คุณหมอเตือน 'work from bed'เสี่ยงโรคกระดูก-กล้ามเนื้อในอนาคต


เพิ่มเพื่อน    

 

"Work From Home" คือ “การทำงานที่บ้าน” เป็นเทรนด์การทำงานยุคใหม่ที่ตามมากับเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาในสถานการณ์ปัจจุบัน Work Form Home อาจไม่ใช่แค่เทรนด์การทำงานที่เกิดขึ้นตามสมัยนิยม หรือ  “ทางเลือก” ในการทำงานเท่านั้น แต่มันกำลังจะกลายเป็น “ทางรอด” ของมวลมนุษยชาติ เมื่อคราวเกิดวิกฤตโรคระบาด อย่างที่เรากำลังเผชิญกับ “โควิด 19”

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์  อธิบดีกรมการแพทย์  กล่าวว่า  จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ทุกคนไม่ได้เตรียมตัวเพื่อทำงานที่บ้าน บางคนไม่อยากทำงานที่บ้านด้วยซ้ำ แต่ถูกบังคับโดยสถานการณ์ COVID-19 นอกจากนี้บรรยากาศและการถูกบังคับไม่ให้ไปไหน ทำให้ไม่มีความกระตือรือร้นที่จะทำงาน จึงมีความขี้เกียจเกิดขึ้น การทำงานบนเตียงเป็นเรื่องที่ง่ายที่สุด และกลุ่มคนทำงานอายุน้อยส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะทำงานบนเตียงมากกว่าไปทำงานในโต๊ะรับประทานอาหาร หรือโต๊ะครัว

นพ.สมบูรณ์   ทศบวร  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวถึง สำหรับหลายคนการทำงานจากบ้าน ยังหมายถึงทำงานบนเตียงด้วย ( work from home = work from bed) การต้องรีบตื่น อาบน้ำ แต่งตัวไปทำงาน กลายเป็นการล้างหน้า เปิดคอมพิวเตอร์และนั่งทำงานบนเตียงต่อ

มีการศึกษาในเดือนพฤศจิกายน 2000 พบว่าคนอเมริกัน 72% จากที่สำรวจ 1000 คน ทำงานบนเตียง ซึ่งเพิ่มขึ้น 50% ตั้งแต่มี COVID-19 ระบาด ทุกหนึ่งในสิบคนจะบอกว่าทำงานอยู่บนเตียง 24-40 ชั่วโมงหรือมากกว่าบนเตียง ซึ่งคนทำงานหนุ่มสาวอังกฤษอายุ 18-34 ชั่วโมงไม่มีโต๊ะหรือเก้าอี้ทำงานที่เหมาะสม และทำงานในเตียงมากกว่า แรงงานที่อายุมากกว่าถึงสองเท่า แต่การทำงานในเตียงไม่ใช่แค่ไม่มีที่นั่งทำงานที่เหมาะสม กลับกลายเป็นแฟชั่นไป ในความเป็นจริงการทำงานบนเตียง เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาหลายอย่าง ทั้งด้านจิตใจและด้านร่างกาย แม้จะไม่รู้สึกในตอนนี้ ผลจะคงอยู่ ไปเรื่อยๆ และจะแสดงอาการในระยะเวลาต่อมา     

ในทางเออร์โกโนมิกส์ถือว่าไม่เหมาะสมกับร่างกายทั้งนั้น การทำงานบนเตียงจะทำให้เกิดอันตรายของกล้ามเนื้อคอ หลัง สะโพก และมีอันตรายมากขึ้นเมื่อทำงานในเตียงนุ่มๆ ในคนทำงานหนุ่มสาวจะมีอันตรายมากกว่า เนื่องจากไม่ค่อยมีอาการปวดขณะทำงานบนเตียง แต่หลังจากนั้น ก็จะมีอาการของกระดูกและข้อ ซึ่งเป็นผลจากการนอนทำงานบนเตียง ถึงตอนนี้พวกเขาจะแข็งแรง แต่ในอนาคต ก็จะมีโรคหรือปัญหาทางเออร์โกโนมิกส์เกิดขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งรวมถึงอาการปวดศีรษะ และในที่สุดจะปวดหลัง กล้ามเนื้อหลังแข็งเกร็ง ปวดคอ จากการบาดเจ็บของกระดูก เอ็นและกล้ามเนื้อที่คอ     คุณหมอแนะนำว่า ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้และจำเป็นต้องทำงานบนเตียง ก็พยายามนึกว่านั่งทำงานบนเก้าอี้ ให้นั่งหลังตรง อยู่ในท่าเหมือนนั่งเก้าอี้ จะช่วยลดการบาดเจ็บของกระดูกและกล้ามเนื้อได้ ม้วนผ้าห่มหรือใช้หมอนหนุนหลังเป็น lumbar support สอดหมอนรองเข่าพยายามแยก จอออกจาก keyboard เพื่อให้จออยู่ในระดับสายตาไม่ต้องก้มหน้ามอง (อาจใช้ remote keyboard) อย่านอนคว่ำหน้าพิมพ์งาน จะมีการบาดเจ็บที่คอและข้อศอกอย่างมาก พยายามทำงานในหลายๆท่าทาง เช่นยืนทำงานบ้าง และต้องคิดไว้ว่า COVID-19 ยังอยู่อีกนาน อาจจะคุ้มที่จะหาซื้อ โต๊ะ เก้าอี้ ทำงานที่เหมาะสม

COVID-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง การป้องกันมีความสำคัญมากขึ้น เมื่อผ่านพ้นการระบาดไปแล้ว อย่าให้กลายเป็นคนงานที่ไม่มีคุณภาพจากการนอนไม่หลับ และเป็นโรคกระดูกและข้อเรื้อรัง ในภายหลังเลย มาป้องกันดีกว่า อย่านอนทำงานบนเตียง
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"