อ่านเลยข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย'โรคหัวใจ'และ 'หลอดเลือด'กับการฉีดวัคซีนโควิด-19


เพิ่มเพื่อน    


ฉีดวัคซีน..เอาที่สบายใจ (13 ) กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด
 

โรคหัวใจและหลอดเลือด ในผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไป เป็น 1 ใน กลุ่มโรค เป้าหมายที่ควรได้รับวัคซีนโควิด-19 เป็นกลุ่มแรก ถัดจากกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ด่านหน้า ซึ่งยังมีโรคทางเดินหายใจเรื้อยัง โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน (ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30) โรคมะเร็ง และเบาหวาน ที่ต้องได้รับวัคซีนก่อนด้วย 

นพ.อชิรวินทร์ จิรกมลชัยสิริ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ระบุว่า โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นกลุ่มที่มีข้อมูลทางคลินิกยืนยันแล้วว่ามีโอกาสเสียชีวิตหรือเป็นอาการรุนแรงถ้าติดเชื้อโควิด-19 สูงกว่าประชากรทั่วไป สำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด มีข้อแนะนำพิเศษ คือ ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกคนควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและโอกาสการเป็นโรคโควิด-19 รุนแรง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสูงที่สุด คือ กลุ่มที่เพิ่งเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยปัญหาโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, ความดันของหลอดเลือดแดงปอดสูง, ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือมีโรคร่วมอื่นๆ เช่น เบาหวาน, อ้วน (ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30), ความดันโลหิตสูง 

“จากข้อมูลทั้งหมดจากการวิจัยเฟส 3 ยังยืนยันความปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียงที่จะทำให้โรคหัวใจแย่ลงแต่อย่างใด มีรายงานการแพ้ยารุนแรงแต่ก็ไม่ได้มากกว่าวัคซีนชนิดอื่นๆ ที่มีใช้ที่ผ่านมา และจากรายงานวัคซีนโควิด-19 ยังไม่พบว่ามีการเกิดปฏิกิริยาระหว่างวัคซีนกับกลุ่มยารักษาโรคหัวใจจากข้อมูลทั้งหมด ในกลุ่มที่ทานยาต้านเกล็ดเลือดและ/หรือยาละลายลิ่มเลือด มีเพียงรายงานการเกิดอาการช้ำหรือปวดบริเวณที่ฉีดเพิ่มขึ้นเล็กน้อ” นพ. อชิรวินทร์ อ้างอิงข้อมูลการวิจัย 

สำหรับข้อปฏิบัติตัวสำหรับกลุ่มที่รับประทานยาต้านเกล็ดเลือดและ/หรือกลุ่มยาละลายลิ่มเลือดก่อนและหลังรับวัคซีน คือ 1.กลุ่มที่ทานยาดังกล่าวก็ยังจำเป็นที่ต้องฉีดวัคซีนและสามารถรับประทานยาโดยไม่ต้องหยุดก่อนรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยแจ้งทีมแพทย์พยาบาลว่าทานยากลุ่มดังกล่าว 2.การฉีดวัคซีนจะใช้เข็มที่เล็กกว่าปกติและกดบริเวณที่ฉีดนานกว่าปกติ เนื่องจากมีโอกาสการเกิดรอยฟกช้ำหรือห้อเลือดได้สูงกว่าคนทั่วไปแต่มักจะหายได้เอง (ขอเรียนให้ทราบว่าวัคซีนโควิด-19 นั้นปัจจุบันยังไม่สามารถบริหารยาแบบฉีดใต้ผิวหนังได้เหมือนวัคซีนไข้หวัดใหญ่บางชนิด ต้องฉีดเข้ากล้ามอย่างเดียวเท่านั้น)

นพ. อชิรวินทร์ เพิ่มเติมว่า ในส่วนความกังวลเรื่องลิ่มเลือดที่เกิดในวัคซีนบางประเภท สามารถทานยาละลายลิ่มเลือดหรือยาต้านเกล็ดเลือดก่อนการฉีดวัคซีนโควิด-19 นั้น ไม่แนะนำอย่างยิ่งและมีโอกาสเกิดอันตรายจากการใช้ยากลุ่มดังกล่าวโดยไม่จำเป็น และข้อมูลกลไกการเกิดลิ่มเลือดหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ก็ไม่สามารถป้องกันด้วยการทานยากลุ่มดังกล่าว
 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"