เบื้องต้นข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เมื่อ 20 มีนาคม 2564 ระบุว่า ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการว่า ความดันโลหิตสูง ห้ามฉีดวัคซีน ยกเว้นกรณีความดันโลหิตสูงวิกฤต มากกว่าเท่ากับ 180/110 mmHg ที่ต้องเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล
สำหรับการเตรียมตัว ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน อาทิ โรคหัวใจร่วมด้วย ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 จะต้องควบคุมความดันให้ไม่เกิน 140 มม.ปรอท หรือหากมีโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว อาทิ ในกลุ่มผู้สูงอายุ ต้องมีการทานยาสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ หากมีความดันโลหิตสูงเกินกว่าปกติจะต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์
“หลังจากฉีดเรียบร้อยแล้วภายใน 2-4 ชั่วโมง ไม่ควรทำกิจกรรมอะไร เพื่อให้วัคซีนได้ทำงานอย่างเต็มที อีกทั้งยังสามารถทานยาประจำโรคได้ปกติ เว้นแต่ว่าจะมีการทานยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ้มเลือด จะต้องมีการแจ้งแพทย์ทันที เพราะอาจจะผลข้างเคียง คือ เลือดออกในกล้ามเนื้อตรงจุดที่ฉีดยา โดยมีลักษณะการบวม หรือช้ำเลือด” นพ.เกียรติ ให้ข้อมูลหลังจากได้รับวัคซีนโควิด-19
ทั้งนี้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ไม่ควรหยุดทานยาเพื่อฉีดวัคซีน ยกเว้นกรณีที่แพทย์แนะนำให้หยุดยาชั่วคราว เพื่อให้ผลลัพธ์ของวัคซีนมีความแม่นยำ
กลุ่มที่ต้องควรอยู่ในดุลพินิจของแพทย์อย่างใกล้ชิด ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่อาการยังไม่คงที่ และอาการเข้าขั้นวิกฤต, ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันขนาดสูง และผู้ที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (warfarin)
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |