัดการลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างเครือข่าย ใช้ตลาดนำการผลิต มีการสำรวจแปลงผักกว่า 200 แปลง บางแปลงยังไม่มีแผนการตลาดอย่างชัดเจน เกษตรกรรวมกลุ่มตลาดขายส่ง เกษตรกรแปลงใหญ่มีการเจรจาต่อรองทำ MOU วางแผนการผลิต แก้ไขปัญหาร่วมกับ TESCO LOTUS (เชื่อมโยงจุดกระจายสินค้าทุกภูมิภาคของ TESCO LOTUS ขอนแก่น สุราษฎร์ฯ พระนครศรีอยุธยา ลำพูน) แม็คโคร Big C.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |