เงินกู้ก้อนใหม่ 7 แสนล้านบาทที่รัฐบาลจะช่วยเหลือกลุ่มก้อนของธุรกิจกลางๆ เล็กๆ เพียงใดเป็นคำถามใหญ่ที่ต้องการคำตอบอย่างรวดเร็วและชัดเจน
ศบค.ผ่อนคลายมาตรการนั่งกินอาหารในร้านแล้ว แม้จะแค่ 25% แต่ก็คงจะเป็นการเปิดทางให้มีช่องหายใจเล็กๆ น้อยๆ สำหรับร้านอาหาร
แต่ผลกระทบจากโควิดต่อร้านอาหารกลางๆ เล็กๆ ที่เป็นวิถีชีวิตสำคัญของคนไทยทั่วประเทศนั้นมีกว้างและลึกมากกว่าที่เห็นในภาพรวมเท่านั้น
ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพปริ่มน้ำหรือไม่ก็จมน้ำ ขาดออกซิเจนมาช่วยให้อยู่รอดพ้นวิกฤติที่ยังไม่รู้ว่าจะยืดเยื้อยาวนานอีกเพียงใด
ผมเห็นข้อเสนอในรายละเอียดจากคนในวงการนี้ต่อรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วก็เห็นภาพของปัญหาลึกๆ ที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนจริงๆ หลายเรื่อง
คุณสรเทพ โรจน์พจนารัช ในนามของตัวแทนชมรมผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา เสนอทางออกที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
หนังสือนั้นมีคำอธิบายว่า
ธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทยในปี 2562 มีทั้งหมด 4.20 แสนร้านอาหาร
แต่ในปี 2564 ธุรกิจร้านอาหารเหลืออยู่เพียง 3.4 แสนร้านอาหาร
มูลค่าทางเศรษฐกิจของภาคธุรกิจร้านอาหารอยู่ที่ 4 แสนล้านบาท/ปี ร้านอาหารทํารายได้โดยจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีนิติบุคคล หรือภาษีเหมาทางธุรกิจให้รัฐบาลไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1 พันล้านบาท
และยังเป็นธุรกิจที่มีห่วงโซ่ต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจทั้งในภาคเกษตรกร, ชาวสวน, ชาวประมง มีมูลค่ามากกว่า 2 แสนล้านบาท/ปี
ที่สําคัญ สามารถสร้างงานในภาคแรงงานธุรกิจร้านอาหารอีกเป็นจํานวนมหาศาล
จากการพูดคุยและเสวนาในคลับเฮาส์ เมื่อวันพุธที่ 12 พ.ค.2564 เวลา 20.30 น. ในห้องชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร ในหัวข้อ “ธุรกิจร้านอาหารกําลังจะหมดลมหายใจ รัฐบาลจะช่วยเหลือไหม?”
มีเจ้าของธุรกิจร้านอาหารที่มีชื่อเสียงและสมาคมต่างๆ เข้าร่วมรับฟังและเสวนาเป็นจํานวนมาก สามารถสรุปข้อเรียกร้องมาให้รัฐบาลช่วยเหลือโดยเร่งด่วนในครั้งนี้
1.ให้ประกันสังคมอนุมัติจ่ายเงินชดเชยให้ผู้ประกันตนทุกตําแหน่งของธุรกิจร้านอาหาร 50 เปอร์เซ็นต์ ของฐานเงินเดือน 15,000 บาท เป็นเวลา 2 เดือน โดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข
2.งดจัดเก็บภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาสําหรับธุรกิจร้านอาหาร ในรอบระยะเวลาบัญชี 1 ปีที่
ผ่านมา รวมทั้งยืดระยะเวลาในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มออกไป 6 เดือน ตั้งแต่เดือน พ.ค.2564
3.ให้ธนาคารแห่งชาติประกาศให้สถาบันการเงินต่างๆ รวมทั้งบริษัทลิสซิ่งพักชําระเงินต้นเป็นเวลา
1 ปี และผ่อนผันการชําระดอกเบี้ยเป็นเวลา 6 เดือนโดยทันที ตั้งแต่เดือน พ.ค.2560 เป็นต้นไป
4.ให้รัฐบาลประสานงานเจ้าของห้างสรรพสินค้า สถานที่เช่าต่างๆ ให้ลดค่าเช่าอย่างน้อย 50% รวมทั้งเจ้าของที่ดินและบุคคลทั่วไปที่ให้ร้านอาหารเช่าสามารถนําส่วนลดไปลดหย่อนภาษีจากรัฐบาลในรอบบัญชีถัดไป
5.ให้รัฐบาลรีบอนุมัติเงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องและประคับประคองธุรกิจร้านอาหาร โดยสามารถยื่นขอสินเชื่อได้อย่างง่าย โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันผ่านธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย SME Bank สําหรับลูกหนี้รายใหม่และรายเก่าให้สามารถกู้เพิ่มได้ทันที
6.ให้รัฐบาลนําเรื่องการเก็บเปอร์เซ็นต์จากแอปพลิเคชันส่งอาหารและสั่งอาหารขึ้นมาเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งตอนนี้ร้านอาหารเป็นจํานวนมากต้องกล้ำกลืนกับบริษัทส่งอาหารและสั่งอาหารที่คิดค่าคอมมิชชั่นมากกว่า 25%-35% มาเป็นเวลานาน
และรัฐบาลยังไม่มีมาตรการหรือคําสั่งไปยังผู้ประกอบการเหล่านั้นให้ปรับลดค่าคอมมิชชั่นลงมาได้ ตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 รอบแรก
จึงขอให้รัฐบาลจัดการเรื่องนี้โดยเร่งด่วน
7.ขอให้รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขจัดสรรโควตาวัคซีนให้กับภาคธุรกิจร้านอาหารโดยเร่งด่วน
โดยให้สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ภายในเดือน พ.ค.นี้เป็นต้นไป
เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องการสร้างความมั่นใจในเชิงจิตวิทยา ซึ่งจะทําให้ภาคธุรกิจร้านอาหารสามารถกลับมาขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วอีกครั้ง
8.ขอให้รัฐบาลอนุมัติให้ร้านอาหารที่เป็นนิติบุคคลสามารถเข้าร่วมโครงการของทางรัฐบาลที่ออกมาได้ เช่น โครงการไทยชนะ, โครงการเราชนะ, โครงการ ม33, โครงการคนละครึ่ง เป็นต้น
อ่านข้อเสนอช่วยร้านอาหารทั้งหลายในสภาวะที่กำลัง “ดิ้นหนีตาย” อย่างนี้ จึงทำให้เห็นความสำคัญของคำว่า “ร้านอาหารปากซอย” กับ “เศรษฐกิจของประเทศ” จริงๆ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |