19 พ.ค.64 - นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีรัฐบาลมีมติออกเงินกู้อีก 7 แสนล้านบาทว่า นับเป็นรัฐบาลที่ออก พ.ร.ก.กู้เงินฉุกเฉินนอกระบบงบประมาณ ถึง2ครั้ง เป็นรัฐบาลแรกในประวัติศาสตร์ โดยครั้งแรกสมัย รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยที่ตนเป็น รมว.คลัง เพื่อแก้วิกฤตเศรษฐกิจโลกแฮมเบอร์เกอร์สำเร็จด้วย พ.ร.ก.ไทยเข้มแข็ง ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยฟื้นไวเป็นอันดับ 2 ของโลก และอีกครั้งในสมัยรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยอ้างเหตุแก้ปัญหาน้ำท่วม แต่สุดท้ายไม่ได้ใช้เพราะโครงการไม่พร้อม
นายกรณ์ กล่าวต่อว่า มาถึงรัฐบาลนี้ออก พ.ร.ก.พิเศษกู้เงินแก้วิกฤตโควิดสองรอบ (1ล้านล้าน+7แสนล้าน) รวม 1.7 ล้านล้านบาท เท่ากับ 10% ของ GDP รอบล่าสุดนี้ ก้อนแรก 7 แสนล้านคือการกู้เพื่อชดเชยขาดดุลงบประมาณปี 2565 ก้อนสองอีก 7 แสนล้านโดยออกเป็นพ.ร.ก.พิเศษ รวม 1.4 ล้านล้าน รวมสองปี การกู้ทั้งหมดของ ปี64 และ ปี65 รวมเกือบ 3 ล้านล้านบาท หรือเกือบ 20% ของ GDP สะท้อนสภาพเศรษฐกิจที่ยังตกต่ำ และฟื้นช้าเพราะวัคซีนยังไม่เรียบร้อยดี คนไทยยังกลับไปทำมาหากินยังไม่ได้ รัฐบาลจึงต้องกู้ และกู้โดยไม่มีทางเลือกอื่น
"หากถามว่าการกู้ครั้งใหม่นี้มีผลต่อเสถียรภาพทางการคลังหรือไม่ คำตอบคือในสภาพเศรษฐกิจอย่างนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงิน คำตอบคือ ไม่กู้ไม่ได้อยู่ดี โดยที่ภาระต่องบประมาณยังรับได้อยู่ (สัดส่วนงบดอกเบี้ยและงบคืนเงินต้น เทียบกับงบรายจ่ายโดยรวมของรัฐบาล) แต่นั่นเป็นเพราะอัตราดอกเบี้ยช่วงนี้ต่ำมาก และเริ่มมีความเสี่ยงมากขึ้นว่าดอกเบี้ยนโยบายประเทศอื่นจะปรับขึ้น เพราะสัญญาณเงินเฟ้อเริ่มกลับมาจากการฟื้นตัวเศรษฐกิจของประเทศใหญ่ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป ทั้งหมดจะไม่เป็นปัญหาหากเศรษฐกิจเราฟื้นอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้า GDP เราโตได้เฉลี่ยเพียงปีละ 2-3% ไปอีก 4-5 ปี เราอาจจะเริ่มมีปัญหา ดังนั้นการใช้เงินจึงต้องเข้าเป้า และนี่คือโจทย์ที่สำคัญที่สุด ต้องกู้แต่ต้องใช้เงินกู้ให้คุ้มที่สุด" หัวหน้าพรรคกล้า กล่าว
นายกรณ์ กล่าวอีกว่า รอบแรก 1 ล้านล้านบาท ตนขอให้คะแนนแค่ 6 เต็ม 10 จากส่วนเยียวยา เพราะถือว่ารัฐบาลทำได้ดี ไม่ว่าจะเป็นโครงการเราไม่ทิ้งกัน หรือโครงการคนละครึ่ง เป็นต้น แต่ที่หัก 4 คะแนน เพราะว่าผิดเป้า นำงบไปฟื้นฟูในเรื่องไม่เป็นเรื่องเป็นจำนวนมาก และเบิกจ่ายช้ามาก ไม่สมกับเป็นงบฉุกเฉินตามนิยามของพ.ร.ก. ฉะนั้น รอบใหม่นี้จึงไม่ควรแจกแนวเดิม และไม่ควรมีเรื่องฟื้นฟูไม่เป็นเรื่องอีก แต่ต้องยิงให้เข้าเป้า นั่นคือเป้าหมายหล่อเลี้ยงผู้ประกอบการขนาดเล็ก SMEs ร้านอาหาร ธุรกิจภาคบริการทั้งระบบให้อยู่รอดจนถึงการฉีดวัคซีนครบตามเป้า
อดีตรมว.คลัง ระบุด้วยว่า พรรคกล้าเสนอทางออกไปหลายครั้งเพื่อแก้ปัญหา อย่างล่าสุดเราเสนอให้รัฐบาลออกมาตรการเพื่อช่วยทุกคนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหาร แต่ก็ถูกกระทรวงการคลังปฏิเสธ ส่วนในเงินกู้ 7 แสนล้านใหม่ มีส่วนที่กันไว้เพื่อการฟื้นฟูสูงถึง 2.7แสนล้าน ตรงนี้ก็จะนำไปสู่ความผิดพลาดซํ้ากับปีที่ผ่านมา ซึ่งต้องปรับ และสำคัญที่สุดที่ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลต้องเร่งทำคือ ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ มิเช่นนั้นเงินกู้ทั้งหมดนี้ก็จะถูกละลายหายไปโดยที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ทำให้คนไทยรู้สึกมีความหวังมากขึ้น ทั้งหมดนี้คือ เสียงสะท้อนจากเฮือกสุดท้ายของผู้ประกอบการ รวมไปถึงกรอบเงินกู้ที่ล้นชนเพดานแล้ว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |