ผู้มาเยือนอันไม่พึงประสงค์: สายพันธุ์อินเดีย, แอฟริกาใต้


เพิ่มเพื่อน    

      พอมีข่าวว่าโควิด “สายพันธุ์อินเดีย” บุกเข้ากลางกรุงเทพฯ แล้ว (ตามมาด้วยสายพันธุ์แอฟริกาใต้ที่ตากใบ, นราธิวาส) ผู้คนย่อมจะต้องตื่นเต้นเป็นธรรมดา

            เพราะชื่อทั้งสองสายพันธุ์นี้เคยไปปรากฏเป็นข่าวในประเทศอื่น และมีแนวโน้มว่าแพร่เร็วและมีผลรุนแรงกว่า “สายพันธุ์อังกฤษ” ที่ได้นำทางเข้าไทยมาก่อนหน้านี้แล้ว

            คุณหมอท่านหนึ่งบอกว่าสายพันธุ์แอฟริกาใต้นั้นเป็น “เจ้าพ่อ” หากเปรียบมวยกันแล้วสายพันธุ์อังกฤษที่อาละวาดอยู่ในไทยวันนี้เป็นเพียงระดับ “อนุบาล” เท่านั้น

            ครั้งแรกที่เป็นข่าวว่าสายพันธุ์อินเดียหลบเข้าไทยนั้น เจ้าหน้าที่ไทยบอกว่าควบคุมได้เพราะคนติดเชื้ออยู่ในบริเวณกักตัว คงไม่หลุดรอดออกมา

            แต่มาเจออีกครั้งก็บุกเข้ากลางกรุงเลย เพราะไปพบในแรงงานที่หลักสี่และบริเวณใกล้เคียง เจอทีเดียว 36 คน

            คุณหมอยง ภู่วรวรรณ บอกว่า เมื่อพบสายพันธุ์อินเดียในประเทศไทย ก็จำเป็นต้องควบคุมให้ได้โดยเร็ว ก่อนที่จะสร้างปัญหาใหญ่โต

            ท่านอธิบายว่า สายพันธุ์ที่ระบาดอย่างรุนแรงในอินเดีย ประกอบไปด้วยสายพันธุ์อินเดียและเบงกอล

สายพันธุ์อินเดียเป็นสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง และให้ความสำคัญ Variant of Concern (VOC) อีกสายพันธุ์หนึ่ง รวมทั้งสายพันธุ์อังกฤษ เพราะมีการแพร่กระจายได้ง่ายมาก อย่างรวดเร็ว

            สายพันธุ์อินเดีย B.1.617 มี 3 กลุ่มย่อย คือ B.1.617.1, B.1.617.2, B.1.617.3 แต่สายพันธุ์ที่ระบาดมากในอินเดียและกระจายไปในประเทศต่างๆ เป็นจำนวนมากคือสายพันธุ์ B.1.617.2

            สายพันธุ์นี้ได้ระบาดไปถึงอังกฤษ ทำให้ทางอังกฤษต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ พบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เพราะแพร่กระจายได้ง่าย

            จากข้อมูลในประเทศอังกฤษ มีการรายงานในข่าว Reuters พบว่าสายพันธุ์นี้แพร่กระจายได้ง่าย แต่ไม่น่าจะหลบหลีกภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีน (UK increasingly confident COVID-19 vaccines work against Indian variant) โดยเฉพาะที่ใช้ในประเทศอังกฤษ ใช้วัคซีน AstraZeneca ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการศึกษาในแนวลึก

            โดยสรุป สายพันธุ์อินเดีย B.1.617.2 จะแพร่กระจายได้ง่าย จะง่ายเท่าสายพันธุ์อังกฤษหรือมากกว่าสายพันธุ์อังกฤษยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจน แต่สายพันธุ์นี้ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ วัคซีนที่เราใช้อยู่นี้น่าจะป้องกันได้

            นักข่าวบีบีซีที่อังกฤษรายงานว่า ไวรัสกลายพันธุ์ชนิดนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า B1617 มีการตรวจพบในอินเดียครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคมของปีที่แล้ว

            มีการตรวจพบสายพันธุ์ B1617 จำนวน 220 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 360 ตัวอย่างที่เก็บข้อมูลได้ในรัฐมหาราษฏระ ช่วงระหว่างเดือน ม.ค.-เดือน มี.ค.ที่ผ่านมา

            ถึงสัปดาห์ที่ผ่านมาสายพันธุ์อินเดียนี้ได้แพร่กระจายไปกว่า 44 ประเทศแล้ว

            มีคำถามว่าสายพันธุ์อินเดียนี้เป็นอันตรายและติดต่อง่ายขึ้นหรือไม่

            นักข่าวบีบีซีที่ติดตามเรื่องนี้บอกว่า นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบชัดว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อินเดียทำให้โรคโควิด-19 ติดต่อกันได้ง่ายขึ้น หรือเป็นอันตรายร้ายแรงมากขึ้นด้วยหรือไม่

            โดยอ้าง ดร.เจเรมี คามิลล์ นักไวรัสวิทยาจากมหาวิทยาลัยลุยเซียนาสเตตของสหรัฐฯ ว่า ลักษณะการกลายพันธุ์บางอย่างของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อินเดีย มีความคล้ายคลึงกับที่พบในสายพันธุ์บราซิลและสายพันธุ์แอฟริกาใต้

            การกลายพันธุ์เช่นว่านี้อาจช่วยให้ไวรัสหลบเลี่ยงแอนติบอดีในระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย

            แอนติบอดีเป็นสิ่งเดียวที่จะต่อสู้กับไวรัสได้ หลังจากคนผู้นั้นได้รับวัคซีนหรือเคยผ่านการติดเชื้อมาแล้ว

            นักวิทยาศาสตร์ยอมรับว่าความรู้เกี่ยวกับไวรัสสายพันธุ์นี้ยังไม่สมบูรณ์ เพราะมีการแบ่งปันตัวอย่างไวรัสจากผู้ติดเชื้อเพื่อให้ศึกษากันน้อยมาก

            ทำให้ผมคิดถึงวิวาทะระหว่างผู้ว่าการรัฐนิวเดลีของอินเดียกับรัฐมนตรีสาธารณสุขสิงคโปร์ เพราะฝั่งอินเดียอ้างว่าเจอ “โควิดสายพันธุ์สิงคโปร์” ที่เมืองหลวงของอินเดีย

            สิงคโปร์ตอกกลับอย่างแรง โวยวายว่าผู้บริหารนิวเดลีสร้างข่าวปลอมที่ทำให้เสียชื่อสิงคโปร์

            รัฐมนตรีต่างประเทศอินเดียกระโดดมาเข้าข้างสิงคโปร์เสียฉิบ

            กลายเป็นสงครามน้ำลายข้ามประเทศกันอยู่หลายวัน

            เป็นสัญญาณเตือนภัยว่าไทยเราต้องวางยุทธวิธีทั้งรับโควิดสายพันธุ์ต่างๆ ที่ลอดเข้ามาให้เต็มที่

            อย่าให้ใครสร้างข่าวว่าเจอ “สายพันธุ์ไทย” เพราะโควิดมากลายพันธุ์แถวนี้เป็นอันขาด.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"