อินเดียเผชิญพายุใหญ่ลูกที่ 2 ในเวลาแค่ข้ามสัปดาห์ พายุไซโคลนยาอาสมุ่งหน้าสู่ฝั่งตะวันออกของอินเดียเมื่อวันอังคาร ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยเกือบ 2 ล้านคนถูกอพยพ คาดจะเข้าถล่มสองรัฐชายฝั่งราวช่วงเที่ยงของวันพุธ
เมฆทะมึนก่อตัวเหนือเมืองกัลกัตตา รัฐเบงกอลตะวันตก เมื่อวันจันทร์ ก่อนหน้าที่พายุไซโคลนยาอาสจะเคลื่อนมาถึง (Photo by Dipayan Bose/SOPA Images/LightRocket via Getty Images)
พายุไซโคลนเตาะแต่ที่เข้าถล่มรัฐชายฝั่งตะวันตกของอินเดียเมื่อ 1 สัปดาห์ก่อน เพิ่งคร่าชีวิตชาวอินเดียไม่น้อยกว่า 155 คน
รายงานเอเอฟพีอ้างคำประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยาของอินเดียเมื่อวันอังคารว่า พายุไซโคลนลูกใหม่จากอ่าวเบงกอลลูกนี้น่าจะเคลื่อนถึงรัฐเบงกอลตะวันตกและรัฐโอริศาในช่วงเวลาประมาณเที่ยงวันของวันพุธ และอาจมีความเร็วลมสูงสุด 165 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ทางการอินเดียอพยพประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมชายฝั่งไปยังศูนย์หลบพายุแล้ว โดยเจ้าหน้าที่กล่าวว่า ที่รัฐเบงกอลตะวันตกมีประชาชนอพยพออกจากบ้านเรือนริมชายฝั่งเกือบ 500,000 คน และที่รัฐโอริศา มีประชาชนถูกอพยพราว 1.4 ล้านคน เจ้าหน้าที่กล่าวกันว่า ปัญหาท้าทายที่สุดของการจัดที่พักพิงคือการรักษามาตรการเว้นระยะห่าง
พายุลูกนี้ส่งผลกระทบต่อการต่อสู้กับการระบาดของโควิด-19 โดยเจ้าหน้าที่กำลังดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถจัดส่งออกซิเจนและยาให้แก่โรงพยาบาลต่างๆ
เจ้าหน้าที่ในบังกลาเทศ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของรัฐเบงกอลตะวันตก กล่าวว่า พวกเขาไม่คาดว่าพายุลูกนี้จะเข้าถล่มบังกลาเทศด้วย
อ่าวเบงกอลมีสภาพที่เอื้อต่อการก่อตัวของพายุไซโคลน ซึ่งรวมถึงอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูง พายุร้ายแรงหลายลูกในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาก่อตัวที่นี่ รวมถึงพายุลูกหนึ่งเมื่อปี 2513 ที่คร่าชีวิตผู้คนในบังกลาเทศราว 500,000 คน ส่วนที่รัฐโอริศานั้น เคยเผชิญไซโคลนครั้งเลวร้ายที่สุดเมื่อปี 2542 มีคนตายถึง 10,000 คน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |