ส.ส.ชาติพันธุ์ ก้าวไกล ห่วงสู้รบชายแดนไทย-เมียนมา วอน 'กมธ.สภา' ลงพื้นที่รับฟังปัญหา


เพิ่มเพื่อน    

แฟ้มภาพ

21 พ.ค.64 - นายมานพ คีรีภูวดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วนชาติพันธุ์ (กะเหรี่ยงหรือปกาเกอะญอ) กล่าวว่า จากสถานการณ์สู้รบในเมียนมาทำให้ชายแดนบริเวณสองฝั่งแม่น้ำสาละวินมีความตึงเครียด ประชาชนทั้งสองฝั่งอยู่ในภาวะหวาดกลัวและเป็นกังวลต่อความปลอดภัย ในภาวะแบบนี้ในฐานะผู้แทนราษฎรอยากเสนอไปยังคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องลงไปรับฟังปัญหาและหาแนวทางแก้ไขเพื่อเสนอไปยังรัฐบาลไม่ว่าจะเป็น กมธ.ความมั่งคงแห่งรัฐและกิจการชายแดน,กมธ.ต่างประเทศ,กมธ.เด็กสตรี นอกจากนี้ยังอยากให้รัฐบาลรับฟังข้อเรียกร้องของภาคประชาชนเครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำสาละวิน และภาคีด้วย

ทั้งนี้ เครือข่ายดังกล่าวได้มีแถลงการณ์ออกมาโดยเรียกร้องให้รัฐบาลไทยพิจารณาการชะลอการส่งผู้ลี้ภัยการสู้รบกลับประเทศและให้การช่วยเหลือทางมนุษยธรรม

"ขณะนี้ฝ่ายความมั่นคง ยังคงมีมาตรการสกัดกั้นการเข้า-ออกยังชายแดนแม่น้ำสาละวิน เป็นการปิดกั้นเส้นทางการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจาก กลุ่มบุคคล และองค์กรผู้มีจิตเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ที่มีความประสงค์ในการช่วยเหลือผู้หนีภัยสงคราม ที่หนีร้อนมาพึ่งเย็นในครั้งนี้ ทั้งการส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ สิ่งของจำเป็นเร่งด่วนด้านมนุษยธรรม อาทิ ข้าวสาร อาหาร ยา เวชภัณฑ์ ฯลฯ ส่งผลให้ผู้หนีภัยตามชายแดนมายังฝั่งไทยริมฝั่งน้ำสาละวินจากความไม่สงบ ราว 3 พันคน ต้องมีสภาพการอยู่ที่ลำบาก ต้องทนทุกข์ทรมาน ขาดอาหารและน้ำดื่มสะอาด ที่พักพิงเป็นเพียงเพิงผ้าใบที่ไม่สามารถกันแดดและฝน นอกจากนี้ยังขาดสุขอนามัยพื้นฐาน เพิ่มความเสี่ยงด้านสุขภาพ การระบาดของโรค  มีผู้หนีภัยที่ล้มป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเด็กเล็ก คนชรา ผู้หญิง" แถลงการณ์ระบุ

นายมานพ เปิดเผยด้วยว่า ขณะนี้ยังมีประชาชนที่หนีการโจมตีจากทหารพม่า หลบซ่อนตัวกระจายตามป่าเขาในฝั่งรัฐกะเหรี่ยงอีกไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นคน โดยมีเครื่องบินรบของทหาร และโดรนตรวจการณ์บินลาดตระเวนตลอดทำให้ประชาชนหวาดกลัว ไม่กล้ากลับเข้าอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ไม่สามารถคืนสู่บ้านเรือนและไร่นาของตนเองได้

ล่าสุดทราบว่าเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม มีเจ้าหน้าที่ความมั่นคงของไทย เดินทางไปแจ้งผู้หนีภัยการสู้รบมาอาศัยอยู่ทางฝั่งไทย ให้เดินทางกลับทั้งหมดภายในวันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม 2564  ขัดแย้งกับสิ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หารือและกล่าวกับทูตพิเศษด้านพม่าของสหประชาชาติ ว่ารัฐบาลไทยพร้อมให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมสำหรับประชาชนที่หลบหนีจากสถานการณ์การสู้รบในพม่า โดยทั้งสองฝ่ายหารือถึงการให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม แต่จากข้อมูลที่เครือข่ายภาคประชาชนติดตามสถานการณ์พบว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนบัดนี้นโยบายของนายกรัฐมนตรีดังกล่าวยังไม่เกิดในทางปฏิบัติ คือยังไม่มีการเปิดช่องทางในการเข้าไปช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้หนีภัยที่พักพิงอยู่บริเวณชายแดนเลย

จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเปิดทางความช่วยเหลือตามที่รับปากไว้กับสหประชาชาติ เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล และขอให้ชะลอการส่งกลับผู้หนีภัยจากการสู้รบชายแดน ทุกจุด จนกว่าจะมีการประเมินสถานการณ์ปลอดภัย เหมาะสม และมีส่วนร่วม ยึดหลักการที่ว่า รัฐไม่อาจผลักดันผู้อพยพหรือผู้แสวงหาที่ลี้ภัยกลับออกไปได้ทันที หากปรากฏว่าการผลักดันกลับนั้นจะเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือเสรีภาพของบุคคลนั้น ซึ่งได้กำหนดไว้ในตราสารระหว่างประเทศว่าด้วยผู้ลี้ภัย

นอกจากนี้ ควรตั้งคณะกรรมการระดับประเทศ ประกอบด้วยกรรมการจากภาคส่วนต่างๆ อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย องค์กรภาคประชาสังคม หน่วยงานของสหประชาชาติ เช่น UNHCR  และประสานกับองค์กรในพม่า ร่วมคลี่คลายปัญหาจากสถานการณ์นี้เพื่อแสดงถึงความโปร่งใส และความจริงใจ สามารถตรวจสอบได้ เปิดเผยต่อสาธารณะ แก้ปัญหาวิกฤตมนุษยธรรมนี้ในทันที.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"