‘แอสตร้าฯ’เอาอยู่! ‘หมอยง-WHO’ประสานเสียงปราบไดทุ้กสายพันธุ์


เพิ่มเพื่อน    

 

"หมอยง" ยืนยันวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิผลในการป้องกันโควิดสายพันธุ์อินเดีย แนะเด็กรุ่นใหม่สนใจวิทยาศาสตร์กันให้มาก การตอบปัญหาต่างๆ จะใช้หลักวิทยาศาสตร์ และความจริงที่พิสูจน์ได้ WHO ยืนยันอีกเสียง วัคซีนที่ผ่านการอนุมัติสามารถป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ได้ทั้งหมด ราชทัณฑ์เริ่มแล้วฉีดปูพรม ประเดิมเรือนจำพิเศษมีนบุรี

    ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก  ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า เป็นข่าวใหญ่ที่พบสายพันธุ์อินเดียระบาดในประเทศไทย ก่อนหน้านี้ที่ศูนย์ก็พบสายพันธุ์อินเดีย B.1.167.2 จากผู้เดินทางมาจากอินเดีย 8 คน ในสถานกักกัน ซึ่งจะไม่มีผลต่อการระบาดในประเทศไทย รับรองผลด้วยงานวิจัยทางการแพทย์จาก USA เห็นผลแล้วนับพัน Innovation เมื่อมีการพบสายพันธุ์อินเดียในประเทศไทย จึงจำเป็นที่จะต้องควบคุมให้ได้โดยเร็ว ก่อนที่จะสร้างปัญหาใหญ่โต
    สายพันธุ์ที่ระบาดอย่างรุนแรงในอินเดีย ประกอบไปด้วยสายพันธุ์อินเดียและเบงกอล สายพันธุ์อินเดียเป็นสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง และให้ความสำคัญ Variant of Concern (VOC) อีกสายพันธุ์หนึ่ง รวมทั้งสายพันธุ์อังกฤษ เพราะมีการแพร่กระจายได้ง่ายมากอย่างรวดเร็ว
    สายพันธุ์อินเดีย B.1.167 มี 3 กลุ่มย่อย คือ B.1.167.1, B.1.167.2,  B.1.167.3 แต่สายพันธุ์ที่ระบาดมากในอินเดียและกระจายไปในประเทศต่างๆ เป็นจำนวนมากคือสายพันธุ์ B.1.167.2
    สายพันธุ์นี้ได้ระบาดไปถึงประเทศอังกฤษ ทำให้ทางอังกฤษต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ พบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เพราะแพร่กระจายได้ง่าย
    จากข้อมูลในประเทศอังกฤษ มีการรายงานในข่าว Reuters พบว่าสายพันธุ์นี้แพร่กระจายได้ง่าย แต่ไม่น่าจะหลบหลีกภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีน (UK increasingly confident COVID-19 vaccines work against Indian variant)  โดยเฉพาะที่ใช้ในประเทศอังกฤษ ใช้วัคซีน AstraZeneca ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการศึกษาในแนวลึก
    ถ้าเราดูในหลักวิชาการทางวิทยาศาสตร์ สายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้ง่ายจะมีการกลายพันธุ์ในส่วนของ Spike protein ดังนี้ D614G หรือที่เราเรียกว่าสายพันธุ์ G คือตำแหน่งที่ 614 มีการเปลี่ยนแปลงของกรดอะมิโนจาก Aspartate ไปเป็น Glycine ทำให้สายพันธุ์นี้ครองโลกอยู่ขณะนี้
    ตำแหน่ง N501Y มีการเปลี่ยนแปลงจาก Asparagine ไปเป็น tyrosine และทำให้จับกลับตัวรับบนผิวเซลล์ได้ดีขึ้น พบในสายพันธุ์อังกฤษ ที่ทำให้แพร่กระจายได้ง่ายขึ้น
    ที่สำคัญอีกตำแหน่งหนึ่งคือตำแหน่ง 681 ในตำแหน่งนี้ทั่วไปกรดอะมิโนจะเป็น Proline จะเป็นตำแหน่งที่เอนไซม์ของร่างกายเราคือ furin ไปตัดแบ่ง spike protein หลังจากไวรัสได้เกาะกับเซลล์เรียบร้อยแล้ว ถ้าสามารถตัดได้ง่ายไวรัสก็จะมุดเข้าสู่เซลล์ได้ง่าย เพราะการเกาะติดและเข้าสู่เซลล์จะต้องมีการตัดส่วนของ Spike protein ให้แยกขาดออกจากกัน (S1 และ S2) เพื่อให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ ถ้ายิ่งตัดง่ายก็เข้าสู่เซลล์ได้ง่าย เกิดการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะถ้าเปลี่ยนเป็น  กรดอะมิโนที่เป็นด่าง
    จะเห็นว่าสายพันธุ์อินเดียต่างจากสายพันธุ์อื่นคือเป็น 681R ในตำแหน่งนี้เป็น Arginine ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นด่าง ทำให้เอนไซม์ Furin ตัดได้ง่ายขึ้น และง่ายที่จะเข้าสู่เซลล์หรือการติดเชื้อนั่นเอง
    การเปลี่ยนแปลงที่จะหลบหลีกระบบภูมิต้านทานส่วนใหญ่ จะให้ความสำคัญอยู่ในตำแหน่งที่ 484 วัคซีนส่วนใหญ่ที่ทำมาจะเป็นสายพันธุ์ ในตำแหน่งนี้คือกรดอะมิโน Glutamic (E) แต่ถ้าเปลี่ยนไปเป็น K หรือ Lysine อย่างเช่นในสายพันธุ์แอฟริกาใต้ จะทำให้หลบหลีกระบบภูมิต้านทานที่จะทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง
WHO ยืนยันอีกเสียง
    เมื่อดูสายพันธุ์อินเดีย (B.1.167.2) ในตำแหน่งนี้ยังเป็น E ดังนั้นด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ วัคซีนที่ใช้อยู่น่าจะมีประสิทธิผลในการป้องกันได้ เช่นเดียวกันกับที่มีการพูดในอังกฤษผ่านสำนักข่าวออกมา
    การแพร่กระจายได้ง่ายนี้เอง ทำให้ทั่วโลกจึงให้ความสำคัญและคำนึงถึงสายพันธุ์อินเดีย มีการพยายามป้องกันอย่างเต็มที่ไม่ให้เกิดการระบาดในประเทศของตัวเอง แต่ต้องยอมรับว่าการป้องกันสิ่งที่มองไม่เห็น สามารถทำได้ยาก ถ้าขาดระเบียบวินัย
    โดยสรุปสายพันธุ์อินเดีย B.1.167.2 จะแพร่กระจายได้ง่าย จะง่ายเท่าสายพันธุ์อังกฤษหรือมากกว่าสายพันธุ์อังกฤษ ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจน แต่สายพันธุ์นี้ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ วัคซีนที่เราใช้อยู่นี้น่าจะป้องกันได้
    ศ.นพ.ยงทิ้งท้ายว่า อยากให้เด็กรุ่นใหม่สนใจวิทยาศาสตร์กันให้มาก การตอบปัญหาต่างๆ จะใช้หลักวิทยาศาสตร์ และความจริงที่พิสูจน์ได้
     ขณะที่ฮานส์ คลูจ ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคยุโรปขององค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันว่า วัคซีนต้าน Covid-19 ที่ผ่านการอนุมัติจากองค์การอนามัยโลกแล้ว สามารถป้องกันเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์กลายพันธุ์ได้ทั้งหมด รวมทั้งสายพันธุ์จากอินเดีย (B.1.617)
    "โควิด-19 ทุกสายพันธุ์ที่อุบัติขึ้นในขณะนี้ ตอบสนองกับวัคซีนที่ได้รับการอนุมัติแล้วทั้งหมด” คลูจกล่าว
       ปัจจุบันมีวัคซีนจาก 5 บริษัทที่ได้รับการรับรองจาก WHO ได้แก่ Pfizer-BioNTech, Moderna, AstraZeneca (รวมทั้ง Covishield ที่ผลิตโดยสถาบันเซรุ่มของอินเดีย (SII)), Johnson & Johnson และ Sinopharm
    วันเดียวกันนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ลงพื้นที่ตรวจการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกัน covid-19 ที่จังหวัดนครราชสีมา พร้อมให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนที่มาฉีดวัคซีน โดยขอบคุณภาคเอกชนที่ให้ความร่วมมือ และพร้อมจะดำเนินการเร่งฉีดวัคซีนโดยเร็ว ขณะนี้มีการเตรียมพื้นที่ให้ครอบคลุมผู้คนในการฉีดมากที่สุด ทั้งภาคเอกชน สถานการศึกษา ส่วนราชการของกระทรวงคมนาคม
    ทั้งนี้ จะเริ่มกระจายวัคซีนตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 จึงขอให้ประชาชนลงทะเบียนนัดหมายให้ชัดเจน พร้อมยืนยันกระทรวงสาธารณสุขมีความพร้อมทั้งสถานที่ บุคลากรทางการแพทย์ แพทย์ฉุกเฉิน และหวังว่าโมเดลความร่วมมือกับภาคเอกชนนี้ จะขยายไปทั่วประเทศเพื่อจัดการฉีดวัคซีนให้ประชาชนประสบผลสำเร็จโดยเร็ว
    นายอนุทินย้ำว่า วัคซีนที่ประเทศไทยนำเข้ามาเป็นวัคซีนที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ ได้รับการยอมรับ มีการใช้อย่างแพร่หลาย และปลอดภัย มีผลทำให้ทุกคนมีภูมิคุ้มกัน ไม่ติดเชื้อโควิดได้ง่าย หรือเป็นแล้วอาการไม่หนัก ทั้งนี้ รัฐบาลจะดำเนินการฉีดและดูแลประชาชนจนกว่าโควิดจะกลายเป็นโรคธรรมดา
    "วัคซีนที่นำมาใช้ครอบคลุมทุกสายพันธุ์ พร้อมเชิญชวนให้ประชาชนมาฉีดวัคซีนให้มากที่สุดตามช่องทางต่างๆ ที่รัฐบาลได้เปิดไว้" รมว.สาธารณสุขกล่าว
ฉีดแล้ว 2.7 ล้านโดส
    นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงข่าวว่า ขณะนี้มีวัคซีนเข้ามาถึงไทย 6 ล้านโดส กระจายลงพื้นที่ไปแล้ว 3.6 ล้านโดส ฉีดแล้ว 2.7 ล้านโดส ส่วนต่าง 9 แสนโดส กำลังปูพรมในการฉีด อยู่ระหว่างการจัดส่ง 4 แสนโดส และอยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณภาพ 2 ล้านโดส
    โฆษก ศบค.กล่าวด้วยว่า ตั้งแต่ได้รับมอบหมายให้ประชาสัมพันธ์ขอจิตอาสามาเสริมทีม กทม. ขณะนี้มีผู้อาสาเข้ามาแล้ว 81 คน เป็นแพทย์ 11 คน, พยาบาล 8 คน, ผู้ช่วยพยาบาล 2 คน, เภสัชกร 3 คน, นักระบาดวิทยา 5 คน, ล่ามภาษีจีนและอังกฤษอย่างละ 1 คน และธุรการทั่วไป 40 คน กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ แล้ว แต่ยังมีความต้องการทีมฉีดวัคซีนเพิ่มเติม 5 ทีม ทีมละ 72 คน รวมทั้งหมด 360 คน โดยแต่ละทีมจะประกอบด้วย แพทย์ 2 คน พยาบาล 30 คน ทำหน้าที่ฉีดวัคซีน 10 คน เตรียมยา 5 คน ช่วยคัดกรอง 12 คน สังเกตอาการ 3 คน และอาสาสมัครทั่วไปช่วยวัดความดัน ช่างน้ำหนัก ลงทะเบียน อำนวยความสะดวก รวม 40 คน ดังนั้นใครประสงค์เป็นจิตอาสาขอให้ติดต่อมาที่หมายเลข 06-4805-2620
    นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข (รก.11) ในฐานะโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงนโยบายแบ่งฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าให้ได้ 12 โดสต่อขวด ซึ่งอาจสร้างความกังวลให้กับพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ในฐานะเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการว่า ที่ผ่านมาพยาบาลที่เข้ามาทำหน้าที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 มีความเชี่ยวชาญในงานที่ปฏิบัติอยู่แล้ว มีประสบการณ์มามาก และกระทรวงยังได้อบรมพยาบาลอย่างต่อเนื่อง โดยขออย่าไปคิดว่า 1 ขวดพยาบาลจะดูดขึ้นมาได้กี่โดส เพราะเป้าหมายคือต้องดูดให้ได้โดสละ 0.5 cc. ซึ่งเพียงพอต่อการใช้ และมีคุณภาพ
    ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวเป็นนโยบายที่ดี ทำให้มีประโยชน์และประสิทธิภาพ มีวัคซีนเพิ่มขึ้น 10-20% และไม่มีการบังคับ แต่มีการฝึกอบรมพยาบาลที่ดูดวัคซีนจากขวดเพื่อเตรียมฉีด ได้มีการประเมินผลและสอบถามพยาบาลที่ปฏิบัติงาน พบว่ามีความภูมิใจที่ได้ช่วยชาติและพี่น้องประชาชน อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนมั่นใจว่าการให้บริการอยู่บนพื้นฐานความปลอดภัยและมาตรฐาน
    “สำหรับพยาบาลที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ ทุกท่านมีความเต็มใจในการทำงาน เพราะถือเป็นภารกิจเพื่อชาติ ซึ่งทุกท่านพยายามเต็มที่แน่นอน”
ฉีดปูพรมเรือนจำ
    ที่เรือนจำพิเศษมีนบุรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการ รมว.ยุติธรรม, นพ.วีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจในการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ให้แก่ผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรี ซึ่งเป็นการนำร่องแห่งแรกของประเทศไทย โดยมี พ.อ.ปริวรรตน์ วิมลปรีชาพงศ์ ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษมีนบุรี ให้การต้อนรับและนำตรวจ
    นายสมศักดิ์และคณะได้เดินตรวจเยี่ยมและพูดคุยให้กำลังใจแก่ผู้ต้องขัง โดยกล่าวว่า ที่เรือนจำแห่งนี้เป็นที่แรกในประเทศที่ได้ฉีดวัคซีน โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญ ซึ่งตนต้องขอขอบคุณท่าน ซึ่งแม้ว่าเราจะฉีดวัคซีนแล้ว แต่ก็ยังต้องระวัง และต้องใช้มาตรการป้องกันของสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดเช่นเดิม นอกจากนี้ตนต้องขอขอบคุณกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ที่จัดสรรวัคซีนมาให้ โดยวันนี้เรามีทีมแพทย์จากโรคพยาบาลราชทัณฑ์ นำโดยนายวัฒน์ชัย มิ่งบรรเจิดสุข รักษาการผู้อำนวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ และต้องขอบคุณการสนับสนุนอุปกรณ์จากโรงพยาบาลนวมินทร์ 9 ที่นำรถการแพทย์มาช่วยดูแลสังเกตอาการข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน
    จากนั้น นายสมศักดิ์แถลงข่าวว่า วันนี้เป็นวันแรกที่เราเริ่มฉีดวัคซีนให้กับผู้ต้องขัง ซึ่งที่เราเลือกที่นี่เป็นแห่งแรกเพราะผู้ต้องขัง 3,826 คน ไม่มีผู้ติดเชื้อ โดยเรามีพยาบาล 12 คน ดำเนินการฉีด ซึ่งพยาบาล 1 คน จะฉีดได้ 250 คน โดยการฉีดวัคซีนซิโนแวค สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้สูง และใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์จะสามารถฉีดเข็มที่ 2 ได้ โดยจากการฉีดมาแล้วตั้งแต่เช้า เรายังไม่พบว่ามีผู้ต้องขังที่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด ซึ่งเรือนจำต่อไปที่จะได้รับการฉีดวัคซีนคือเรือนจำกลางสมุทรปราการ และจะทยอยฉีดให้กับเรือนจำที่ไม่มีผู้ติดเชื้อหรือมีน้อยต่อไปจนครบทุกเรือนจำ โดยเรือนจำที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก คงต้องรอให้รักษาให้หายก่อน ซึ่งการดำเนินการฉีดทั้งหมดจะใช้เวลาไม่นาน
    "ผมขอให้ผู้บัญชาการเรือนจำทุกเรือนจำปฏิบัติตามมาตรฐาน Standard Operating Procedure (SOPs) หากปฏิบัติตาม จะช่วยให้เรือนจำไม่มีผู้ติดเชื้อหรือติดเชื้อน้อย และหากผู้บริหารเข้าใจมาตรการ SOPs ผลงานก็จะออกมาดี แต่หากใครยังไม่เข้าใจ อาจจะต้องมีการพิจารณาปรับย้ายกันบ้าง ขอให้ทุกคนตั้งใจทำงานให้ดีที่สุด โดยในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล หากเราระดมฉีดวัคซีน ภายใน 1 เดือนน่าจะเสร็จ ซึ่งหากเราคำนวณค่าใช้จ่ายการฉีดวัคซีนให้กับผู้ต้องขัง 300,000 คน จะน้อยมากหากเทียบกับการใช้ยารักษาคนติดเชื้อโควิด" นายสมศักดิ์กล่าว.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"