ว่างงานพุ่ง7.6แสนคน หนี้ครัวเรือนขยายตัว


เพิ่มเพื่อน    

 สภาพัฒน์แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาส 1/64 พิษโควิด-19 ฉุดคนว่างงานเพิ่มขึ้น 7.6 แสนคน การท่องเที่ยวยังหดตัวต่อเนื่อง ส่วนหนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น "บิ๊กตู่" ประชุมทีม ศก.ติดตามแนวทางช่วยเหลือ ปชช.จากผลกระทบโควิด-19 มุ่งเป้า SME เพื่อรักษาการจ้างแรงงาน

    เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยระหว่างการแถลงภาวะสังคมไทยไตรมาสที่ 1/2564 ว่า จากการประเมินอัตราการว่างงาน ในช่วงไตรมาสที่ 1/2564 พบว่าจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 7.6 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.96% สูงขึ้นอีกครั้ง หลังจากชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากโควิดที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่วนการจ้างงานในช่วงไตรมาสที่ 1/2564 พบว่ามีการขยายตัวเล็กน้อย หรือเพิ่มขึ้น 0.4% ส่วนการท่องเที่ยวยังหดตัวเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา
    อย่างไรก็ตาม ขณะที่จำนวนชั่วโมงการทำงานรวมอยู่ที่ 40.1 ชั่วโมง/สัปดาห์ ลดลง 1.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 การทำงานต่ำระดับเพิ่มขึ้นถึง 129.1% เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ทั้งนี้ จากภาพรวมที่ผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น แต่ชั่วโมงการทำงานลดลง สะท้อนการจ้างงานและการทำงานที่ไม่เต็มเวลา ซึ่งจะทำให้แรงงานมีรายได้ลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน นอกจากนี้ยังมีความกังวลว่าตำแหน่งงานอาจไม่เพียงพอรองรับเด็กจบใหม่ เนื่องจากภาคธุรกิจได้รับผลกระทบต่อเนื่อง อาจไม่มีกำลังทรัพย์ที่จะจ้างแรงงานใหม่ ซึ่งคาดว่าจะกระทบต่อการจ้างงานของเด็กจบใหม่กว่า 4.9 ล้านคน
    นายดนุชากล่าวว่า ในส่วนของการประเมินหนี้ครัวเรือนในช่วงไตรมาสที่ 4/2563 พบว่าหนี้ครัวเรือนมีมูลค่า 14.02 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.9% คิดเป็นสัดส่วน 89.3% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว แม้หนี้ครัวเรือนจะขยายตัวในอัตราที่ช้าลง สะท้อนให้เห็นว่าครัวเรือนยังระมัดระวังในการก่อหนี้ ขณะที่คุณภาพสินเชื่อปรับตัวดีขึ้น แต่ยังต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน ยังอยู่ในระดับสูง
    สำหรับด้านความสามารถในการชำระหนี้ ของครัวเรือนปรับตัวดีขึ้น แต่ยังต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน ยังอยู่ในระดับสูง โดยในไตรมาส 4/2563 สัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอลเอส) ของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.84% ลดลงจาก 2.91% ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากการดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วงที่ผ่านมาของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม สินเชื่อกล่าวถึงพิเศษยังอยู่ในระดับสูง หรือมีสัดส่วนต่อสินเชื่อรวม 6.8% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3/2563 สะท้อนถึงความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนบางกลุ่มด้อยลง และมีโอกาสที่จะกลายเป็นหนี้เสียมากขึ้น
    นายดนุชากล่าวต่อว่า สำหรับแนวโน้มการก่อหนี้ของครัวเรือนในปี 2564 คาดว่าสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อจีดีพีจะยังคงอยู่ในระดับสูง จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวกลับไปในระดับก่อนโควิด-19 ประกอบกับตลาดแรงงานอาจได้รับผลกระทบที่รุนแรงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อรายได้ของแรงงาน และทำให้ครัวเรือนประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องมากขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีรายได้น้อย
    ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ประชุมทีมเศรษฐกิจ โดยมี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายทศพร ศิริสัมพันธ์ ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และหน่วยงานเกี่ยวข้อง ต่อมาภายหลังการประชุม พล.อ.ประยุทธ์โพสต์เฟซบุ๊ก "ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut -chan-o-cha" ระบุว่า
    "ช่วงบ่ายเป็นการประชุมเพื่อติดตามและพิจารณาแนวทางการให้ความช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมในระยะต่อไป ซึ่งต้องพิจารณาในรายละเอียด ตั้งแต่แผนงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข พร้อมๆ กับแผนงานช่วยเหลือประชาชน โดยครั้งนี้มุ่งเป้าหมายไปที่ SMEs เพื่อให้สามารถรักษาการจ้างแรงงานได้ รวมถึงการลงทุนของภาครัฐเพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชน การกระตุ้นการบริโภคและการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านค้าและบริการรายย่อย ควบคู่กับการลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวเพื่อเตรียมพร้อมการขับเคลื่อนประเทศหลังโควิด และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทานในพื้นที่ชุมชนเพื่อป้องกัน รับมือน้ำท่วม น้ำแล้ง ในฤดูฝนที่กำลังจะมาถึงนี้อีกด้วยนะครับ"
    นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยในงานสัมมนาวิชาการ ประมาณการเศรษฐกิจระยะสั้นและภาพเศรษฐกิจไทย ใน 5 ปีข้างหน้า “EEC Macroeconomic Forum” ในรูปแบบออนไลน์ ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกล่าสุด รัฐบาลจำเป็นต้องมีแผนงานที่จัดการด้านเศรษฐกิจที่ชัดเจน โดยแบ่งเป็น 4 นโยบายสำคัญ ได้แก่ 1.การจัดหาและกระจายวัคซีน ซึ่งถือว่าเป็นนโยบายที่สำคัญที่สุด โดยในกรณีแรกคือมีการฉีควัคซีนได้ตามเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้คือ 100 ล้านโดส และมีวัคซีนทุกประเภทให้เลือก กรณีที่ 2 8nv สามารถจัดหาและกระจายวัคซีนได้ 64.6 ล้านโดส ขณะที่กรณีที่ 3 คือจัดหาได้น้อยกว่า 64.6 ล้านโดส จะทำให้ความสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เลื่อนออกไปอีก 1 ไตรมาส จากทั้ง 3 กรณี จะส่งผลต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยที่ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น
    นโยบายที่ 2 คือ นโยบายทางการคลัง ที่ปัจจุบันรัฐบาลได้ดำเนินการอยู่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการด้านสินเชื่อ โครงการด้านภาษี หรือกองทุนต่างๆ รวมถึงเงินโอนเพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนด้วย ซึ่งต้องยอมรับว่าประเทศไทยมีการใช้เงินเข้ามาเยียวยาในส่วนนี้ค่อนข้างมากกว่าประเทศอื่น แต่เป็นไปตามผลกระทบที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีการหดตัวลึกกว่าประเทศอื่นเช่นเดียวกัน  
    ขณะที่นโยบายที่ 3 คือมาตรการทางการเงินที่จะต้องเดินหน้าต่อไป ซึ่งปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ถือว่าอยู่ในจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์แล้วที่ 0.50% แต่คาดว่าจะต้องคงไว้ที่ระดับนี้อีก 1-2 ปี และนโยบายที่ 4 คือนโยบายที่ทำผ่านสถาบันการเงิน ซึ่งต้องมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการที่ขาดสภาพคล่องทั้งในรายย่อย กลุ่มเอสเอ็มอี หรือธุรกิจขนาดใหญ่.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"