จากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ผ่านมาทำให้กลุ่มผู้ประกอบการเกือบทุกสาขาต้องพัฒนาองค์กรไปในรูปแบบที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดให้มายิ่งขึ้น ไม่ใช่เพียงผลกระทบของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงความขัดแย้งของแต่ละประเทศ การกีดกันทางการค้า ความนิยมของผู้บริโภค การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคที่เทคโนโลยีมีอำนาจมากขึ้น รวมถึงการเข้าถึงคนด้วยสื่อใหม่ ๆ หรือโซเชียลมีเดีย สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญมี่เปลี่ยนรูปแบบการค้าขายให้ก้าวกระโดดเป็นอย่างมาก
บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว แต่ถือว่าเป็นองค์กรที่รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลาจึงมีแนวทางที่จะพัฒนาองค์กรไปตามทิศทางของกระแสโลกเสมอ จากเดิมที่ทำเพียงธุรกิจน้ำมันเพื่อดูแลความมั่นคงในประเทศ จนปัจจุบันสามารถพัฒนาองค์กรไปยังรูปแบบอื่น ๆ โดยการตั้งเป็นบริษัทอื่น ๆ ในกลุ่ม และด้วยเหตุนี้เองทำให้ ปตท ยังสามารถดำเนินธุรกิจท่ามกลางสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก
ขณะที่ล่าสุดก็ได้มีการแยกบริษัทเพื่อไปดูแลการขายน้ำมันและการค้าปลีกอย่างสมบูรณ์ในนาม โออาร์ หรือ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด(มหาชน) เพื่อจำแนกการบริหารให้เป็นสัดส่วน ขณะเดียวกัน ปตท. บริษัทแม่เองก็ยังไม่หยุดที่จะพัฒนาและยังมีโครงการเพื่อดำเนินการงานใหม่ ๆ อยู่มากมาย ซึ่งปัจจุบันเริ่มให้ความสนใจกับธุรกิจใหม่ โดยอนุมัติตั้ง บริษัท อินโนบิก เอเชีย จำกัด ทุนจดทะเบียน 2,000 ล้านบาท เพื่อหาโอกาสการลงทุนในประเทศและความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อดำเนินธุรกิจเพื่อสุขภาพ หรือ “Life Science”
โดยกลุ่มที่เน้นดำเนินงาน อาทิ ธุรกิจยา ซึ่งจะโฟกัสกลุ่มยารักษาโรคไม่ติดต่อ (NCD) เช่น โรคมะเร็ง ที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับทุกส่วนในร่างกาย และสอดคล้องกับสังคมสูงอายุของไทย ซึ่งต้องร่วมมือกับบริษัทต่างประเทศ และจะพิจารณาการควบรวมหรือเข้าซื้อกิจการ (M&A) ด้วย เบื้องต้น ปตท.ร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรม (อภ.) และสถาบันวิจัยจุฬาลงกรณ์ ตั้งโรงงานผลิตยารักษามะเร็งแห่งแรกของไทยที่นิคมอุตสาหกรรมวนารมย์ อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
ขณะเดียวกันก็ยังเน้นดำเนินงานในธุรกิจอาหารและโภชนาการ หรือ อาหารที่เป็นยาได้ และอาหารที่สร้างความแข็งแกร่งของร่างการ อาหารลดการเกิดโรค ซึ่งไม่เค็มหรือหวานไปแต่มีโปรตีนที่ผู้ป่วยทานได้ ซึ่งจะโฟกัสที่สารตั้งต้นหรือสารสำคัญที่มีคุณสมบัติในการรักษา หรือเพิ่มส่วนที่เป็นโภชนาการที่สำคัญต่อยอดสินค้าเกษตร โดยกำลังเจรจากับพันธมิตรตั้งโรงงานผลิตอาหารแพลนต์เบส กำลังการผลิต 3 พันตันต่อปี ซึ่งงถือว่าเป็นโรงงานที่มีขนาดใหญ่ระดับโลกและสามารถจะป้อนวัตถุดิบให้กับห่วงโซ่อุปทานได้
นอกจากนี้ ปตท. ยังเตรียมดำเนินการธุรกิจ เกี่ยวเนื่องกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรืออีวี โดยล่าสุดบริษัท อัลฟ่า คอม จำกัด ที่บริษัทย่อยที่ปตท. ถือหุ้นทางอ้อม 100% ได้มีมติอนุมัติให้จัดตั้ง บริษัทออน-ไอออน โซลูชั่นส์ จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท เพื่อดำเนินการและพัฒนาเครือข่ายสถานีเครื่องอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้ า (อีวี ชาร์จเจอร์ สเตชั่น) นอกสถานีบริการน้ำมัน เช่น ศูนย์การค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน เป็นต้น รวมถึงจำหน่ายสินค้าและให้บริการที่เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า เช่น จัดจำหน่ายและติดตั้ง อีวี ชาร์จเจอร์ ในที่พักอาศัย เป็นต้น
นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าภาพรวมการลงทุนด้านอีวีนั้นปัจจับันยังมีการติดตามนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการลงทุนอีวีอยู่ ซึ่งการดำเนินงานของออน-ไอออนปัจจุบันดำเนินการเพียงพัฒนาอุปกรณ์เพื่ชาร์จไฟฟ้าของรถอีวีเท่านั้น แต่หากว่ารัฐบาลมีความชัดเจนในการส่งเสริมการลงทุนพัฒนารถอีวีในประเทศ และปตท. เห็นว่าจะสามารถเติบโตไปได้ ก็สามารถใช้กลไกการดำเนินงานของออน-ไอออน เพื่อดำเนินการได้
ขณะเดียวกันหากมีการพัฒนาหรือผลิตรถอีวีแล้วก็จะมาหารือในกลุ่ม ปตท. ถึงการร่วมทุนในโครงการพัฒนาแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน ของบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือจีพีเอสซี ที่ปัจจุบันมีการดำเนินการอยู่แล้วซึ่งเป็นการตั้งโรงงานในประเทศพัฒนาแบตเตอรี่ขนาด 1 กิกะวัตต์ หรืออาจะเป็นการลงทุนใหม่ร่วมกันซึ่งยังต้องหารือกับพาทเนอร์อยู่ แต่เบื้องต้นในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ จะมีการเปิดตัวแพลตฟอร์มอีวีคาร์รูปแบบใหม่ เพื่อมาจัดการดูแลรถอีวีทั้งรูปแบบ 2 ล้อ 4 ล้อ หรือรถบรรทุก
“การดำเนินงานในธุรกิจใหม่นั้น กลุ่มปตท.ยั้นสามารถทำได้เนื่องจากความเข้มแข็งของธุรกิจปัจจุบันของปตท.ซึ่งในอนาคตอาจจะสามารถรับรู้รายได้ในส่วนนี้เพิ่มขึ้น แต่ขณะเดียวกันในปีนี้ที่อยู่ท่ามกลางปัญหาหรือผลกระทบทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ปตท.ก็จะพยายามดูแลการเติบโตขององค์กรให้ดีกว่าปีก่อนหน้านี้ให้ได้”นายอรรถพล กล่าว (45)
อย่างไรก็ตามผลการดำเนินของ ปตท. ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 นี้ สามารถทำรายได้ได้ 477,837 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% จากไตรมาสก่อนหน้าที่ทำได้ 407,174 ล้านบาท แต่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 483,567 ล้านบาท ขณะที่กำไรสุทธิในไตรมาสนี้ มำได้ 32,588 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 100% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในช่วงดังกล่าวทุกโรงงานของ ปตท. ไม่ได้ถูกปิดและสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดโลกด้วย
นอกจากนี้นายอรรถพล ยังเปิดเผยถึงประเด็นเรื่องของการนำเข้าวัคซีนว่า ก่อนหน้านี้ ปตท.ได้ร่วมกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานตัวแทนของภาครัฐ ในการจัดหาและนำเข้าวัคซีนเพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ประชาชน ซึ่ง ปตท. ไม่ได้เป็นผู้นำเข้าแต่ช่วยเสริมการบริหารการกระจายวัคซีนให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ที่เป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ฟื้นตัวโดยเร็ว
อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดภาระด้านงบประมาณให้กับทางภาครัฐบาลอีกด้วย ขณะนี้มองว่าเป็นเรื่องที่ดีที่หลายฝ่ายมาช่วยกันขับเคลื่อนในเรื่องนี้ เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ส่วนปตท. จะได้รับวัคซีน หรือได้จำนวนวัคซีนในการบริหารจัดการเท่าไหร่นั้น ขณะนี้ ยังไม่มีความชัดเจนอยู่ระหว่างหารือ ซึ่งในวันที่ 28 พ.ค. 64 นี้ ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จะออกมาแถลงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว คาดว่าอาจจะมีความชัดเจนในเรื่องนี้มากขึ้น
“ในส่วนของความกังวลเรื่องวัคซีน นั้น เราไม่ได้มองที่ประเด็นดังกล่าว ซึ่งในขณะนี้ ปตท.พยายามช่วยเท่าที่จะช่วยได้ ในเรื่องของการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับพื้นที่ให้บริการโดยเฉพาะต่างจังหวัด เพื่อให้การฉีดวัคซีนกระจายได้อย่างทั่วถึง โดยเบื้องต้นได้มีการหารือร่วมกับหอการค้าแห่งประเทศไทยในการรับมือหากมีวัคซีนเข้ามาจำนวนมาก นอกจากจะเตรียมความพร้อมเรื่องสถานที่แล้ว ยังมีการเตรียมความพร้อมเรื่องบุคคลากรทั้งทางการแพทย์ และระบบในการลงทะเบียนไว้ค่อยให้บริการประชาชนแล้วอีกด้วย” นายอรรถพล กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |