25 พ.ค. 2564 นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยถึงกรณีคดีฉ้อโกงประชาชนในการชักชวนลงทุนตามที่นายประสิทธิ์ เจียวก๊ก ได้มีการชักชวนลงทุนทำธุรกิจกระเป๋าแบรนด์เนม ว่า เพื่อไม่ให้เป็นการหลงกลกลุ่มมิจฉาชีพประชาชนต้องสังเกตุว่าธุรกิจดังกล่าวนั้นเป็นธุรกิจลักษณะไหน สำหรับธุรกิจที่ไม่มีสินค้าแล้วมีการดำเนินการให้มีการลงทุนชักชวน โดยอ้างว่าลงทุนในรูปแบบของอสังหาริมทรัพย์,ลงทุนเรื่องการออมต่างๆตามที่นายประสิทธ์ ได้ทำ แล้วบอกว่าจะได้ผลกำไรจากการลงทุน ถือว่าไม่ใช่การตลาดแบบตรงหรือการขายตรงตาม พ.ร.บ.การตลาดแบบตรงและขายตรง พ.ศ.2545 ถือเป็นการกระทำที่ผิด
นายนฤมล กล่าวว่าสำหรับธุรกิจลักษณะการลงทุนแบบนี้จะต้องขออนุญาติจากคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์ คือเรื่องการลงทุนการประกอบธุรกิจต้องมีการขออนุญาติจดทะเบียนแต่กรณีของนายประสิทธิ์ เป็นลักษณะที่ว่าอ้างว่ามีการลงทุนทำธุรกิจเกี่ยวกับด้านอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่ได้ระบุว่าอสังหาริมทรัพย์อะไร ซึ่งในรายละเอียดบอกแค่ว่าหากมีหากมีบัตรเครดิต มีเงินฝากสามารถเข้ามาร่วมลงทุนได้ แล้วจะได้ผลกำไรจากการลงทันนั้น กรณีนี้เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่อย่างแน่นอน เนื่องจากพ.ร.บ.การตลาดขายตรงกำหนดเรื่องการได้รับผลตอบแทนในลักษณะการสมัครสมาชิกและได้ผลประโยชน์จากการชักชวนคนมาสมัครสมาชิก ถือเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแชร์ลูกโซ่
สำหรับวิธีสังเกตุเฝ้าระวังกลุ่มมิจฉาชีพ มีดังนี้ 1.ธุรกิจที่แอบอ้างมีตัวตนหรือไม่ เพราะไม่ว่าธุรกิจอะไรก็ตามหากเราต้องการที่จะเข้าไปซื้อหุ้นหรือลงทุน เราจะเห็นตัวตนของธุรกิจนั้นๆเช่น ลงทุนกับธุรกิจที่เกี่ยวกับพลังงานจะเห็นว่ามีกลุ่มพลังงานกี่บริษัท ดังนั้นบริษัท ที่เขาแอบบอ้างต้องมีตัวตน มีข้อมูลที่เราสามารถตรวจสอบได้ ไม่ว่าจะเป็นกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนการซื่อหุ้นหรือตราสานทั้งหลาย ซึ่งจะมีข้อมูลตรวจสอบของแต่ละหน่วยงาน 2.การลงทุนถ้าเอามาแล้วลักษณะไปพูดให้เห็นภาพว่า ถ้ามีการลงทุนแล้วจะได้ผลกำไรประมาณนี้ ซึ่งเขาจะมีวิธีการพูดที่เป็นการชักจูงด้วยการเอาผลกำไรและทรัพย์สินมาให้ดูว่ารวยขนาดไหน
และ3.ธุรกิจที่เกิดขึ้นหรืออ้างว่ามีสินค้า ดังนั้นหากเป็นธุรกิจแบบตรงจริงๆเห็นได้ง่ายแบบธุรกิจขายตรง เจากร้านค้าที่มีชื่อเสียง เช่นแอมเวย์, กีฟฟาลีน และมีสทีน เหล่านี้คือการตลาดแบบตรงและการขายตรง ซึ่งธุรกิจดังกล่าวนี้ได้มีการขออนุญาติจดทะเบียนที่คณะกรรมการคุมครองผู้บริโภค เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เป็นนายทะเบียน ดังนั้นช่องทางที่เราจะสามารถตรวจสอบได้ว่าธุรกิจนั้นๆประกอบธุรกิจถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่ก็สามารถตรวจสอบได้
สำหรับการร้องเรียนผ่านสามาคมผู้บริโภคที่ผ่านมานั้น โดยหลักการค่อยข้างเยอะในเชิงปัญหา แต่ผู้ที่มาร้องเรียนแบบจริงจังมีเพียง1-3 ราย แต่กลุ่มก้อนที่เจอปัญหาเหล่านั้นมักจะมีการพูดคุยหารือกันในเฟซบุ๊คหรือในเพจของตัวเอง สุดท้ายก็ไปแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่วนกรณีที่ผ่านมานั้นผู้เสียหายได้รับเงินค่าเสียหายหรือไม่นั้น เรื่องนี้ต้องดูเป็นกรณี ซึ่งต้องดูว่าเส้นทางการเงินตรวจสอบแล้วสามารถที่จะอายัดทรัพย์สินหรือเงินได้หรือไม่ ซึ่งต้องดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจโดยเร็วเพื่อให้ตำรวจประสานไปที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.)ตรวจสอบเส้นทางการเงิน
นางนฤมล กล่าวว่าขณะนี้กลโกงมีหลากหลายรูปแบบในการลงทุน ซึ่งมองว่าหากผู้บริโภคจะมช้วิธีการลงทุนเพื่อเป็นการออมหรือเป็นการสร้างอนาคตให้ตัวเอง การศึกษาข้อมูลของการลงทุนเป็นเรื่องสำคัญ และการที่จะลงทุนกับธุรกิจที่ไม่มีตัวตน จะทำให้มีความเสี่ยงและสิ่งสำคัญอย่าหลงเชื่อว่าผู้ที่มาชักชวนนั้นรวย คนที่รวยอาจจะโกงเราก็ได้ความรวยของเขา โดยการนำบ้านหลังใหญ่ๆหรือรถหรูๆมาโชว์ ธุรกิจแบบนี้เรียกภาษาชาวบ้านคือ”ธุรกิจที่ใช้ความโลภของมนุษย์เป็นพื้นฐานในการทำธุรกิจ และช่องทางการโกง”
“กลโกง การหลอกลวงที่พบในขณะนี้คือ แชร์ลูกโซ่และการพนันออนไลน์ จะใช้วิธีให้เราได้ก่อน และพอสุดท้ายเขาจะเอาเงินเราไปเรื่อยๆเพราะเราอยากรวย แรกๆอาจจะได้มาบ้าง เพื่อให้ผู้เล่นตายใจ เล่นแล้วได้จริง จากนั้นผู้เล่นจะมีการบอกต่อว่าเล่นแล้วได้จริง เมื่อหลวมตัวเข้าไปเล่นทำให้หมดตัวได้ ดังนั้นหากจะลงทุนอะไรก็แล้วแต่ควรจะศึกษาข้อมูลให้ละเอียดรอบครอบเพื่อให้มั่นใจว่าเราจะไม่โดยหลอก”นางนฤมล กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |