โรคลัมปี สกิน ระบาดหนักในโค-กระบือที่นครพนม ปศุสัตว์นครพนมควงสัตวแพทย์พ่นยาฆ่าเชื้อคอกวัว ป้องกัน แนะหมั่นสังเกตอาการหากสงสัย ประสานอาสาในพื้นที่เร่งรักษา
จากสถานการณ์โรคระบาดในโค-กระบือจากการติดเชื้อไวรัสลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) ที่ยังวิกฤติหนักในกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยง โดยทางจังหวัดนครพนมได้มีคำสั่งประกาศเป็นพื้นที่เขตโรคลัมปี สกิน ระบาด ได้แก่ ท้องที่หมู่ 2 ต.มหาชัย อ.ปลาปาก, หมู่ 11 ต.นามะเขือ อ.ปลาปาก, หมู่ 9 ต.โพธิ์ตาก อ.เมือง นครพนม และหมู่ที่ 2 ต.ท่าบ่อสงคราม อ.ศรีสงคราม
โดยพบโคเนื้อป่วยหรือตายด้วยโรคลัมปี สกิน จำนวนหลายสิบตัว ซึ่งเป็นโรคระบาดตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 โดยมีแนวโน้มที่จะแพร่ระบาดไปยังท้องที่อำเภอและจังหวัดอื่นๆ ได้ จึงห้ามมิให้ผู้ใดเคลื่อนย้ายโคและกระบือ หรือซากของสัตว์ดังกล่าว เข้า-ออก ผ่านหรือภายในเขตโรคระบาด เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบประจำเขตนั้น
จากปัญหาโค-กระบือติดเชื้อไวรัสลัมปี สกิน ถึงเวลานี้ยังไม่มียารักษา จึงต้องใช้วิธีการรักษาแบบภูมิปัญญาชาชาวบ้าน เช่น ในพื้นที่ อ.นาแก จ.นครพนม ยังคงมีการระบาดต่อเนื่อง ล่าสุดจากการตรวจสอบข้อมูลมีโค-กระบือชาวบ้าน ป่วยติดเชื้อแล้วเกือบ 500 ตัว ตายไปแล้วกว่า 6 ตัว โดยเฉพาะในพื้นที่ ต.พิมาน อ.นาแก พบโค-กระบือชาวบ้านป่วยติดเชื้อมากกว่า 200 ตัว ซึ่งชาวบ้านยังไม่มีวิธีการดูแลรักษาป้องกัน ต้องปล่อยตามสภาพตามมีตามเกิด ทำให้โค-กระบือที่ป่วยทยอยล้มตายลงแบบรายวัน
และเมื่อวันที่ 24 พ.ค.ที่ผ่านมา นายสมชาย อนันตจารุตระกูล ปศุสัตว์จังหวัดนครพนม พร้อมด้วยสัตวแพทย์หญิงฐิติมา ศรีคำ สารวัตรกรมปศุสัตว์ ด่านกักกันสัตว์นครพนม นำเจ้าหน้าที่เดินทางไปยังบ้านเลขที่ 17 หมู่ 4 ต.ท่าค้อ อ.เมือง จ.นครพนม เพื่อพ่นยาป้องกันกำจัดแมลง เนื่องจากได้รับแจ้งจากอาสาปศุสัตว์ประจำตำบลว่าพบโคจำนวน 3 ตัว แสดงอาการสงสัยโรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) ที่กำลังแพร่ระบาดหนักในโค-กระบืออยู่ขณะนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าโรคลัมปี สกิน เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่สำคัญในโคกระบือ แต่ไม่ใช่โรคที่ติดสู่คนได้ เกิดจากเชื้อไวรัส ????? ???? ??????? ????? ในสกุล ????????????? สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีไข้สูง ต่อมน้ำเหลืองโต และมีตุ่มขนาดใหญ่ ประมาณ 2-5 เซนติเมตร ขึ้นที่ผิวหนังทั่วร่างกาย พบมากที่คอ หัว เต้านม ถุงอัณฑะและหว่างขา ตุ่มที่ขึ้นอาจแตก ตกสะเก็ดและเกิดเป็นเนื้อตาย หรือมีหนอนแมลงมาไชได้ อาจพบตุ่มน้ำใสขึ้นที่เยื่อเมือก ทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการน้ำลายไหล ตาอักเสบ มีตุ่มขึ้นที่เยื่อเมือกตา น้ำตาไหลและมีขี้ตา
นอกจากนี้สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีอาการซึม เบื่ออาหาร อาจมีภาวะเป็นหมันชั่วคราวหรือถาวร แท้งลูกและมีปริมาณน้ำนมลดลง อัตราการป่วยอยู่ที่ 5–45% อัตราการตายน้อยกว่า 10% แต่อาจมีอัตราการตายสูงในพื้นที่ที่ไม่เคยมีการระบาดมาก่อน ผลกระทบส่วนใหญ่จะอยู่ที่ผลผลิตที่ลดลง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |