บูมแหล่งท่องเที่ยว กระจายรายได้สู่ชุมชน


เพิ่มเพื่อน    

       การท่องเที่ยวถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศปีละมหาศาล ทำให้หลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็ขยายธุรกิจ ขยายพื้นที่ รองรับการหลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย แต่หลังจากที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบไปทั่วโลก และยังทำให้การเดินทางระหว่างประเทศต้องหยุดชะงัก ส่งผลกระทบให้กับระบบเศรษฐกิจไปทั่วโลก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวทรุดหนัก ชนิดที่เรียกว่าดิ่งเหวกันเลยก็ว่าได้   

          เช่นเดียวกับประเทศไทยที่พึ่งพารายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ปิดกิจการกันเป็นแถวๆ จนล่าสุด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ต้องออกมายอมรับว่า

          การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 2 และระลอก 3 ที่ปัจจุบันยังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ และยังไม่รู้ว่าจะสามารถคลายตัวหรือจบได้เมื่อไหร่ ดังนั้นเมื่อดึงนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศไม่ได้ก็ต้องหันมาที่การท่องเที่ยวในประเทศ และหลังจากโควิด-19 คลายตัวลง หรือเริ่มเห็นแนวโน้มจบลงได้อย่างชัดเจน ก็ค่อยเริ่มต้นดำเนินการตามแผนกระตุ้นตลาดใหม่อีกครั้งผ่านการใช้งบกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

          ดังนั้นในช่วงที่การระบาดยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ก็ต้องหันมาส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ ซึ่งภาครัฐบาลได้เดินหน้าต่อโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 กำหนดเปิดให้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราเที่ยวด้วยกัน.com ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ส่วนโครงการทัวร์เที่ยวไทย กำหนดเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ซึ่ง ททท.ยืนยันว่า ทั้ง 2 โครงการจะเร่งดำเนินการให้เกิดขึ้นตามกำหนดที่วางไว้ เพื่อให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยหมุนเวียนเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มเติมด้วย

          อย่างไรก็ตาม แผนการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ถือว่าเป็นหนึ่งในความหวังที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ แต่ต้องยอมรับกันว่าหลังจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนได้เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยว เริ่มหันมาให้ความสนใจกับการท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนมากขึ้น ดังนั้นองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. หนึ่งในหน่วยงานที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนจึงเร่งเดินหน้าแผนยกระดับการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อสร้างรายได้และวิถีชีวิตชุมชนอย่างยั่งยืน

          ล่าสุด อพท.จับมือกับ 7 องค์กร ขับเคลื่อนแผนพัฒนาโคราช ระยะ 5 ปี โดยส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของอุทยานธรณีโคราช หรือโคราชจีโอพาร์ค สู่การเป็นอุทยานธรณีโลก ตามเกณฑ์ขององค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก เพื่อผลักดันให้จังหวัดนครราชสีมาบรรลุเป้าหมายการเป็นดินแดนแห่ง 3 มงกุฎของยูเนสโก หรือ “The UNESCO Triple Crown” โดยจะดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ที่จะทำให้โคราชจีโอพาร์ค ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีทางธรณีวิทยาระดับโลก

          โดยยูเนสโกได้ให้การรับรองแล้ว 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่มรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช อำเภอวังน้ำเขียว โดยมอบให้สำนักงานพื้นที่พิเศษ 2 หรือ อพท. 2 ซึ่งดูแลและพัฒนาพื้นที่อารยธรรมอีสานใต้ กับจังหวัดนครราชสีมา อพท. ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายแบบบูรณาการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวและเส้นทางการท่องเที่ยว เพื่อขับเคลื่อนอุทยานธรณีโคราชไปสู่การสร้างคุณค่าระดับโลก ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ชุมชนมีส่วนร่วมเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวหลักแบบยั่งยืนที่เป็นศูนย์กลางที่จะสามารถรองรับนักท่องเที่ยวทุกระดับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและนานาชาติได้อย่างเป็นรูปธรรม

          และจากนั้นในปี 2564 นี้จะไปต่อยอดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ในพื้นที่ชุมชนท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และชุมชนมะค่า อำเภอเมืองนครราชสีมา โดยจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และกิจกรรมด้านต่างๆ ให้เป็นโปรแกรมการท่องเที่ยวที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างชุมชนท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวหลัก และกระจายรายได้สู่ชุมชนแบบยั่งยืน

          งานนี้เอาใจช่วยให้เดินหน้าได้ตามแผน เพราะในยุคโควิดระบาดนั้นก็ต้องเหนื่อนกันหน่อย.

 บุญช่วย ค้ายาดี

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"