20 พ.ค. 2564 รายงานจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แจ้งว่า หลังจากศาลปกครองมีคำสั่งให้รับคําฟ้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและ 36 องค์กรผู้บริโภค ที่ยื่นฟ้องคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า (กขค.) กรณีมี มีมติอนุมัติให้บริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวล ลอปเม้นท์ จํากัดควบรวมกิจการกับบริษัท เทสโก้ สโตร์ส จํากัด โดยศาลมีคำสั่งให้พิจารณาเร่งด่วนและให้องค์กรผู้บริโภคส่งคําชี้แจง รวมถึงส่งเอกสารประกอบถึงเหตุผลที่ว่า หากศาลไม่มีคำสั่งให้ชะลอหรือระงับตามคำสั่งทางปกครองไว้ชั่วคราวจะเกิดความเสียหายอย่างไรบ้างนั้น
ล่าสุดเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ36 องค์กรผู้บริโภคในฐานะผู้ฟ้องคดี ได้ส่งคําชี้แจงที่ระบุถึงเหตุผลที่ขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว โดยระบุว่าหากศาลไม่คุ้มครองชั่วคราวจะทำให้เกิดการผูกขาดจนยากต่อการแก้ไขเยียวยาภายหลัง
ทั้งนี้ เนื่องจากเมื่อมีการรวมธุรกิจของทั้งสองบริษัท จะทำให้สามารถครอบงำตลาดค้าปลีกได้ทุกประเภท นอกจากนี้ เมื่อรวมกับธุรกิจค้าส่งสมัยใหม่จะส่งผลให้ทั้งสองบริษัทมีอำนาจผูกขาดตลาดตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ซึ่งเป็นการผูกขาดตลาดในแนวดิ่ง แม้ว่าบริษัท ซี.พี.รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด จะประกอบกิจการในตลาดค้าปลีกสมัยใหม่ แต่ก็ยังเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีความสัมพันธ์ทางนโยบายกับเครือซี.พี.เสมือนหนึ่งเป็นหน่วยธุรกิจเดียวกัน ซึ่งในเครือธุรกิจดังกล่าวประกอบธุรกิจในตลาดค้าส่งสมัยใหม่ ได้แก่ บริษัท สยามแม็คโคร จํากัด (มหาชน) กิจการที่เกี่ยวกับการผลิตสินค้าบริโภค กิจการด้านกลุ่มการเกษตรและ ปศุสัตว์ และธุรกิจการขนส่งสินค้า
สุดท้ายหากปล่อยให้มีการกระจุกตัวเพิ่มมากขึ้นทั้งการรวมธุรกิจ การขยายสาขา การมีอำนาจเหนือตลาด จะทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยต้องถูกกีดกันออกจากตลาดการแข่งขันทำให้ไม่เกิดการแข่งขันในตลาดค้าปลีก และไม่เกิดนวัตกรรมใหม่ขึ้นในตลาด
นอกจากนี้ การรวมธุรกิจของทั้งสองบริษัทจะทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกขนาดเล็กน้อยลง เนื่องจากการรวมธุรกิจครั้งนี้ทำให้ทั้งสองบริษัทมีอำนาจเหนือตลาดมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีอำนาจในการกำหนดราคาสินค้า รวมถึงชนิด และปริมาณของสินค้าที่จําหน่ายได้
ทั้งนี้ จากรายงานการวิจัยของศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน ที่ระบุว่า ปัจจุบันประเทศกําลังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด - 19 ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยไม่สามารถแข่งขันกับธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ได้ รวมถึงปัญหาสภาพคล่องส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อร้านค้าปลีกขนาดเล็กจำนวนกว่า 8.95 แสนราย จากผู้ประกอบการค้าปลีกทั้งหมด 9.05 แสนราย หากคำสั่งรวมธุรกิจของทั้งสองบริษัทยังดำเนินการต่อไป จะทำให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็กทยอยปิดตัวลงจนไม่สามารถกลับมาประกอบกิจการได้ดังเดิม
และตามรายงานการวิจัยของ Ennis, Gonzaga, และ Pike (2019) ที่ศึกษาข้อมูลความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วจำนวนหนึ่ง ชี้ให้เห็นว่า อำนาจตลาดที่เพิ่มขึ้นในตลาดที่ไม่มีการแข่งขันอย่างเหมาะสม ทำให้ผู้มีอำนาจตลาดกล้าขึ้นราคาสินค้าและคว้ากําไรเพิ่มขึ้น ผลก็คือ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น เมื่อมีอำนาจเหนือตลาดก็ย่อมมีอำนาจต่อรองที่เหนือกว่าผู้ผลิตสินค้าหรือวัตถุดิบที่ เป็นผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs)
ท้ายสุด หากศาลไม่มีคำสั่งกำหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา โดยให้ระงับคำสั่งการรวมธุรกิจไว้ก่อน และต่อมาศาลมีคําพิพากษาเพิกถอนมติอนุญาตให้รวมธุรกิจของคณะกรรมการแข่งขันฯ ก็แทบจะไม่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายย่อย เนื่องจากจะไม่มีร้านค้าปลีกเล็ก ๆ ในท้องตลาดที่จะสามารถกลับมาดำเนินการได้อีก
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |