23 พ.ค.64-นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี ศบค.ออกมาตรการที่อาจส่งผลกระทบต่อประชุมกรรมาธิการของสภา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ว่า เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องเป็นไปตามกฎที่ผู้มีหน้าที่เป็นผู้กำหนด แต่อย่างไรก็ตามในการที่จะดำเนินการในสภาต่อไปอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับประธานรัฐสภา และวิปทั้ง 3 ฝ่าย ที่จะต้องมาคุยกันว่าจะดำเนินการอย่างไร
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ในส่วนของ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 65 หากไม่มีการประชุม หรือยังไม่สามารถที่จะประชุมคณะกรรมาธิการได้ก็จะมีผลกระทบในแง่ของเงื่อนเวลา เพราะตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าเมื่อร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายฯได้ส่งถึงรัฐสภาแล้วสภาผู้แทนราษฎรจะต้องพิจารณาให้เสร็จสิ้นภายใน 105 วัน ซึ่งขณะนี้ถือว่าร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ได้ส่งถึงสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ดังนั้นในเงื่อนเวลา 105 วันนี้ได้เริ่มนับหนึ่งแล้ว หากผ่านวาระที่ 1 และไปสู่วาระที่ 2 ของการตั้งกรรมาธิการ แล้วหากกรรมาธิการไม่สามารถประชุมได้ ก็จะมีผลกระทบในเรื่องเงื่อนเวลาการทำหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร
"อันนี้เป็นเรื่องที่วิปก็จะต้องไปพิจารณาร่วมกัน ทั้งในส่วนของวิปรัฐบาล วิปฝ่ายค้านและวิปวุฒิสภาด้วยว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป เพราะว่าหลังจากผ่านสภาผู้แทนราษฎรแล้ว วุฒิสภาก็มีเงื่อนเวลาที่จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 20 วันกำกับไว้ด้วยตามรัฐธรรมนูญ"
ซักว่า หากการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ จะต้องสะดุดหยุดลงจะส่งผลกระทบต่อประเทศอย่างไรนั้น หรืออาจต้องเลื่อนการพิจารณาออกไปก่อน นายจุรินทร์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่าจะสามารถเลื่อนออกไปได้หรือไม่ เพราะขณะนี้เท่าที่ติดตามจากเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร ก็ตอบว่าขณะนี้ถือว่าพ.ร.บ.งบประมาณได้ส่งถึงสภาแล้ว เมื่อวันที่ 17 พ.ค. เพราะฉะนั้นในเงื่อนเวลา 105 วันได้นับหนึ่งแล้ว ดังนั้นจะกระทบมากน้อยแค่ไหนอย่างไร หรือกระทบ หรือไม่กระทบนั้นคิดว่าวิปต้องรีบประชุม และต้องรีบหารือกันว่าจะดำเนินการอย่างไร ถ้าหากไม่สามารถประชุมกรรมาธิการได้ หรือ กรรมาธิการจะต้องเร่งรัดทำให้เสร็จเร็วเป็นพิเศษ เพราะเวลา 105 วันได้บังคับอยู่ว่านับหนึ่งจากวันที่ 17 พ.ค.
"ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย 65 ที่เกี่ยวกับการจัดงบประมาณเพื่อรองรับการแก้ปัญหาโควิด ก็มีอยู่ในนั้นส่วนหนึ่ง ซึ่งขอให้ผู้ที่มีหน้าที่ได้แจกแจงรายละเอียดในสภาเมื่อถึงเวลาที่มีการอภิปราย นอกจากนั้นก็ยังมีเงินกู้อีกก้อนหนึ่ง หรือเงินกู้เดิมที่ยังเหลืออยู่จำนวนหนึ่งก็สามารถที่จะนำมาใช้ในการคลี่คลายสถานการณ์โควิด และเศรษฐกิจควบคู่กันไปได้ด้วย"
นายจุรินทร์ กล่าวว่า สำหรับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงการที่รัฐบาลเตรียมออก พ.ร.ก. กู้เงิน 7 แสนล้านบาท
เรื่องนี้รัฐบาลต้องพิจารณาความจำเป็นทั้งสองด้าน ทั้งในด้านการแก้ปัญหาโควิด และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจควบคู่กันไป เพราะทั้งสองปัญหานี้เป็นเงื่อนปัญหาที่เราจะต้องพาประเทศฟันฝ่าให้ผ่านพ้นไปให้ได้ ซึ่งเงินกู้ที่จะมีการดำเนินการนั้นก็จะต้องมุ่งเน้นในเรื่องของการแก้ปัญหาทั้งสองส่วนไปด้วยกัน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |