24 พ.ค. 64 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "โควิต 19 วัคซีน ข้อห้ามหรือใครไม่ควรรับวัคซีน และการเตรียมตัว
มีคำถามเข้ามามากจริงๆ จะรับวัคซีนได้ไหม ขอชี้แจงเลยว่าข้อห้ามสำหรับผู้ที่ไม่ควรรับวัคซีน
1.ผู้ที่รับวัคซีนแล้วเกิดแพ้วัคซีนอย่างรุนแรง ถึงขั้นช็อก (Anaphylaxis) วัคซีนนี้เป็นวัคซีนใหม่ถ้าให้เข็มแรกก็คงไม่มีใครรู้ ทุกคนจึงไม่อยู่ในข้อนี้ แต่ถ้าให้เข็มแรกแล้วแพ้รุนแรง เข็ม 2 ให้ไม่ได้แน่นอน ต้องเปลี่ยนชนิดวัคซีน ผู้ที่รู้ว่าแพ้ส่วนประกอบในวัคซีน ก็ไม่สมควรให้
ในทางปฏิบัติก็คงเป็นการยากพอสมควรที่แพ้ส่วนผสมในวัคซีน วัคซีนทั้งหลายขณะนี้ไม่มียาปฏิชีวนะ ไม่มีส่วนผสมของไข่ ดังนั้นผู้ที่แพ้ยา อาหาร หรือภูมิแพ้ต่างๆ ไม่ได้เป็นข้อห้ามแต่อย่างใด แต่ผู้ที่เคยแพ้อย่างรุนแรง หลังฉีดก็เฝ้าดูอาการอาจจะนานกว่าคนธรรมดาสักหน่อยก็ได้
2.ผู้ที่เจ็บป่วย มีไข้ หรือเป็นโรคปัจจุบันที่ต้องการการรักษา ผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้ายของโรค และผู้ป่วยที่รักษา โดยเฉพาะนอนในโรงพยาบาล ก็ให้เลื่อนไปก่อน จนกว่าทุกอย่างอยู่ในสภาพคงที่แล้ว และกลับบ้านแล้ว
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วเราจะเห็นว่าจะมีข้อห้ามเด็ดขาดน้อยมาก
ดังนั้นผู้ที่มีโรคประจำตัว และดูแลรักษาอยู่มีภาวะคงที่ ถึงจะกินยาประจำ ก็สามารถให้วัคซีนได้ เช่นเดียวกับการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ถ้าทุกปีเราสามารถให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ ก็ไม่ได้มีข้อห้าม
เบาหวาน ความดัน ก็สามารถฉีดวัคซีนได้ ถ้ารักษาและดูแลอยู่ตลอดอยู่แล้ว ยกเว้นเสียแต่ความดันที่ไม่สามารถควบคุมได้ หรือเบาหวานที่ยังควบคุมไม่ได้มีน้ำตาลสูงมาก ขนาดมีอาการที่ต้องรักษาในโรงพยาบาลก็ให้เลื่อนไปก่อน
โรคประจำตัว โรคพันธุกรรมต่างๆ เช่น ธาลัสซีเมีย ก็ไม่ได้เป็นข้อห้าม
ยาที่รับประทานประจำ ก็ให้คงรับประทานยานั้นเหมือนปกติ ไม่มีความจำเป็นต้องงดยาก่อนฉีดวัคซีน
การกินยากดภูมิต้านทาน ก็ไม่ได้เป็นข้อห้าม แต่ให้รู้ว่าถ้าฉีดวัคซีนภูมิต้านทานจะขึ้นได้ไม่ดี ถ้าจะหยุดยาก่อนควรปรึกษาแพทย์เพราะในบางครั้งถ้าหยุดยาแล้วโรคกำเริบก็ไม่ควรหยุด ฉีดไปดีกว่าไม่ฉีดถึงแม้ภูมิจะต่ำ ก็สามารถไปฉีดเพิ่มทีหลังได้ วัคซีนที่ฉีดทุกตัวเป็นเชื้อตายหรือแบ่งตัวไม่ได้อยู่แล้ว
ผู้ป่วย HIV ก็สามารถฉีดได้ ยกเว้นเสียแต่ว่ากำลังมีอาการ หรือ cd4 น้อยกว่า 200 ก็ควรจะรักษาเสียก่อน ให้ทุกอย่างดีขึ้นแล้วรีบฉีดวัคซีน
ผู้ที่กินยาละลายลิ่มเลือด ก็ให้กินต่อไป แต่หลังฉีดวัคซีน จะต้องกดรอยฉีดให้นาน 5-10 นาทีเพื่อป้องกันเลือดออกง่าย
ใครทานกาแฟอยู่เป็นประจำทุกวัน ก็ทานไป ถ้าใครทานนานๆ ครั้ง ก็ไม่ควรทานกาแฟวันที่ฉีดวัคซีน หรือใครไม่ทานก็ไม่ควรทานวันฉีดวัคซีน เพราะจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว และบีบเส้นเลือด ความดันจะขึ้นสูง
คนที่ทานประจำ ร่างกายปรับตัวได้อยู่แล้ว ถ้าหยุดทานกาแฟ จะรู้สึกหงุดหงิด และปวดหัวเอาได้ง่ายๆ ไม่ได้มีข้อบ่งชี้ว่า ผู้ที่ทานกาแฟเป็นประจำทุกวันต้องหยุดกาแฟ
ผู้ที่ทานยาบีบเส้นเลือด เช่น ยารักษาปวดหัวไมเกรน ถ้าหยุดได้ก็ควรจะต้องหยุด ถ้าปวดหัววันนั้นและหยุดไม่ได้ ก็เลื่อนวันฉีดออกไป
วันฉีดวัคซีนไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ รับประทานอาหารให้เต็มที่แบบปกติ แต่ก็ไม่ต้องถึงกับกินน้ำหลายๆ ลิตรอย่างที่มีการพูดกัน ให้มั่นใจว่าร่างกายเราไม่ได้ขาดน้ำ ถ้าอย่างที่ส่งต่อกันให้กินวันละ 5 - 6 ลิตร ไม่แน่ใจว่าสถานที่ฉีด จะมีห้องน้ำให้เข้าเพียงพอหรือเปล่า ดูก็แล้วกันว่าถ้าสถานที่ไม่มีที่ปรับอากาศ อากาศร้อนก็ทานน้ำให้มาก ถ้าอยู่ในห้องแอร์ที่เย็น ก็อย่าให้ขาดน้ำก็แล้วกัน คงไม่ต้องถึงกับกินมากอย่างที่บอกในสื่อต่างๆ
การเตรียมตัวฉีดวัคซีน ก็เหมือนอย่างที่เราไปฉีดวัคซีนกันทุกปีป้องกันไข้หวัดใหญ่ พักผ่อนให้พอ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น ผ่อนคลาย เพราะสภาพที่เป็นอยู่ตอนนี้ หลายคนเดินเข้ามาก็เกิดความกลัว วัดความดันก็พุ่งสูงกันหมด และหลังฉีดก็มีการเป็นลมได้ เหมือนกับที่เราพบบ่อยกับการเจาะเลือด แล้วหลายคนเป็นลม การเป็นลมดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการแพ้ยาฉีดแต่อย่างใด หน้าซีดจนหลายคนกลัว ที่จริงแล้วเป็นเรื่องที่เราเห็นกันบ่อยๆ ไม่มีอันตรายอย่างใดเลย
ชีวิตทุกคนต้องเดินหน้า การฉีดวัคซีนก็ให้คิดว่าเหมือนอยู่ในภาวะปกติ ที่เราให้วัคซีนกันในชีวิตประจำวัน แล้วทุกอย่างจะผ่านไปด้วยดี".
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |