สช.พบรร.อนุบาล แปลงร่างเป็น รร.กวดวิชา ขายแฟรนไชส์ไป 38แห่ง


เพิ่มเพื่อน    

26 พ.ค. 64 - นายอรรถพล ตรึกตรอง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (เลขาฯ กช.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ตนได้รับข้อสั่งการจากนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) และนางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) ให้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่งย่านบางใหญ่ จ.นนทบุรี ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) ได้ตรวจสอบพบข้อมูลเบื้องต้น เป็นโรงเรียนเอกชน ที่อ้างเป็นโรงเรียนอนุบาลเมื่อเราตรวจสอบในสาระบบของ สช.แล้ว กลับไม่พบข้อมูลโรงเรียนแห่งนี้  โดยการจัดตั้งเป็นโรงเรียนอนุบาลแต่กลับเป็นการสอนในรูปแบบ โรงเรียนกวดวิชาแทน ซึ่งตามระเบียบแล้วหากต้องการจัดตั้งเป็นโรงเรียนกวดวิชาจะต้องขออนุญาตการจัดตั้งเป็นโรงเรียนเอกชนนอกระบบ แต่หากเป็นโรงเรียนอนุบาล  จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มการขอจัดตั้งเป็นโรงเรียนเอกชนในระบบเท่านั้น  

และจากข้อมูลเหล่านี้ ทำให้ สช.ลงพื้นที่ตรวจสอบโรงเรียนอนุบาลแห่งนี้ทั่วประเทศ จนพบสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่จ.อุบลราชธานี และใช้ชื่อว่า “โรงเรียนสร้างเสริมทักษะภาษาอังกฤษแอมโกร์วอิง” ถูกขอจัดตั้งเป็นโรงเรียนเอกชนนอกระบบตามระเบียบอย่างถูกต้อง แต่ประเด็นที่พบคือ เมื่อเป็นโรงเรียนเสริมทักษะกวดวิชาแทนที่จะทำกิจการตามระเบียบการขออนุญาตจัดตั้ง   แต่กลับไปขายแฟรนไชส์ในรูปแบบการเปิดเป็นโรงเรียนอนุบาล และมีการคิดหลักสูตรขึ้นมาเอง  โดยมีการโฆษณาอวดอ้างมาแล้ว 6 ปี ซึ่งถือว่าเข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภค และสช.ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งการดำเนินการของ สช.ครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการพบโรงเรียนเถื่อนลอตใหญ่ที่ไม่ได้รับให้อนุญาตจัดตั้ง   

นายอรรถพล กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ สช.ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเชิงลึกยังอีกพบว่า โรงเรียนแห่งดังกล่าวมีการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์และโซเชียลมีค่าแฟรนไชส์ในการลงทุนอยู่ที่ 390,000 บาท พร้อมให้สิทธิ 1 อำเภอ 1 สาขา โดยจากการโฆษณามีการขายแฟรนไชส์ไปแล้ว 64 แห่ง สอนภาษาอังกฤษเด็กที่มีอายุระหว่าง 4-12 ปี แบ่งเป็น หลักสูตรเริ่มต้น ABC อายุ 5-6ปี หลักสูตรละ 2,900 บาท หรือ Kinder Club หลักสูตรละ 1,500 บาท ซึ่งขณะนี้โรงเรียนเอกชนแห่งดังกล่าวได้สร้างแฟรนไชส์ไปแล้วจำนวน 38 แห่งใน 31 จังหวัด  

ดังนั้น สช.จึงได้มอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไปแจ้งความดำเนินคดีที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอบางใหญ่ จ.นนทบุรี เรียบร้อยแล้ว พร้อมกับแจ้งให้ศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) 31 แห่ง เข้าแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีที่สถานที่ตำรวจในพื้นที่รับผิดชอบที่เป็นอำนาจการสอบสวนที่มีการจัดตั้งโรงเรียนเอกชนนอกระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งภายใน 7 วันด้วย  อีกทั้ง สช.ยังดำเนินการแจ้งกรมสรรพากรตรวจสอบการชำระภาษี  แจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ให้ตรวจสอบครูผู้สอนชาวต่างชาติ แจ้งกรมการจัดหางานให้ตรวจสอบ Work Permit ของครูผู้สอนชาวต่างชาติ  อีกทั้งโรงเรียนเอกชนแห่งดังกล่าวไม่ได้มีการยื่นขอจัดตั้งการเป็นโรงเรียนเอกชนนอกระบบจากสช.จึงต้องมีความผิดตามพ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนพ.ศ.2550 ในมาตรา 120 การจัดโรงเรียนเอกชนนอกระบบต้องได้อนุญาตจากผู้อนุญาต  มาตรา 147 ผู้ใดจัดตั้งโรงเรียนนอกระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 120 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 

"อย่างไรก็ตาม ผมขอฝากถึงประชาชนหากจะซื้อเฟรนไชส์โรงเรียนให้ตรวจสอบข้อมูลการอนุญาตจัดตั้งจากเว็บไซต์สช.ด้วย เพราะไม่เช่นนั้นจะเข้าข่ายผิดกฎหมาย " นายอรรถพลกล่าว.            

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"